ข้อมูลติดต่อที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่เดินทาง/พำนักในอินเดีย
กรณีคนไทยที่เดินทางไปยังอินเดีย หรือพำนักอยู่ในอินเดีย ประสบเหตุฉุกเฉิน สามารถติดต่อหน่วยงานราชการของอินเดีย ตามหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินดังนี้
นอกจากนี้ ส่วนราชการของไทยในอินเดีย ทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ กัลกัตตา และเจนไน ยังจัดทำแผนอพยพฉุกเฉินสำหรับคนไทยที่อยู่ในอินเดีย ตามขอบเขตการดูแลของแต่ละส่วนราชการ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของส่วนราชการดังกล่าว รายละเอียดดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมกรุงนิวเดลี รัฐชัมมูและแคชเมียร์ รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา รัฐราชสถาน รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐอุตตรประเทศ รัฐสิกขิม รัฐอัสสัม รัฐอรุณาจัลประเทศ รัฐมณีปุระ รัฐเมฆาลัย รัฐมิโซรัม รัฐนาคาแลนด์ รัฐตรีปุระ และดินแดนสหภาพ (ยกเว้นหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์)
- : 56-N Nyaya Marg, Chanakyapuri, New Delhi 110021
- : +91 11 2419 7200
- : +91 11 2419 7199
- : [email protected], [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล [email protected]
- เว็บไซต์ http://newdelhi.thaiembassy.org
- Facebook Pages https://www.facebook.com/thaiembassy.newdelhi/https://www.facebook.com/NamasteThailandNewDelhi/
- หมายเลขฉุกเฉิน +91 95 9932 1484
2. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมรัฐมหาราษฎระ รัฐคุชราต รัฐมัธยประเทศ และรัฐกัว
- : 12th floor, Express Towers, Barrister Rajni Patel Marg, Nariman Point,Mumbai 400 021
- : +91 83 5683 9882
- : +91 22 2282 1525
- : [email protected], [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล : [email protected]
- โทรศัพท์ฝ่ายกงสุล : +91 98 3321 2333
3. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมรัฐพิหาร รัฐโอริสสา รัฐเบงกอลตะวันตก รัฐฌาร์ขัณฑ์ รัฐฉัตตีสครห์ และดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์
- : 18-B, Mandeville Gardens, Ballygunge, Kolkata 700 019
- : +91 33 2440 3231,+91 33 2440 7836
- : +91 33 2440 6251
- : [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล : [email protected]
- โทรศัพท์ฝ่ายกงสุล : +91 33 2440 3229-30
- Line ID ฝ่ายกงสุล : thaiconsulatekolkata
- Facebook Pages https://www.facebook.com/thaiembassy.newdelhi/https://www.facebook.com/NamasteThailandNewDelhi/
- หมายเลขฉุกเฉิน : +91 98 3026 0382
4. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมรัฐทมิฬนาฑู รัฐกรณาฏกะ รัฐอานธรประเทศ และ รัฐเกรละ
- : No.116, Chamiers Road, Nandanam, Chennai 600 035
- : +91 44 4230 0730,+91 44 4230 0740,+91 44 4230 0760,+91 44 4230 0780
- : +91 44 4202 0900
- : [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล : [email protected]
นอกจากนี้ ชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปยังอินเดีย ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการขอวีซ่าอินเดีย รวมถึงกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย
- : 46 ซอยประสานมิตร 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
- : https://goo.gl/maps/ELDK1Av7tRriUbPq6
- : 02 258 0300-6
- : 02 258 4627 , 02 262 1740
- : [email protected]
ทั้งนี้ การเดินทางไปยังอินเดียเดินทางไปยังอินเดียด้วยวีซ่าบางประเภท จำเป็นต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวกับสำนักทะเบียนคนต่างด้าวของอินเดีย ตามแนวทางดังนี้
1.แนวทางทั่วไป
