ชื่อองค์กรอย่างเป็นทางการ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก
ชื่อองค์กร เอเปค
Organization Name Asia-Pacific Economic Cooperation
Organization Name APEC
เว็บไซต์ www.apec.org
สำนักเลขาธิการเอเปค 35 Heng Mui Keng
Terrace, Singapore 119616
โทรศัพท์ : (65) 6891 9600
โทรสาร : (65) 6891 9690
Email: [email protected]
เลขาธิการเอเปค ดร.Rebecca Fatima Sta Maria (ชาวมาเลเซีย)
ดำรงตำแหน่งระหว่าง 1 ม.ค.2562-ปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งแก่ประชาชนในภูมิภาค โดยการส่งเสริมความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การเติบโตอย่างยั่งยืน มั่นคง และมีนวัตกรรม สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก เพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า (สินค้าและบริการ) และการลงทุนระหว่างสมาชิก ให้สอดคล้องกับกฎการค้าขององค์การการค้าโลก โดยมุ่งเน้นการ
ดำเนินการใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ
หลักการความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปค
เอเปคเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสนใจ การดำเนินงานยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก
กลไกการดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ
ระดับนโยบาย
- การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting-AELM) จัดประชุมปีละ 1 ครั้ง ช่วง ต.ค./พ.ย.
- การประชุม รมต.เอเปค (APEC Ministerial Meeting-AMM) รมต.ต่างประเทศ และ รมต.พาณิชย์ หรือ รมต. ที่เกี่ยวข้อง
- การประชุม รมต.สาขาต่าง ๆ (Sectoral Ministerial Meeting) จะกำกับดูแลความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ การศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลัง สาธารณสุข ฯลฯ
- คณะกรรมการที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council-ABAC) ตัวแทนนักธุรกิจจากเขตเศรษฐกิจเอเปคเขตเศรษฐกิจละ 3 คน ทำหน้าที่เสนอมุมมองและข้อคิดเห็นของ ภาคธุรกิจเอเปคต่อที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจในรูปแบบของรายงานปีละ 1 ครั้ง
ระดับปฏิบัติ
- การประชุมระดับ จนท.อาวุโส (Senior Officials Meeting-SOM) จัดประชุมปีละ 3-4 ครั้ง
- คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment-CTI) ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือเอเปคด้านการเปิดเสรี และอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
- คณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee-BMC) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ จนท.อาวุโส ด้านงบประมาณ การบริหารและการจัดการ และทำหน้าที่ติดตามและประเมินการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณของเอเปค รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะแก่ จนท.อาวุโสเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของเอเปค
- คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (Economic Committee-EC) ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทาง และประเด็นทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่อยู่ในความสนใจ
- คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Steering Committee on Economic and Technical Cooperation-SCE) ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมาย และจัดลำดับกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค
- กลุ่มความร่วมมือและความริเริ่มอื่น ๆ ทำหน้าที่สนับสนุนเป้าหมายของเอเปค
ซึ่งรวมทั้งที่อยู่นอกเหนือโครงสร้างของคณะกรรมการและคณะทำงานเอเปค อาทิ ความร่วมมือระหว่าง
ศูนย์เอเปค และการหารือระหว่างภาครัฐและเอกชน - สำนักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนกระบวนการเอเปคด้านขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานและให้ข้อมูลแก่องค์กรภายในของเอเปคและสาธารณะ
ดร.Rebecca Fatima Sta Maria (ชาวมาเลเซีย)
(เลขาธิการเอเปค)
ประชากร 2,900,000 ล้านคน หรือประมาณ 38% ของประชากรโลก
สมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
ออสเตรเลีย | บรูไน | แคนาดา |
ชิลี | จีน | เขตบริหารพิเศษฮ่องกง |
อินโดนีเซีย | ญี่ปุ่น | เกาหลีใต้ |
มาเลเซีย | เม็กซิโก | นิวซีแลนด์ |
ปาปัวนิวกินี | เปรู | ฟิลิปปินส์ |
รัสเซีย | สิงคโปร์ | ไต้หวัน |
ไทย | สหรัฐฯ | เวียดนาม |
ก่อตั้งเมื่อ ปี 2532
ความสัมพันธ์กับไทย
ไทยเป็นสมาชิกเอเปค โดยเป็น 1 ใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ก่อตั้งเมื่อปี 2532 นอกจากนี้ ไทยยังมีบทบาทสำคัญทั้งในการประชุมและกลุ่มทำงานของเอเปคต่าง ๆ รวมทั้งเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำ
เขตเศรษฐกิจเอเปคเมื่อปี 2546 และจะเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในปี 2565 ณ กรุงเทพมหานคร
นิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปี 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
การประชุมเอเปคประจำปี 2564 นิวซีแลนด์ประกาศจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค
ผ่านระบบการประชุมทางไกล เนื่องจากข้อห่วงกังวลจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยกำหนดหัวข้อหลักประจำปี คือ “Join, Work, Grow. Together” ซึ่งนิวซีแลนด์มุ่งผลักดันประเด็นการรับมือกับการแพร่ระบาดโรค COVID-19 พร้อมทั้งเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยการเรียกร้องให้เกิดการกระจายและการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมในเขตเศรษฐกิจ การสนับสนุนให้มีการบรรลุเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกในโอกาสแรก การส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสนับสนุนสิทธิสตรีและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย (micro, small and medium-sized enterprises-MSMEs) ตลอดจนการรับรองแผนปฏิบัติการภายใต้วิสัยทัศน์ ปุตราจายา ที่จะเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของเอเปคในอีก 20 ปีข้างหน้า
ไทยจะทำหน้าที่ประธานเอเปคในปี 2565 โดยจะผลักดันผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม (Key Deliverables)
ในประเด็นแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy-BCG Economy) เพื่อเป็นพื้นฐานขับเคลื่อนให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมุ่งสู่โลกยุคหลังโรค COVID-19ด้วยการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาศักยภาพมนุษย์ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก