สิงคโปร์
ประกาศเมื่อ 7 ก.ค.64 จะเพิ่มการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ 12 ก.ค.64 หลังจากยอดผู้ติดเชื้อลดลง
ประกาศเมื่อ 7 ก.ค.64 จะเพิ่มการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ 12 ก.ค.64 หลังจากยอดผู้ติดเชื้อลดลง
ภาพรถดับเพลิงฉีดอุโมงค์น้ำต้อนรับเครื่องบินลำแรกจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามธรรมเนียม “water salute” ของวงการการบิน เป็นภาพของความพิเศษที่อิงอยู่กับความจริงที่ว่าประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตตั้งความหวังไว้มากกับการทดลองเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ภูเก็ตตกอยู่ใต้ความหวาดกลัวมาปีกว่า เป็นความกลัวระดับสูงสุดของมนุษย์คือความกลัวที่เกิดจากความไม่รู้ วิกฤติการณ์จากโรค COVID-19 ยังดำเนินต่อเนื่องไปมองไม่เห็นจุดจบ ไม่มีใครรู้ได้ว่าภูเก็ตจะกลับสู่สภาวะปกติเมื่อใด เป็นความกลัวที่เกิดจากความไม่รู้ในลักษณะเดียวกับที่มนุษย์กลัวความมืด เพราะความมืด (และวิกฤติโรค COVID-19) ทำให้สูญเสียอำนาจในการรับรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตัวเองต่อไป “ขอโทษนะคะพี่ที่เมื่อคืนทำเสียงดัง” หญิงสาวในโฮสเทลเดียวกันเอ่ยกับผมในคราวที่ไปเยือนภูเก็ตเมื่อการระบาดเพิ่งเริ่มต้น เป็นคำขอโทษย้อนหลังจากที่เมื่อกลางดึกเพื่อนหญิงของเธอส่งเสียงดังลั่นห้องพักชนิดเตียงรวมเพราะฤทธิ์เหล้า ในยามปกติโฮสเทลแห่งนี้เป็นที่พักราคาถูกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่สัมภาระของหญิงสาวกลุ่มนี้ที่ประกอบไปด้วยพัดลมตั้งพื้น โทรทัศน์ ไม้แขวนเสื้อ ฯลฯ บ่งบอกว่าพวกเธอน่าจะเป็นบุคลากรในอุตสาหกรรมบันเทิงที่ใช้ที่พักราคาถูกแห่งนี้เป็นแหล่งพำนักชั่วคราวเพื่อรอเวลาย้ายกลับภูมิลำเนา ในเวลาที่ภูเก็ตไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งหมายถึงไม่มีงานให้ทำ อุตสาหกรรมบันเทิงของภูเก็ตชะงักไปอย่างไม่รู้ชะตา ถนนคนเดินบางลาในคืนนั้นมีนักท่องราตรีน้อยกว่าจำนวนสุภาพสตรีที่นั่งรอต้อนรับลูกค้าหน้าบาร์หลายเท่าตัว การเดินเข้าไปในถนนเส้นนั้นจึงเป็นภาวะบังคับให้ประหม่าอย่างไร้เงื่อนไข ด้วยสายตาสุภาพสตรีหลายสิบคู่ที่จ้องมองมาอย่างตั้งความหวัง ถนนคนเดินบางลาและละแวกหาดป่าตองที่เงียบผิดปกติทำให้ผมกลัว เป็นความกลัวในลักษณะเดียวกับเวลาที่เดินออกจากโรงภาพยนตร์รอบดึกแล้วพบว่าตัวเองอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่ปิดทำการแล้ว เป็นความกลัวในลักษณะเดียวกับเวลาที่ต้องเดินขึ้นไปบนสำนักงานในวันหยุด ถ้าจะพยายามอธิบายความกลัวที่ว่าด้วยแนวคิดในทางมานุษยวิทยา ความกลัวลักษณะดังกล่าวคงเพราะสถานที่นั้นตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “liminal space” ซึ่งหมายถึง “สภาวะกึ่งกลางระหว่างเปลี่ยนผ่าน” ปกติแล้วห้างสรรพสินค้าและสำนักงานถูกคาดหวังว่าต้องมีมนุษย์มากมายเป็นส่วนประกอบ แต่เมื่อมนุษย์ขาดหายไป ผลของความที่มันไม่เหมือนเดิม ไม่ปกติเอาเสียเลย (กำลังเปลี่ยนผ่านจากการเป็นห้างหรือเป็นที่ทำงาน สู่ความเป็นอะไรก็ไม่รู้ที่เราไม่คุ้นเคย) ก็เลยกลายเป็นความไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป…
ระบุเมื่อ 6 ก.ค.64 ทดลองฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่พัฒนาขึ้นเองในระยะที่ 2 ให้กับกลุ่มอาสาสมัครในนครอิสตันบูล เมื่อ 5 ก.ค.64
ระบุเมื่อ 6 ก.ค.64 ว่า วัคซีน Pfizer ที่ฉีดให้กับประชาชนมีประสิทธิภาพลดลงที่ร้อยละ 64 จากประสิทธิภาพในการป้องกันสูงสุดที่ร้อยละ 93 หากติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์เดลตา
ระบุเมื่อ 5 ก.ค.64 จะเปิดระบบ Co-Win ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการฉีดวัคซีนให้ทุกประเทศนำไปใช้งานและพัฒนาต่อยอด เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านระบบสาธารณสุขทั่วโลก
ระบุเมื่อ 6 ก.ค.64 กำลังทดสอบระบบลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ใหม่โดยให้ประชาชนเลือกจะฉีดวัคซีนของ บ.AstraZeneca หรือ Moderna ได้
ระบุเมื่อ 6 ก.ค.64 จะบริจาควัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของ บ.AstraZeneca ที่ผลิตในญี่ปุ่นให้กับไต้หวันอีก 1,130,000 โดส ใน 8 ก.ค.64
ประกาศเมื่อ 5 ก.ค.64 ขยายเวลาบังคับใช้มาตรการ Lockdown ไปจนถึง 14 ก.ค.64 เนื่องจากพบการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์เดลตาในพื้นที่ชายแดนติดกับอินเดีย
แถลงเมื่อ 5 ก.ค.64 จะเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบใน 19 ก.ค.64 และจะเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้เร็วขึ้น โดยจะลดเวลาระหว่าง 2 เข็มจาก 12 สัปดาห์ เป็น 8 สัปดาห์ เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนครบโดสภายใน ก.ย.64
ก่อนสหรัฐอเมริกาจะประกาศเอกราช อังกฤษไม่อนุญาตให้ชาวอเมริกันครอบครองอาวุธ แนวคิดเสรีภาพในการครอบครองอาวุธปืนของสหรัฐอเมริกา มีที่มาจากความเชื่อเรื่องการมอบเสรีภาพให้ประชาชน เพื่อคานอำนาจกับรัฐผ่านการครอบครองอาวุธปืน แต่เสรีภาพในการครอบครองอาวุธปืนของประชาชนภายในประเทศ เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาโดยตลอด โดยเกิดมาจากข้อบัญญัติ มาตราที่ 2 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา (2nd Amendment) ให้ชาวอเมริกันมีสิทธิครอบครองอาวุธปืนเพื่อป้องกันตนเองและป้องกันการรุกรานจากภายนอก ความอิสระในการครอบครองอาวุธปืน ทำให้สหรัฐอเมริกามีจำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับปืนสูงมาก จากรายงานประจำปี Gun Violence Archive ค.ศ. 2021 ขององค์กรไม่แสวงผลกำไร Gun Violence Archive ระบุมีเหตุการณ์กราดยิงมากถึง 296 ครั้ง และมีการเสียชีวิตจากการใช้อาวุธปืนมากถึง 50 รายต่อวัน ความรุนแรงจากปืนที่มีมากขึ้น ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องสิทธิในการครอบครองอาวุธปืน และมีความพยายามในการออกกฎหมายควบคุมอาวุธปืนอย่างต่อเนื่อง กฎหมายที่เป็นเหมือนรากฐานของการควบคุมอาวุธปืน คือ พ.ร.บ.ควบคุมอาวุธปืนปี 2511 ที่ออกมาภายหลังการลอบสังหารนายมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมของคนผิวสีชื่อดัง และวุฒิสมาชิก โรเบิร์ต เอฟ. เคเนดี การครอบครองอาวุธปืนอย่างอิสระ ทำให้เกิดกลุ่มที่มีอิทธิพลอย่างมากในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็คือสมาคมปืนไรเฟิลแห่งชาติ หรือ National…