ข้อมูลติดต่อที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่เดินทาง/พำนักในอินเดีย
กรณีคนไทยที่เดินทางไปยังอินเดีย หรือพำนักอยู่ในอินเดีย ประสบเหตุฉุกเฉิน สามารถติดต่อหน่วยงานราชการของอินเดีย ตามหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินดังนี้
หมายเลขแจ้งเหตุฉุกเฉินกลาง
หมายเลขโทรศัพท์
112
ตำรวจอินเดีย
หมายเลขโทรศัพท์
100
แจ้งเหตุไฟไหม้
หมายเลขโทรศัพท์
101
รถพยาบาล
หมายเลขโทรศัพท์
102
หน่วยงานจัดการภัยพิบัติ
หมายเลขโทรศัพท์
108
สายด่วนช่วยเหลือสตรี
หมายเลขโทรศัพท์
1091
สายด่วนช่วยเหลือสตรีจากเหตุรุนแรงภายในครอบครัว
หมายเลขโทรศัพท์
181
หน่วยขนส่งผู้ป่วยทางอากาศ
หมายเลขโทรศัพท์
9540161344
สายด่วนผู้ป่วยโรคเอดส์
หมายเลขโทรศัพท์
1097
นอกจากนี้ ส่วนราชการของไทยในอินเดีย ทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ กัลกัตตา และเจนไน ยังจัดทำแผนอพยพฉุกเฉินสำหรับคนไทยที่อยู่ในอินเดีย ตามขอบเขตการดูแลของแต่ละส่วนราชการ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของส่วนราชการดังกล่าว รายละเอียดดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมกรุงนิวเดลี รัฐชัมมูและแคชเมียร์ รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา รัฐราชสถาน รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐอุตตรประเทศ รัฐสิกขิม รัฐอัสสัม รัฐอรุณาจัลประเทศ รัฐมณีปุระ รัฐเมฆาลัย รัฐมิโซรัม รัฐนาคาแลนด์ รัฐตรีปุระ และดินแดนสหภาพ (ยกเว้นหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์)
- : 56-N Nyaya Marg, Chanakyapuri, New Delhi 110021
- : +91 11 2419 7200
- : +91 11 2419 7199
- : [email protected], [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล [email protected]
- เว็บไซต์ http://newdelhi.thaiembassy.org
- Facebook Pages https://www.facebook.com/thaiembassy.newdelhi/https://www.facebook.com/NamasteThailandNewDelhi/
- หมายเลขฉุกเฉิน +91 95 9932 1484
2. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมรัฐมหาราษฎระ รัฐคุชราต รัฐมัธยประเทศ และรัฐกัว
- : 12th floor, Express Towers, Barrister Rajni Patel Marg, Nariman Point,Mumbai 400 021
- : +91 83 5683 9882
- : +91 22 2282 1525
- : [email protected], [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล : [email protected]
- โทรศัพท์ฝ่ายกงสุล : +91 98 3321 2333
3. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมรัฐพิหาร รัฐโอริสสา รัฐเบงกอลตะวันตก รัฐฌาร์ขัณฑ์ รัฐฉัตตีสครห์ และดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์
- : 18-B, Mandeville Gardens, Ballygunge, Kolkata 700 019
- : +91 33 2440 3231,+91 33 2440 7836
- : +91 33 2440 6251
- : [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล : [email protected]
- โทรศัพท์ฝ่ายกงสุล : +91 33 2440 3229-30
- Line ID ฝ่ายกงสุล : thaiconsulatekolkata
- Facebook Pages https://www.facebook.com/thaiembassy.newdelhi/https://www.facebook.com/NamasteThailandNewDelhi/
- หมายเลขฉุกเฉิน : +91 98 3026 0382
4. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน ซึ่งมีอาณาเขตดูแลครอบคลุมรัฐทมิฬนาฑู รัฐกรณาฏกะ รัฐอานธรประเทศ และ รัฐเกรละ
- : No.116, Chamiers Road, Nandanam, Chennai 600 035
- : +91 44 4230 0730,+91 44 4230 0740,+91 44 4230 0760,+91 44 4230 0780
- : +91 44 4202 0900
- : [email protected]
- อีเมลฝ่ายกงสุล : [email protected]
นอกจากนี้ ชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปยังอินเดีย ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการขอวีซ่าอินเดีย รวมถึงกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย
- : 46 ซอยประสานมิตร 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
- : https://goo.gl/maps/ELDK1Av7tRriUbPq6
- : 02 258 0300-6
- : 02 258 4627 , 02 262 1740
- : [email protected]
ทั้งนี้ การเดินทางไปยังอินเดียเดินทางไปยังอินเดียด้วยวีซ่าบางประเภท จำเป็นต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวกับสำนักทะเบียนคนต่างด้าวของอินเดีย ตามแนวทางดังนี้
1.แนวทางทั่วไป
- 1.1 ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียด้วยวีซ่าทํางาน (Employment) วีซ่านักเรียน/นักศึกษา (Student) วีซ่าวิจัย (Research) และวีซ่าการแพทย์ (Medical) หากวีซ่ามีอายุ (valid) เกินกว่า 180 วัน จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวที่สํานักทะเบียนคนต่างด้าว (Foreigners Registration Regional Office- FRRO / Foreigners Registration Office-FRO) ในพื้นที่ ภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้าประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับวีซ่าประเภทข้างตนที่มีอายุสั้นกว่า 180 วัน แต่หากมีการระบุเป็นพิเศษ เช่น “for registration required” (ต้องลงทะเบียน) ชาวต่างชาติผู้นั้นก็จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวเช่นกัน
- 1.2 สําหรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียด้วยวีซ่าเอ็กซ์(X -ออกให้กับคู่สมรสของผู้มีสัญชาติอินเดีย)และวีซ่าธุรกิจ (Business) ซึ่งมีอายุเกินกว่า 180 วัน จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวกับ FRRO/FRO ในพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่จะพํานักอยู่ในอินเดียติดต่อกันเกิน 180 วันในการเดินทางเข้าประเทศอินเดียครั้งนั้น ๆ ทั้งนี้ บางกรณีจะมีการระบุในวีซ่าว่า “Stay not to exceed 180 days hence no registration required.” ซึ่งหมายความว่า ไม่ให้ผู้ที่ได้รับวีซ่านี้อยู่ในอินเดียติดต่อกันเกิน 180 วัน ดังนั้น จึงไม่จําเป็นต้องลงทะเบียน
- 1.3 ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist) สื่อมวลชน (journalist) หรือประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากในข้อ 1 และ 2 และวีซ่านั้นมีอายุ (valid) เกินกว่า 180 วัน ก็จะต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวเช่นกัน โดยมีเวลา 180 วัน นับแต่วันที่เดินทางเข้าประเทศอินเดียเช่นกัน เว้นแต่มีระบุบนวีซ่าเป็นอย่างอื่น เช่น “Each stay 180 days hence no registration required” ซึ่งก็คือ ให้พํานักในอินเดียได้ไม่เกินครั้งละ 180 วัน ดังนั้น จึงไม่ต้ององลงทะเบียน
- 1.4 ผู้ที่ต้องลงทะเบียนคนต่างด้าวจะต้องเดินทางไปรายงานตัวเพื่อลงทะเบียนด้วยตนเอง ซึ่งรวมทั้งผู้เยาว์ด้วย
- 1.5 การลงทะเบียนอาจจะไม่เสร็จสิ้นภายใน 1วัน โดยขึ้นกับเวลาที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบ
- 1.6 แนวทางในข้อ 1-5 สามารถใช้ได้กับทุกกรณียกเว้นกรณีที่มีการระบุเป็นอย่างอื่นบนวีซ่า (เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับวีซ่าแล้ว กรุณาตรวจสอบและสอบถามสถานเอกอัครราชทูตอินเดียที่ออกวีซ่าให้ท่านให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา)
2.เอกสารสําหรับการลงทะเบียนคนต่างด้าว
- 2.1 หนังสือเดินทางฉบับจริง ที่ยังไม่หมดอายุและมีวีซ่าอินเดีย
- 2.2 แบบฟอร์มลงทะเบียนคนต่างด้าว (กรอกในคอมพิวเตอร์ที่ FRRO / FRO)
- 2.3 สําเนาหนังสือเดินทาง 3 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย (1) หน้าที่มีรูปผู้ถือหนังสือเดินทาง (2) หน้าที่ระบุวันหมดอายุของหนังสือเดินทาง ซึ่งสำหรับหนังสือเดินทางไทยจะอยู่ในหน้าเดียวกัน (3) หน้าที่ประทับตราเข้าประเทศโดย ตม.อินเดีย
- 2.4 หนังสือรับรองที่พักอาศัย (Undertaking Letter) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Form C จํานวน 3 ฉบับ ซึ่งลงนามโดยชาวอินเดีย (เจ้าของที่พัก) พร้อมสําเนาหนังสือเดินทางผู้ค้ำประกันชาวอินเดีย (ซึ่งก็คือคนเดียวกับที่ลงนามนั้นเอง)
- 2.5 หลักฐานแสดงการอยู่อาศัย (Residential Proof) ได้แก่ ใบเสร็จการชําระค่าไฟฟ้า (3 เดือนย้อนหลัง) หรือ ค่าโทรศัพท์ (3 เดือนย้อนหลัง) หรือ สัญญาเช่าที่พักอาศัย ทั้งนี้ ตามที่เจ้าหน้าที่เห็นเหมาะสม (ควรเตรียมเอกสารไปทั้งหมด)
- 2.6 สําเนาการรายงานตัวกับสถานีตํารวจท่องที่ (ที่พักอาศัย) เฉพาะในกรณีที่พักอาศัยในบ้าน อพาร์ทเมนต์หรือแฟลตส่วนตัวในตึกหรือ society (ชุมชน) ในฐานะผู้เช่า
- 2.7 รูปถ่ายขนาดหนังสือเดินทาง (4 x 4ซ.ม.) พื้นหลังสีเรียบ และมองเห็นใบหูชัดเจน โดยห้ามสวมหมวกและแว่นตา
- 2.8 ค่าธรรมเนียมการลงทะเบียน 100 รูปอินเดีย
- 2.9 นอกเหนือจากเอกสารข้างต้นใน ในบางกรณีเจ้าหน้าที่อาจขอให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม
ที่มา : http://www.mumbaipolice.org/FRRO/reg.htm
แบบฟอร์มรับรองที่พักอาศัย : http://www.mumbaipolice.org/FRRO/Undertaking_Format.pdf