“ยกประมงขึ้นบก” เมื่อทะเลไม่ใช่แหล่งกำเนิดชีวิตอีกต่อไป!?
เมื่อ 24 สิงหาคม 2566 ประเทศญี่ปุ่นตัดสินใจปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิที่ประสบภัยสึนามิเมื่อ 11 มีนาคม 2554 จนทำให้มีสารกัมมันตภาพรังสีบางส่วนปนเปื้อนลงน้ำ แม้น้ำดังกล่าวจะผ่านการบำบัดมามากกว่า 2 ปีและได้การรับรองจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency-IAEA) ของสหประชาชาติแล้ว แต่หลายประเทศยังกังวลถึงผลกระทบจากสารปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำทะเลที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ จนถึงการประมงและอาหารทะเลที่จะส่งผลต่อผู้บริโภคโดยตรง จากความกังวลดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปกติทำรายได้การส่งออกถึง 93,000 ล้านบาท ต่อปี (ปี 2565) ทำให้แนวโน้มที่ความนิยมของอาหารญี่ปุ่นซึ่งเคยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต้องหยุดชะงักลงทันที เพราะจีน มาเก๊าและฮ่องกง ประกาศแบนการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น ส่งผลให้ร้านอาหารญี่ปุ่นจำนวนมาก ต้องได้รับผลกระทบ ขณะเดียวกันก็ทำให้จีน มาเก๊าและฮ่องกง ต้องหาแหล่งผลิตรายใหม่อย่างเร่งด่วน เป็นโอกาสให้ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาครวมถึงประเทศไทย ที่จะทำการประมงเพื่อส่งออก อาจสามารถเป็นตลาดใหม่ทดแทนได้ ด้วยการส่งเสริมการส่งออกอาหารทะเลไปสู่ตลาดที่มีอุปสงค์สูงอย่างจีน อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามาทบทวนดูดี ๆ แล้วพบว่า มหาสมุทรทั่วโลกนั้นเชื่อมต่อถึงกันหมด ดังนั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า สารกัมมันตภาพรังสีจะไม่แผ่ขยายมาสู่คาบสมุทรอื่น ๆ ……เพราะฉะนั้น การส่งออกเพื่อทดแทนสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นในตอนนี้ คงเป็นเพียงโอกาสแค่ “ชั่วคราว”…