แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
Amnesty International-AI
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
Amnesty International-AI
เว็บไซต์ www.amnesty.org
สำนักงานใหญ่ ลอนดอน สหราชอาณาจักร จดทะเบียนในนามบริษัทสัญชาติอังกฤษและเวลส์
ก่อตั้งเมื่อ ก.ค.2504 โดยนาย Peter Benenson ทนายชาวอังกฤษ
สมาชิก ภาคประชาสังคมกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
เลขาธิการ ดร. Agnès Callamard
ภารกิจ รณรงค์ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การเรียกร้องความยุติธรรมให้กับบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิทั่วโลก รวมทั้งร่วมมือกับรัฐบาลผลักดันกฎหมายและนโยบายด้านความคุ้มครอง โดยมุ่งทำงานพัฒนากระบวนการและวัฒนธรรมด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการรณรงค์ กิจกรรมแสดงออกในระดับสากล และสิทธิมนุษยชนศึกษา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่เป็นธรรม การปฏิรูปกฎหมาย การปล่อยตัวนักโทษและผู้ที่ถูกกักขังโดยไม่ชอบธรรม การปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ถูกคุกคาม รวมถึงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
กิจกรรมของ AI เน้นรณรงค์ด้วยการเขียนจดหมายปฏิบัติการเร่งด่วน ประสานงานกับสื่อนานาชาติ และรณรงค์ร่วมกับรัฐบาลหรือหน่วยงานภายในของรัฐ เพื่อรับรองรัฐธรรมนูญ สนธิสัญญา และกฎหมายอื่น ๆ เกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชน พร้อมกับการทำงานด้านสิทธิพลเมืองและการเมือง อนึ่ง AI ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ “การรณรงค์ต่อต้านการทรมาน” เมื่อปี 2520 และรางวัลสหประชาชาติสาขาสิทธิมนุษยชน (United Nations Prize in the Field of Human Rights) เมื่อปี 2521
ดร. Agnès Callamard
สมาชิก ภาคประชาสังคมกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
ก่อตั้งเมื่อ ก.ค.2504 โดยนาย Peter Benenson ทนายชาวอังกฤษ
การดำเนินงานในไทย
AI เริ่มเป็นที่รู้จักในไทยช่วงเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 จากนั้นมีการรวมกลุ่มจนสามารถเลือกตั้งคณะกรรมการ AI ประเทศไทยเมื่อปี 2536 และตั้งสำนักงานอย่างเป็นทางการพร้อมจดทะเบียนองค์กรเป็นสมาคมเพื่อองค์การนิรโทษกรรมสากลเมื่อปี 2546 เน้นการรณรงค์สิทธิมนุษยชนหลายประเด็น อาทิ สิทธิเด็ก สิทธิสตรี นโยบายเกี่ยวกับการทำแท้ง ชนเผ่าพื้นเมือง นโยบายเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกออนไลน์ สิทธิในเสรีภาพการชุมนุม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิมนุษยชนศึกษา ยุติการทรมาน การบังคับบุคคลให้สูญหาย ผู้ลี้ภัย ยกเลิกโทษประหารชีวิต และธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
AI ออกรายงานประจำปี 2563/2564 ซึ่งเป็นการรวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2563 ใน 149 ประเทศ รวมถึงไทย โดยรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในไทยในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การบังคับบุคคลให้สูญหาย การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐในการชุมนุมโดยสงบ ควบคุมตัว และการดำเนินคดีอาญากับนักปกป้อง สิทธิมนุษยชน นักการเมืองฝ่ายค้าน และผู้วิจารณ์กลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการชุมนุม แสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล รัฐธรรมนูญ และสถาบัน รวมถึงการดำเนินการต่อผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย และผู้อพยพ