องค์การสหประชาชาติ
United Nations (UN)
องค์การสหประชาชาติ
United Nations (UN)
เว็ปไซต์ www.un.org
ที่ตั้งสำนักงาน นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
วัตถุประสงค์ รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และปัญหาด้านมนุษยธรรม
เลขาธิการ นายอันโตนิอู กุแตเรซ (António Guterres) ชาวโปรตุเกส (ดำรงตำแหน่ง เมื่อ 1 ม.ค.2560) วาระ 5 ปี
ภารกิจ สหประชาชาติ (UN) ประกอบด้วย 6 เสาหลักสำคัญ ได้แก่ เลขาธิการสมัชชาสหประชาชาติ (General Assembly) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) คณะมนตรีภาวะทรัสตี (ยุติการทำงานในปัจจุบัน) และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) นอกจากนี้ ยังมีองค์กรสำคัญภายใต้สหประชาชาติ อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
เมื่อปี 2559 UN กำหนดให้เป็นปีแห่งการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) เพื่อบรรลุความสำเร็จภายในปี 2573 รวม 17 ข้อ ดังนี้ 1) ขจัดความยากจน 2) ขจัดความหิวโหย 3) มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 4) การศึกษาที่เท่าเทียม 5) ความ เท่าเทียมทางเพศ 6) การจัดการน้ำและสุขาภิบาล 7) พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 8) การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ 9) อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 10) ลดความเหลื่อมล้ำ 11) เมืองและ ถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 12) แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน 13) การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล 15) การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก 16) สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก และ 17) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงเป็นองค์กรให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนด้านความมั่นคงและสันติภาพของโลก โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง การแก้ไขปัญหาผู้อพยพผลัดถิ่น และการแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์
ภายหลังการรับตำแหน่งของนายกุแตเรซ UN ปฏิรูปองค์กรและหน่วยงานให้มีความกระชับต่อการบริหารองค์กรและงบประมาณ อีกทั้งเพิ่มบทบาทสตรีให้ได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงและ มีสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งการบริหารองค์กรในช่วงต่อไป UN มุ่งให้ความสำคัญที่สะท้อนความเป็นจริงและความท้าทายของโลก ที่ต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากประเทศสมาชิก 9 ด้าน ได้แก่ สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน รักษาความมั่นคงและสันติภาพระหว่างประเทศ พัฒนาการของภูมิภาคแอฟริกา สนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกด้าน ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อเข้าถึงด้านมนุษยธรรม สนับสนุนความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ การปลดอาวุธ การควบคุมยาเสพติด ป้องกันอาชญากรรม ต่อสู้ การก่อการร้ายระหว่างประเทศ และความเข้มแข็งขององค์กรภายใต้ UN โดย UN บรรลุภารกิจสำคัญ เช่น ประสานงานและให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม โดยจัดสรรงบประมาณ 22,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้หนีภัยสงคราม ภาวะอดอยาก และการข่มเหงทารุณกว่า 90 ล้านคนใน 80 ประเทศ การร่วมทำงานกับประเทศสมาชิกไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เกินจากค่ามาตรฐานที่ระบุไว้ในข้อตกลงจากการประชุมที่ปารีสเมื่อปี 2559 ภารกิจรักษาสันติภาพใน 4 ภูมิภาคทั่วโลก การปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนจากปฏิญญาและสนธิสัญญา 80 ฉบับ และการใช้นโยบายทางการทูตเพื่อป้องกันความขัดแย้งในกว่า 67 ประเทศ
การเป็นภาคีพันธสัญญาระหว่างประเทศที่สำคัญของไทย
ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
– อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC)
– อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Woman-CEDAW)
– กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)
– กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economics, Social and Cultural Rights-ICESCR)
– อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)
– อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ
ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT)
– อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities-CRPD)
– อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance-CED)
– อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Members of their Families-CMW)
– พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Optional Protocol to the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women) สาระสำคัญ คือ การยอมรับอำนาจของคณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ ในการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนในกรณีการละเมิดพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ โดยผู้ร้องเรียนอาจเป็นบุคคล/กลุ่มบุคคลในนามผู้ถูกละเมิดสิทธิก็ได้ ทั้งนี้ ไทยให้สัตยาบันเมื่อ 14 มิ.ย.2543
– พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง การขายเด็ก โสเภณีเด็ก และสื่อลามก ที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography) เป็นภาคี เมื่อ 11 ม.ค.2549
– พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Involvement of Children in Armed Conflict) เป็นภาคีเมื่อ 27 ก.พ.2549
– พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of Persons with Disabilities-OP-CRPD) มีผลบังคับใช้กับไทยนับตั้งแต่ 2 ต.ค.2559
ด้านความมั่นคง
– สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty-NPT)
– สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty-CTBT)
– อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention-CWC)
– อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention-BWC)
– อนุสัญญา UN ว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Suppression of the Financing of Terrorism Convention)
– อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อปราบปรามการก่อการร้ายที่ใช้นิวเคลียร์ (International Convention for the Suppression of Acts of Nuclear Terrorism)
– อนุสัญญาว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่น ๆ บางประการที่กระทำบนอากาศยาน (Convention on Offences and Certain Other Acts Committed on Board Aircraft, signed at Tokyo on 14 September 1963)
– อนุสัญญาเพื่อปราบปรามการยึดอากาศยานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (Convention for the Suppression of Unlawful Seizure of Aircraft, signed at the Hague on 16 December 1970)
– อนุสัญญาเพื่อปราบปรามการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน (Convention for the Suppression of Unlawful Acts against the Safety of Civil Aviation, signed at Montreal on 23 September 1971)
– พิธีสารเพื่อการปราบปรามการกระทำรุนแรงอันมิชอบด้วยกฎหมาย ณ ท่าอากาศยาน ซึ่งให้บริการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เพิ่มเติมอนุสัญญาเพื่อปราบปรามการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน (Protocol on the Suppression of Unlawful Acts of Violence at Airports Serving International Civil Aviation, supplementary to the Convention for the Suppression of Unlawful Acts against the Safety of Civil Aviation, signed at Montreal on 24 February 1988)
ด้านสิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิ
– อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ปี 2535 (Convention on Biological Diversity)
– อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ปี 2514 (Ramsar Convention 1971)
– อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน (Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Waste and their Disposal) คุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอันตรายและการป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนา
– โครงการมนุษย์และชีวมณฑล (Man and Biosphere Programme-MAB) ภายใต้องค์การยูเนสโก (UNESCO) อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และดำรงรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม ด้วยการจัดตั้งพื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) ที่สื่อถึงความสมดุลระหว่างมนุษย์และโลกของสิ่งมีชีวิต
– อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) ซึ่งกำหนดให้สภาระหว่างประเทศ
ว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites-ICOMOS) พิจารณาแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และสหภาพการอนุรักษ์โลก (International Union for Conservation of Nature-IUCN) พิจารณาแหล่งมรดกทางธรรมชาติ
– อนุสัญญา UN ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) รักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
– อนุสัญญา UN ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption : UNCAC ค.ศ. 2003)
– ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ 21 เม.ย. 2559
ความท้าทายและสถานการณ์ที่เป็น Highlight ของ UN ในปี 2563
ปัจจุบัน โลกเผชิญกับวิกฤตการณ์ในหลายมิติ ทั้งด้านความมั่นคงและการสาธารณสุข เฉพาะอย่างยิ่งจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งยังคงรุนแรง และส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคของโลก ตลอดจนสร้างผลกระทบเป็นห่วงโซ่ในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทำให้ UN ต้องเผชิญความท้าทายในการบรรเทาปัญหา ซึ่งต้องดำเนินควบคู่กับการแก้ไขปัญหาความเป็นเอกภาพระหว่างรัฐสมาชิก และการบริหารจัดการภายในองค์กรภายใต้งบประมาณที่จำกัด โดยเมื่อปี 2562 UN ประสบวิกฤตขาดแคลนเงินสดที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 10 ปี โดยขาดดุลงบประมาณกว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจทำให้เหลืองบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานภายในสิ้นตุลาคม 2562 ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าว UN ต้องลดค่าใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน อาทิ ลดต้นทุนการดำเนินงาน การเลื่อนประชุมและการพบปะที่ไม่เร่งด่วน ลดงานบริการ ใช้พลังงานอย่างประหยัด ตลอดจนจำกัดการเดินทางของเจ้าหน้าที่ให้เหลือเพียงกิจกรรมที่จำเป็น
ในปี 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งอยู่ภายใต้ UN ได้รับความสนใจและต้องเผชิญแรงกดดันอย่างมากประชาคมระหว่างประเทศ จากกรณีการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐฯ และประเทศสำคัญในยุโรป อาทิ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี ให้เร่งปฏิรูปองค์กร หลังจากที่ WHO ได้รับการวิจารณ์ว่า แสดงท่าทีเข้าข้างจีนมากเกินไป จนทำให้โรค COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก ขณะที่สหรัฐฯ และประเทศในยุโรปต้องการให้ WHO ปฏิรูปโครงสร้างและแยกกลไกการบริหารจัดการในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการสาธารณสุขให้เป็นอิสระ เพื่อมิให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือถูกประเทศใดประเทศหนึ่งครอบงำและเข้าแทรกแซง ซึ่งการปฏิรูปควรครอบคลุมถึงระบบการจัดการเงินสนับสนุนให้ตอบสนองแผนระยะยาวมากขึ้น จากเดิมที่ WHO จะกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายครั้งละ 2 ปี ทำให้ WHO ต้องขอรับการสนับสนุนเงินบริจาคในช่วงเวลาฉุกเฉิน ซึ่งกระทบต่อความเป็นอิสระและภาพลักษณ์ขององค์กร
อย่างไรก็ดี ดร.Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการ WHO ยืนยันสถานะและความมุ่งมั่นของ WHO ที่จะคงบทบาทผู้นำในการแก้ไขวิกฤตโรค COVID-19 อย่างเต็มความสามารถและโปร่งใส ตลอดจนพร้อมจะทบทวนประสิทธิภาพของ WHO ในการตอบสนองต่อวิกฤตโรค COVID-19 หลังสถานการณ์คลี่คลาย
นายอันโตนิอู กุแตเรซ
António Guterres
(เลขาธิการ)
สมาชิก 193 ประเทศ (ประเทศสมาชิกล่าสุดคือ เซาท์ซูดาน เข้าร่วม เมื่อ 9 ก.ค.2554) และ ผู้สังเกตการณ์ 2 องค์กร (Non-member Observer States) คือ นครรัฐวาติกัน
(The Holy See) และรัฐปาเลสไตน์ (State of Palestine)
ก่อตั้งเมื่อ 26 ก.ค.2488 และมีผลอย่างเป็นทางการ เมื่อ 24 ต.ค.2488
– สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty-NPT)
– สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty-CTBT)
– อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention-CWC)
– อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention-BWC)
– อนุสัญญา UN ว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Suppression of the Financing of Terrorism Convention)
– อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อปราบปรามการก่อการร้ายที่ใช้นิวเคลียร์ (International Convention for the Suppression of Acts of Nuclear Terrorism- ICSANT)
– อนุสัญญาว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่น ๆ บางประการที่กระทำบนอากาศยาน (Convention on Offences and Certain Other Acts Committed on Board Aircraft, signed at Tokyo on 14 September 1963)
– อนุสัญญาเพื่อปราบปรามการยึดอากาศยานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (Convention for the Suppression of Unlawful Seizure of Aircraft, signed at the Hague on 16 December 1970)
– อนุสัญญาเพื่อปราบปรามการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน (Convention for the Suppression of Unlawful Acts against the Safety of Civil Aviation, signed at Montreal on 23 September 1971)
– พิธีสารเพื่อการปราบปรามการกระทำรุนแรงอันมิชอบด้วยกฎหมาย ณ ท่าอากาศยาน ซึ่งให้บริการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เพิ่มเติมอนุสัญญาเพื่อปราบปรามการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน (Protocol on the Suppression of Unlawful Acts of Violence at Airports Serving International Civil Aviation, supplementary to the Convention for the Suppression of Unlawful Acts against the Safety of Civil Aviation, signed at Montreal on 24 February 1988)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-UN
ไทยและ UN มีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ใกล้ชิด โดยปี 2565 จะเป็นปีที่ไทยเข้าเป็นสมาชิก UN ครบ 76 ปี โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงในโอกาสครบรอบ 75 ปี UN ว่า ไทยภูมิใจในการเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของหน่วยงานต่าง ๆ ของ UN พร้อมกับยืนยันการสร้างความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ UN โดยเฉพาะความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อแผนฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ไทยจะผลักดันวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องใน 5 มิติของการพัฒนา (5Ps) ได้แก่ คน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง สันติภาพและความยุติธรรม และการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา เพื่อให้ไทยสามารถคงสถานะการเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันดับที่ 1 ของอาเซียนต่อไป