- 1.1 ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียด้วยวีซ่าทํางาน (Employment) วีซ่านักเรียน/นักศึกษา (Student) วีซ่าวิจัย (Research) และวีซ่าการแพทย์ (Medical) หากวีซ่ามีอายุ (valid) เกินกว่า 180 วัน จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวที่สํานักทะเบียนคนต่างด้าว (Foreigners Registration Regional Office- FRRO / Foreigners Registration Office-FRO) ในพื้นที่ ภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้าประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับวีซ่าประเภทข้างตนที่มีอายุสั้นกว่า 180 วัน แต่หากมีการระบุเป็นพิเศษ เช่น “for registration required” (ต้องลงทะเบียน) ชาวต่างชาติผู้นั้นก็จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวเช่นกัน
- 1.2 สําหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียด้วยวีซ่าเอ็กซ์(X -ออกให้กับคู่สมรสของผู้มีสัญชาติอินเดีย)และวีซ่าธุรกิจ (Business) ซึ่งมีอายุเกินกว่า 180 วัน จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวกับ FRRO/FRO ในพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่จะพํานักอยู่ในอินเดียติดต่อกันเกิน 180 วันในการเดินทางเข้าประเทศอินเดียครั้งนั้น ๆ ทั้งนี้ บางกรณีจะมีการระบุในวีซ่าว่า “Stay not to exceed 180 days hence no registration required.” ซึ่งหมายความว่า ไม่ให้ผู้ที่ได้รับวีซ่านี้อยู่ในอินเดียติดต่อกันเกิน 180 วัน ดังนั้น จึงไม่จําเป็นต้องลงทะเบียน
- 1.3 ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist) สื่อมวลชน (journalist) หรือประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากในข้อ 1 และ 2 และวีซ่านั้นมีอายุ (valid) เกินกว่า 180 วัน ก็จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวเช่นกัน โดยมีเวลา 180 วัน นับแต่วันที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียเช่นกัน เว้นแต่มีระบุบนวีซ่าเป็นอย่างอื่น เช่น “Each stay 180 days hence no registration required” ซึ่งก็คือ ให้พํานักในอินเดียได้ไม่เกินครั้งละ 180 วัน ดังนั้น จึงไม่ต้ององลงทะเบียน
- 1.4 ผู้ที่ต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวจะต้องเดินทางไปรายงานตัวเพื่อลงทะเบียนด้วยตนเอง ซึ่งรวมทั้งผู้เยาว์ด้วย
- 1.5 การลงทะเบียนอาจจะไม่เสร็จสิ้นภายใน 1วัน โดยขึ้นกับเวลาที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบ
- 1.6 แนวทางในข้อ 1-5 สามารถใช้ได้กับทุกกรณียกเว้นกรณีที่มีการระบุเป็นอย่างอื่นบนวีซ่า (เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับวีซ่าแล้ว กรุณาตรวจสอบและสอบถามสถานเอกอัครราชทูตอินเดียที่ออกวีซ่าให้ท่านให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา)
2.เอกสารสําหรับการลงทะเบียนคนต่างด้าว
- 2.1 หนังสือเดินทางฉบับจริง ที่ยังไม่หมดอายุและมีวีซ่าอินเดีย
- 2.2 แบบฟอร์มลงทะเบียนคนต่างด้าว (กรอกในคอมพิวเตอร์ที่ FRRO / FRO)
- 2.3 สําเนาหนังสือเดินทาง 3 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย (1) หน้าที่มีรูปผู้ถือหนังสือเดินทาง (2) หน้าที่ระบุวันหมดอายุของหนังสือเดินทาง ซึ่งสำหรับหนังสือเดินทางไทยจะอยู่ในหน้าเดียวกัน (3) หน้าที่ประทับตราเข้าประเทศโดย ตม.อินเดีย
- 2.4 หนังสือรับรองที่พักอาศัย (Undertaking Letter) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Form C จํานวน 3 ฉบับ ซึ่งลงนามโดยชาวอินเดีย (เจ้าของที่พัก) พร้อมสําเนาหนังสือเดินทางผู้ค้ำประกันชาวอินเดีย (ซึ่งก็คือคนเดียวกับที่ลงนามนั้นเอง)
- 2.5 หลักฐานแสดงการอยู่อาศัย (Residential Proof) ได้แก่ ใบเสร็จการชําระค่าไฟฟ้า (3 เดือนย้อนหลัง) หรือ ค่าโทรศัพท์ (3 เดือนย้อนหลัง) หรือ สัญญาเช่าที่พักอาศัย ทั้งนี้ ตามที่เจ้าหน้าที่เห็นเหมาะสม (ควรเตรียมเอกสารไปทั้งหมด)
- 2.6 สําเนาการรายงานตัวกับสถานีตํารวจท่องที่ (ที่พักอาศัย) เฉพาะในกรณีที่พักอาศัยในบ้าน อพาร์ทเมนต์หรือแฟลตส่วนตัวในตึกหรือ society (ชุมชน) ในฐานะผู้เช่า
- 2.7 รูปถ่ายขนาดหนังสือเดินทาง (4 x 4ซ.ม.) พื้นหลังสีเรียบ และมองเห็นใบหูชัดเจน โดยห้ามสวมหมวกและแว่นตา
- 2.8 ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียน 100 รูปอินเดีย
- 2.9 นอกเหนือจากเอกสารข้างต้นใน ในบางกรณีเจ้าหน้าที่อาจขอให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม
ที่มา : http://www.mumbaipolice.org/FRRO/reg.htm
แบบฟอร์มรับรองที่พักอาศัย : http://www.mumbaipolice.org/FRRO/Undertaking_Format.pdf