เปอรานากัน และ”บาบ๋า” และ “ย่าหยา” เป็นคําถูกใช้เรียกลูกหลานชาวจีนเลือดผสมที่ถือกําเนิด และอาศัยอยู่ ณ ดินแดนคาบสมุทรมลายู-อินโดนีเซีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 นอกจากนี้ยังมีชาวต่างชาติอื่น ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ คาบสมุทรมลายู-อินโดนีเซีย ทําให้ก่อกําเนิดเปอรานากันที่มีสายเลือดลูกผสมระหว่างชนพื้นเมืองเดิมกับชาวต่างชาติมากมาย ดังนั้นจึงสามารถแบ่งชาวเปอรานากันตามเชื้อชาติผสมได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาวจีนเปอรานากัน (Peranakan Chinese) กลุ่มชาวอาหรับเปอรานากัน (Peranakan Arabs) กลุ่มชาวดัชต์เปอรานากัน(Peranakan Dutch) และกลุ่มชาวอินเดียเปอรานากัน (Peranakan Indians) แต่ด้วยกลุ่มชาวจีนเปอรานากันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่และมีบทบาทสําคัญในสังคม ทําให้คําว่า “เปอนารากัน” มักถูกใช้อ้างถึงเฉพาะกลุ่มชาวจีนเปอรานากันเท่านั้น
นอกจากนี้ ชาวเปอรานากันแม้จะมีเชื้อสายมลายู แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่นับถือลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ และศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในส่วนนี้ก็จะนับถือเถรวาทควบคู่ไปกับความเชื่อดั้งเดิมที่นับถือ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยาม “บาบ๋า” และ “ย่าหยา” ว่า “เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย” อย่างไรก็ตามชาวเปอรานากันในประเทศไทย บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะภูเก็ตและตรัง ส่วนในภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีกระจายตัวอยู่แถบพื้นที่โดยเฉพาะปัตตานี สงขลา นราธิวาส ทั้งเพศชายและหญิง จะถูกเรียกรวม ๆ ว่า “บ้าบ๋า” หรือ “บาบา” ส่วน “ย่าหยา” เป็นเพียงชื่อของชุดสตรีเท่านั้น
พิธีวิวาห์ของชาวเปอรานากันเป็นอีกหนึ่งอัตลักษณ์ที่เจ้าบ่าวสวมเสื้อผ้าแบบตะวันตก แม้จะเป็นเมืองร้อน แต่ในงานที่เป็นทางการเช่นนี้ การสวมสูท ผูกเน็คไทหรือหูกระต่าย ประดับด้วยขนนก สวมรองเท้าหนัง ส่วนหญิงสาวสวมชุดมีลักษณะเหมือนกับบาจู ปันจาง มักเป็นผ้าลูกไม้โปร่งหรือผ้าป่านแก้ว ข้างในเป็นเสื้อคอตั้งแบบจีน ปลายแขนเสื้อจับจีบแบบมาเลย์ เอวลอยแบบเสื้อพม่า นุ่งปาเต๊ะแบบชาวอินโดนีเซีย สิ่งนี้สะท้อนความหลากหลายในการประยุกต์เสื้อผ้าแบบต่าง ๆ ให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของบาบ๋า และเครื่องประดับที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นแม่ หนึ่งในเครื่องประดับที่ขาดไม่ได้ก็คือ “โกสัง” (kerosang) ซึ่งเป็นเข็มกลัดที่เปรียบเสมือนเป็นกระดุม ในสมัยที่นิยมสวมใส่เสื้อบาจู ปันจางหรือเสื้อครุยยาวนั้นโกสังมีทั้งหมด 5 ชิ้น ต่อมาประดับโกสังเพียง 3 ชิ้น โดยที่ชิ้นบนสุดมีรูปร่างเหมือนหัวใจบ้างก็ว่าคล้ายผลลูกท้อที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืนยาว ส่วนชิ้นที่เหลือเป็นเข็มกลัดกลมซึ่งเข้าชุดกันเหมือน “แม่ – ลูก” (ibu dan anak) ประดับรอบอกด้วยเข็มกลัดรูปดาวที่เรียกว่าปิ่นตั้ง (bintang) ตรึงไว้กับสร้อยทองเส้นยาวที่เรียกว่าโกปี้จี๋ด้วย
…………ที่ขาดไม่ได้คือเครื่องประดับศีรษะอันเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สตรีบาบ๋าให้ความสำคัญในพิธีแต่งงาน “ฮั่วก๋วน” คือเครื่องประดับที่ครอบมวยเจ้าสาวซึ่งมีดอกไม้ไหวรอบศีรษะทำจากดิ้นเงินดิ้นทองประดับด้วย หงส์ มีความหมายถึงสัตว์ที่ยิ่งใหญ่และมีเสียงกังวาน สะท้อนถึงความหมายให้เจ้าสาวรู้จักมีปิยะวาจาเมื่อเข้าสู่บ้านของเจ้าบ่าว ด้านหน้าประดับด้วยดอกไม้และผีเสื้อที่แทนความผูกพัน ส่วนการสั่นไหวของดอกไม้แทนความตื่นเต้นของเจ้าสาว
แม้ปัจจุบันสังคมไทยจะมีความเป็นเสรีนิยมบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แต่หากเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวนั้น เป็นเพศที่สามหรือเพศทางเลือกแล้ว ในมุมมองของวัฒนธรรมดั้งเดิมและปัจจุบันจะแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด …….อย่างแรกคงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับทุกสังคมจะต้องมีประชากรที่เป็นเพศที่สาม ทั้งในลักษณะที่แสดงตัวตนหรือปิดบังตัวตน แม้แต่ประเทศจีนเอง..ที่ปรัชญาความคิดของขงจื่อได้ฝังรากลึกลงไปในความคิดของชาวจีนมายาวนานกว่า 2000 ปี ทำให้สังคมจีนกลายเป็นสังคมที่ต่อต้านเรื่องรักร่วมเพศอย่างจริงจัง และยึดติดแต่ภาพจำของชายหญิงเท่านั้น แต่แม้ว่าปรัชญาขงจื่อจะมีอิทธิพลต่อความคิดและจารีตประเพณีของจีน ทำให้เกิดการมลทินประทับ (Stigmatization) ว่าบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” และ “น่าอับอาย” จึงส่งผลให้พ่อและแม่เลือกวิธีการใช้ความรุนแรงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior) ของทายาทให้กลับสู่ความเป็น “ปกติ” ตามบรรทัดฐานของสังคมที่ได้กำหนดไว้
เพศที่สามถูกนำมาใช้เรียกกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีเพศวิถีเป็น เลสเบี้ยน (Lesbian) เกย์ (Gay) หรือไบเซ็กชวล (Bisexual) รวมถึงผู้มีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นคนข้ามเพศ (Transgender) ซึ่งความหมายของเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศนั้นอธิบาย คือ เพศวิถี (Sexual Orientation) คือความรู้สึก อารมณ์เสน่หา รสนิยมทางเพศ หรือความพึงพอใจทางเพศที่มีต่อบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะหลัก ๆ ได้แก่ 1)รักต่างเพศ 2)รักเพศเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก(เลสเบี้ยนและเกย์) 3)ไบเซ็กชวล (Bisexual) คือผู้ ที่มีรสนิยมชื่นชอบทั้งเพศหญิงและเพศชาย และ 4)ไม่ฝักใฝ่ทางเพศ
ส่วนคำว่าอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) คือการรับรู้ ว่าตนเองต้องการเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง บางคนมีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับโครงสร้างทางร่างกายและอวัยวะเพศ โดยเรียกบุคคลในกลุ่มหลังว่าคนข้ามเพศ (Transgender)
โลกของ LGBTQ ที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่นี้ ปัจจุบันสังคมไทยเริ่มมีความเข้าใจและการปรับตัวให้ทันต่อประเด็น LGBTQ มากขึ้น แม้ว่าไม่ได้มีกฎหมายหรือนโยบายมารับรองในความเป็นเพศหรือคุ้มครองพวกเขามากนัก แต่ในต่างประเทศหลายแห่งมันมีหลักคิดคุ้มครองคนด้วย ทำให้เป็นภาพที่แตกต่างกับสังคมไทย จากกรณีศึกษาการบังคับใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ที่มีเป้าหมายในการให้ความคุ้มครองแก่เพศหญิง เพศชาย รวมทั้งบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้สามารถดำรงสถานะของตนอยู่ในสังคมไทย ได้อย่างเท่าเทียมเสมอหน้ากัน อีกทั้งยังต้องการเปิดช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วเพื่อร้องขอความเป็นธรรม ให้กับผู้ตกเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ แต่จากการศึกษาข้อมูล สถานการณ์สถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อคิดเห็นจาก ผู้บังคับใช้องค์กรภาคประชาสังคม ผู้เสียหายที่ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) รวมทั้งนักวิชาการด้านกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน พบว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในประเด็นความเสมอภาคในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศยังคงดำรงอยู่และซับซ้อนขึ้น
เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาได้มีการจดแจ้งชีวิตคู่ ของกลุ่ม LGBTQ ในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้มีผลทางกฎหมาย แต่เป็นเพียงสถิติยืนยันความต้องการของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่หวังช่วยทำให้เกิดการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพราะสถิติการจดแจ้งนี้ เป็นฐานข้อมูลของรัฐที่มีความชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ ที่อาจนำไปสู่การผลักดัน
เรื่องร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อไป เนื่องจากปัจจุบันสิทธิทางแพ่งของ LGBTQ มีอยู่อย่างจำกัด ดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กล่าวถึงเงื่อนไขการสมรสในมาตรา 1448 การสมรสจะทําได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว ซึ่งเป็นเงื่อนไขหวงห้ามต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มิได้ให้เข้าถึงสิทธิการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่งผลให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว
จากกรณีคุณปอย ตรีชฎา LGBTQ ผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศ Miss Tiffany’s Universe 2547 และ Miss International Queen 2004 ที่ได้วิวาห์กับทายาทตระกูลหงษ์หยกพื้นเพชาวภูเก็ตเชื้อสายเปอรานากัน ด้วยตัวคุณปอย ตรีชฎา ถือได้ว่าเป็น LGBTQ ที่มีชื่อเสียงและเป็นแบบอย่างที่ดีในหลายด้าน ทำให้สังคมสนใจการวิวาห์ของคุณปอย ตรีชฎาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมแบบเปอรานากันมาก และคงหนีไม่พ้นประเด็นการสมรสเท่าเทียมของ LGBTQ ที่กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในสังคมไทยที่ประชาชนมีความตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมีและควรได้รับอย่างเท่าเทียมเสมอภาคในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง โดยไม่ยึดติดกับเพศสภาพ สัญชาติ เชื้อชาติ และศาสนา
อ้างอิง
https://km-ir.arts.tu.ac.th/files/original/7e2d7fa06a9f22fc4618ae2fecbb6f9aded3a1d2.pdf
https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/116
https://thehumans.sac.or.th/sac/exhibition/15
https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2628653
https://humanrights.mfa.go.th/upload/nationalhumanrightsplan5.pdf