สิ้นชาติ แต่ไม่สิ้นภาพจำ
การประโคมข่าวภาพเปรียบเทียบความโกลาหล เมื่อ 17 สิงหาคม 2564 ที่สนามบินคาบูล กับภาพการอพยพที่ไซ่ง่อน เมื่อ 29 เมษายน 2518 บนยอดตึก Pittman Apartments บนถนน 22 ยาลอง (Gia Long) ซึ่งปัจจุบันคือถนน Ly Tu Trong มีจุดร่วมของภาพเป็นการถอนกำลังทางหทารของสหรัฐอเมริกาออกจากประเทศอื่น ที่ใช้เวลากว่า 20 ปีก่อนจะถอยออกสู่วงนอก ให้วงในหรือขั้วการเมืองของเจ้าถิ่นสู้กันเอง ดูมีความ Déjà Vu อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะการแตกฉานซ่านเซ็นของฝ่ายที่สหรัฐอเมริกาเคยให้การสนับสนุน แม้ทั้งสองเหตุการณ์เกิดขึ้นห่างกันถึง 46 ปี และปัจจัยแวดล้อมก็ต่างกันหลายประการ โดยเฉพาะภูมิศาสตร์ของการเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Landlocked country) ของอัฟกานิสถานที่แตกต่างสิ้นเชิงกับการมีที่ตั้งติดทะเลของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม แง่คิดและประเด็นคำถามทั้งด้านการสงครามตามแบบและสงครามจิตวิทยา เฉพาะอย่างยิ่งประเด็นฉุกคิดที่ผู้กำหนดนโยบายระหว่างประเทศพึงมีต่อกันก็ทำให้ต้องหยิบหนังสือเรื่อง “Twenty Years and Twenty Days” ขึ้นมาอ่านอีกครั้ง ซึ่งฉบับภาษาไทยแปลโดย พงษ์ พินิจ (นามปากกาของนายพินิจ พงษ์สวัสดิ์)…