ประยุกต์กระบวนการออกแบบ…สู่การทำงานอย่างถี่ถ้วน
หากกล่าวถึงคำว่า “ออกแบบ” หลายคนคงคิดถึงการคิดชิ้นงานศิลปะ จากการ “ออก” ซึ่งหมายถึงการสร้างหรือผลิตบางสิ่งออกมา และสิ่งที่ผลิตออกมานั้นคือ “แบบ” แม่พิมพ์ หรือพิมพ์เขียว ออกแบบจึงเป็นกระบวนการคิดก่อนที่จะผลิตชิ้นงานออกมา ยกตัวอย่างง่าย ๆ เมื่อศิลปินร่างภาพจากความคิดหรือจินตนาการออกมา เพื่อเริ่มสื่อสารผ่านแบบร่างนั้นให้กับผู้ที่จะร่วมทำงาน หากเป็นกระบวนการผลิตที่สามารถทำได้คนเดียวทั้งหมด กระบวนการออกแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นในหัวของศิลปินทั้งหมดก็ได้ แต่ถ้าเป็นงานออกแบบที่มีความซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านที่ต้องสื่อสารกันระหว่างสถาปนิกและเจ้าของบ้าน หรือตึกสูงที่ต้องมีวิศวกรโครงสร้างปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ดังนั้น กระบวนการออกแบบไม่สามารถเกิดขึ้นในหัวของใครคนใดคนหนึ่งได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องนำความคิด สื่อสารออกมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อที่จะรับข้อมูล ประมวลผล ทำแบบร่างทางเลือก ทดสอบทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด และนำไปก่อสร้างจริง จนแล้วเสร็จ …………..สำหรบกระบวนการออกแบบจะให้ความสำคัญกับ 5 ขั้นตอนสำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ Empathize รับข้อมูลอย่างเอาใจใส่โดยไร้อคติ เพื่อเก็บข้อมูลมาประมวล โดยผู้รับข้อมูลจะต้องสวมบทบาทของผู้ใช้งาน เพื่อทำความเข้าใจถึงประสบการณ์และความรู้สึกในด้านต่างๆ กระบวนการนี้อาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพราะจะได้เก็บข้อมูลได้อย่างตรงไปตรงมามากขึ้น Define หรือการระบุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย หาปัญหาเพียงหนึ่งเดียวที่ได้มาจากการกรองข้อมูลจำนวนมากที่ทำการศึกษามา Idea สร้างสรรค์หาวิธีแก้ปัญหา ส่วนนี้เป็นส่วนที่ต้องใช้ความคิดเป็นอย่างมาก เพื่อหลุดออกจากกรอบเดิมๆ มองหาทางเลือกใหม่ๆ เพิ่มเติม แล้วจึงค่อยนำหลักการมาวางล้อม และสร้างกรอบความคิดต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นไปได้ ว่าทางเลือกใดสามารถเกิดขึ้นได้มากที่สุด…