คณะกรรมการเสถียรภาพเงินตรา (Financial Stability Board : FSB) ที่ประกอบไปด้วย ธนาคารกลาง สถาบันทางการเงิน และเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง จากกลุ่มประเทศ G20 กำลังพิจารณากำหนดกรอบกติการะดับโลกเป็นครั้งแรกเพื่อควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างบิตคอยน์ (Bitcoin) และสกุลเงินดิจิทัลที่ผูกกับสินทรัพย์ (Stablecoin)
ปัจจุบันสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความนิยมแพร่หลายและได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละมุมโลก ตั้งแต่การห้ามแลกเปลี่ยนไปจนถึงการห้ามโดยสิ้นเชิง แม้ว่าในทางปฏิบัติสินทรัพย์ดิจิทัลจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยบริษัทระหว่างประเทศแล้ว รวมถึงในสหภาพยุโรปก็ได้อนุญาตให้แลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลได้โดยมีการกำกับดูแลผู้อยู่ในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างครอบคลุม
นาย Robert Ophele ผู้บริหารหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน (Autorité des marchés financiers: AMF ) และ FSB ของฝรั่งเศส ระบุว่า หน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่งได้ปฏิบัติตาม “หลักการขั้นพื้นฐาน” ของกฎระเบียบเพื่อควบคุมความเสี่ยง ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน สินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่เป็นภัยต่อสถาบันการเงิน แต่ปัญหานี้ถือเป็นวาระสูงสุดของ FSB ซึ่งจะดำเนินการผลักดันการกำกับดูแลให้เป็นรูปธรรมภายในอีก 2-3 ไตรมาส
ทั้งนี้ FSB ไม่มีอำนาจที่จะสร้างกฎระเบียบที่มีผลผูกพัน แต่มุ่งมั่นที่จะแนะนำหลักการกำกับดูแลและกฎเกณฑ์ระดับนานาประเทศเพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลตลาดดิจิทัลเท่าทันสื่อสังคมออนไลน์และสมาร์ทโฟนที่ถูกใช้มากขึ้นโดยนักลงทุนรายย่อยจากการซื้อขายหุ้น อีกทั้งหน่วยงานเฝ้าระวังหลักทรัพย์ของยุโรป (EU Securities and Market Authority: ESMA) กำลังกลั่นกลองผู้มีอิทธิพลในด้านการลงทุนดิจิทัลและผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ซึ่งมักให้คำแนะนำการลงทุนที่ขาดความน่าเชื่อถือ