GAVI
ระบุเมื่อ 7 ก.ค.64 คาดหวังให้บริษัท Serum Institute of India (SII) จัดส่งวัคซีน Covishield ให้โครงการ COVAX ในไตรมาสที่ 3/2564 หลังยกเลิกการจัดส่งวัคซีนชั่วคราวตั้งแต่ เม.ย.64
ระบุเมื่อ 7 ก.ค.64 คาดหวังให้บริษัท Serum Institute of India (SII) จัดส่งวัคซีน Covishield ให้โครงการ COVAX ในไตรมาสที่ 3/2564 หลังยกเลิกการจัดส่งวัคซีนชั่วคราวตั้งแต่ เม.ย.64
แถลงเมื่อ 7 ก.ค.64 จะให้ความช่วยเหลืออินโดนีเซีย โดยจะส่งมอบเครื่องช่วยหายใจ เครื่องผลิตออกซิเจน ถังออกซิเจน อุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมชุดทดสอบการติดเชื้อ และวัคซีน AstraZeneca จำนวน 2.5 ล้านโดส
ประกาศเมื่อ 7 ก.ค.64 ขยายมาตรการควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ครอบคลุมทั่วประเทศ จากเดิมที่บังคับใช้เฉพาะบนเกาะชวาและบาหลี เนื่องจากการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้น
ระบุเมื่อ 7 ก.ค.64 แนะนำให้ใช้ยาปิดกั้นการส่งสัญญาณของอินเตอร์ลิวคิน 6 สำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง เพื่อลดอัตราการใช้เครื่องช่วยหายใจและการเสียชีวิต
ระบุเมื่อ 6 ก.ค.64 เผชิญกับปัญหาขาดแคลนออกซิเจนทางการแพทย์ และต้องเร่งนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย
ประกาศเมื่อ 7 ก.ค.64 อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของ บ. Johnson&Johnson ให้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นวัคซีนลำดับที่ 2 ต่อจากวัคซีน Pfizer
ประกาศเมื่อ 6 ก.ค.64 ไม่นับผู้ที่ฉีดวัคซีน Sinovac เป็นยอดผู้ฉีดวัคซีนของประเทศ แต่นับเฉพาะผู้ฉีดวัคซีนหลัก ได้แก่ วัคซีน Pfizer และ Moderna รวมถึง Novavax ในอนาคต
ระบุเมื่อ 7 ก.ค.64 กำลังพิจารณามาตรการเข้มงวดสูงสุดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เนื่องจากมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา โดยเฉพาะในกลุ่มคนช่วงอายุ 20-30 ปีที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
ประกาศเมื่อ 7 ก.ค.64 จะเพิ่มการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ 12 ก.ค.64 หลังจากยอดผู้ติดเชื้อลดลง
ภาพรถดับเพลิงฉีดอุโมงค์น้ำต้อนรับเครื่องบินลำแรกจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามธรรมเนียม “water salute” ของวงการการบิน เป็นภาพของความพิเศษที่อิงอยู่กับความจริงที่ว่าประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตตั้งความหวังไว้มากกับการทดลองเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ภูเก็ตตกอยู่ใต้ความหวาดกลัวมาปีกว่า เป็นความกลัวระดับสูงสุดของมนุษย์คือความกลัวที่เกิดจากความไม่รู้ วิกฤติการณ์จากโรค COVID-19 ยังดำเนินต่อเนื่องไปมองไม่เห็นจุดจบ ไม่มีใครรู้ได้ว่าภูเก็ตจะกลับสู่สภาวะปกติเมื่อใด เป็นความกลัวที่เกิดจากความไม่รู้ในลักษณะเดียวกับที่มนุษย์กลัวความมืด เพราะความมืด (และวิกฤติโรค COVID-19) ทำให้สูญเสียอำนาจในการรับรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตัวเองต่อไป “ขอโทษนะคะพี่ที่เมื่อคืนทำเสียงดัง” หญิงสาวในโฮสเทลเดียวกันเอ่ยกับผมในคราวที่ไปเยือนภูเก็ตเมื่อการระบาดเพิ่งเริ่มต้น เป็นคำขอโทษย้อนหลังจากที่เมื่อกลางดึกเพื่อนหญิงของเธอส่งเสียงดังลั่นห้องพักชนิดเตียงรวมเพราะฤทธิ์เหล้า ในยามปกติโฮสเทลแห่งนี้เป็นที่พักราคาถูกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่สัมภาระของหญิงสาวกลุ่มนี้ที่ประกอบไปด้วยพัดลมตั้งพื้น โทรทัศน์ ไม้แขวนเสื้อ ฯลฯ บ่งบอกว่าพวกเธอน่าจะเป็นบุคลากรในอุตสาหกรรมบันเทิงที่ใช้ที่พักราคาถูกแห่งนี้เป็นแหล่งพำนักชั่วคราวเพื่อรอเวลาย้ายกลับภูมิลำเนา ในเวลาที่ภูเก็ตไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งหมายถึงไม่มีงานให้ทำ อุตสาหกรรมบันเทิงของภูเก็ตชะงักไปอย่างไม่รู้ชะตา ถนนคนเดินบางลาในคืนนั้นมีนักท่องราตรีน้อยกว่าจำนวนสุภาพสตรีที่นั่งรอต้อนรับลูกค้าหน้าบาร์หลายเท่าตัว การเดินเข้าไปในถนนเส้นนั้นจึงเป็นภาวะบังคับให้ประหม่าอย่างไร้เงื่อนไข ด้วยสายตาสุภาพสตรีหลายสิบคู่ที่จ้องมองมาอย่างตั้งความหวัง ถนนคนเดินบางลาและละแวกหาดป่าตองที่เงียบผิดปกติทำให้ผมกลัว เป็นความกลัวในลักษณะเดียวกับเวลาที่เดินออกจากโรงภาพยนตร์รอบดึกแล้วพบว่าตัวเองอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่ปิดทำการแล้ว เป็นความกลัวในลักษณะเดียวกับเวลาที่ต้องเดินขึ้นไปบนสำนักงานในวันหยุด ถ้าจะพยายามอธิบายความกลัวที่ว่าด้วยแนวคิดในทางมานุษยวิทยา ความกลัวลักษณะดังกล่าวคงเพราะสถานที่นั้นตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “liminal space” ซึ่งหมายถึง “สภาวะกึ่งกลางระหว่างเปลี่ยนผ่าน” ปกติแล้วห้างสรรพสินค้าและสำนักงานถูกคาดหวังว่าต้องมีมนุษย์มากมายเป็นส่วนประกอบ แต่เมื่อมนุษย์ขาดหายไป ผลของความที่มันไม่เหมือนเดิม ไม่ปกติเอาเสียเลย (กำลังเปลี่ยนผ่านจากการเป็นห้างหรือเป็นที่ทำงาน สู่ความเป็นอะไรก็ไม่รู้ที่เราไม่คุ้นเคย) ก็เลยกลายเป็นความไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป…