ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ
(Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation-BIMSTEC)
การดำรงตำแหน่งประธาน
– หมุนเวียนเรียงตามตัวอักษร โดยเริ่มจากบังกลาเทศ (ปี 2540-2542) อินเดีย (ปี 2543) เมียนมา (ปี 2544-2545) ศรีลังกา (ปี 2545-2546) ไทย (ปี 2547-2548) บังกลาเทศ (ปี 2548-2549) ปัจจุบัน ศรีลังกาดำรงตำแหน่งประธาน BIMSTEC ตั้งแต่ ก.ย.2561
การประชุมที่สำคัญในปี 2562-2563
– The First Meeting of the BIMSTEC Permanent Working Committee (BPWC) (ม.ค.2562)
– The 19th Meeting of the BIMSTEC Working Group on Rules of Origin
(ม.ค.2562)
– Second Meeting of the BIMSTEC Task Force on Traditional Medicine
(ม.ค.2562)
– The Third Meeting of the BIMSTEC National Security Chiefs (มี.ค.2562)
– First Expert Group Meeting on Energy (มี.ค.2562)
– Seventh Meeting of the BIMSTEC Expert Group on Agricultural Cooperation (เม.ย.2562)
– Fourth Meeting of the BIMSTEC Network of National Centres on Coordination in Traditional Medicine (มิ.ย.2562)
– The First BIMSTEC Ministerial Meeting on Agriculture (ก.ค.2562)
– Second Meeting of the BIMSTEC Track 1.5 Security Dialogue Forum (ก.ค.2562)
– Eleventh Meeting of the BIMSTEC Sub – Group on Anti – Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism (ก.ย.2562)
– Seminar on Tourism Connectivity in BIMSTEC Region (ก.ย.2562)
– Second Meeting of the BIMSTEC Working Group on Trade Facilitation
(ก.ย.2562)
– Second Meeting of the BIMSTEC Permanent Working Committee
(ต.ค.2562)
– The Third Meeting of the BIMSTEC Permanent Working Committee (BPWC) (มี.ค.2563)
– The 20th Session of the BIMSTEC Senior Officials’ Meeting (SOM) (มี.ค.2563)
– The Fourth Meeting of the BIMSTEC Permanent Working Committee (BPWC) (ส.ค.2563)
– The 21st Session of the BIMSTEC Senior Officials’ Meeting (SOM) (ก.ย.2563)
สถานการณ์สำคัญเกี่ยวกับ BIMSTEC
ในห้วงปี 2563 สมาชิก BIMSTEC ขยายความร่วมมือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับวิกฤตโรค COVID-19 โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศของสมาชิก BIMSTEC เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส BIMSTEC Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 20 ที่กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา เมื่อ 3 มี.ค.2563 โดยที่ประชุมเห็นชอบปรับสาขาความร่วมมือจาก 14 สาขา เป็น 7 เสา ซึ่งแต่ละเสาจะมีประเทศนำ
คือ 1) เมียนมานำการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร 2) ไทยนำความเชื่อมโยง 3) บังกลาเทศนำการค้า การลงทุน และการพัฒนา 4) ศรีลังกานำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 5) อินเดียนำความมั่นคงและพลังงาน 6) ภูฏานนำสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 7) เนปาลนำความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการแก้ไขข้อความในร่างกฎบัตร BIMSTEC และได้มีมติให้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเพื่อหารือกรอบการดำเนินการและรายละเอียดในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนา BIMSTEC Development Fund (BDF)
ส่วนในช่วงวิกฤตโรค COVID-19 ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส BIMSTEC Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 21 ที่กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา เมื่อ 2 ก.ย.2563 ประชุมทางไกลผ่านระบบวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งก่อนเริ่มการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อไว้อาลัยแก่นาย Pranab Mukherjee อดีตประธานาธิบดีอินเดีย ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 31 ส.ค.2563 หลังจากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง BIMSTEC กับธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อผลักดันความร่วมมือด้านการสนับสนุนโครงการในภูมิภาคให้มากขึ้น ทั้งนี้ ศรีลังกา ประธาน BIMSTEC แสดงความพร้อมจัดการประชุม BIMSTEC Summit ครั้งที่ 5 และการประชุมระดับรัฐมนตรี BIMSTEC Ministerial Meeting ครั้งที่ 17 ใน ม.ค.2564 โดยการประชุม BIMSTEC Summit ครั้งที่ 5 ที่จะมีขึ้นนี้ นับเป็นการส่งมอบหน้าที่ประธาน BIMSTEC ให้ไทย รวมถึงส่งมอบหน้าที่เลขาธิการให้นาย Tenzin Lekphell จากภูฏานอย่างเป็นทางการ
สมาชิก บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย
การก่อตั้ง ไทยริเริ่มก่อตั้ง BIMSTEC ขึ้นเมื่อปี 2540 ภายใต้ชื่อ Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation (BIST-EC) แต่ในระยะต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation (BIMST-EC) ในปีเดียวกัน โดยเป็นผลจากการรับเมียนมาเข้าเป็นสมาชิกใหม่ตามมติที่ประชุมระดับรัฐมนตรีสมัยพิเศษ ที่กรุงเทพฯ และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation เมื่อ 31 ก.ค.2547 โดยใช้อักษรย่อ BIMSTEC เช่นเดิม ซึ่งเป็นผลจากการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่ไทย ทั้งนี้ ในปี 2546 BIMSTEC ได้รับภูฏานกับเนปาล
เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม รวมเป็น 7 ประเทศรอบอ่าวเบงกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ธากา บังกลาเทศ
BIMSTEC ประกอบด้วยความร่วมมือหลากหลายสาขา จากเดิม 6 สาขา ปัจจุบันขยายเป็น
14 สาขา มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่
- สาขาการค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)
- สาขาการคมนาคมและการสื่อสาร (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาพลังงาน (เมียนมาเป็นประเทศนำ)
- สาขาการท่องเที่ยว (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาเทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นประเทศนำ)
- สาขาประมง (ไทยเป็นประเทศนำ)
- สาขาเกษตร (เมียนมาเป็นประเทศนำ)
- สาขาสาธารณสุข (ไทยเป็นประเทศนำ)
- สาขาการลดความยากจน (เนปาลเป็นประเทศนำ)
- สาขาการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
- สาขาวัฒนธรรม (ภูฏานเป็นประเทศนำ)
- สาขาปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทยเป็นประเทศนำ)
- สาขาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)
ความสัมพันธ์กับไทย
ไทยสมัครเป็นสมาชิก IMF ลำดับที่ 44 เมื่อ 3 พ.ค.2492 ซึ่งไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้ง วงเงินรวม 4,431 ล้าน SDR (Special Drawing Right/ค่าเงินกลางของ IMF) โดยเมื่อปี 2521 กู้เงิน 45.25 ล้าน SDR ต่อมา ในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตน้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่างปี 2524-2529 ได้กู้เงิน 3 ครั้ง รวม 1,486 ล้าน SDR และ เมื่อ ส.ค.2540 ไทยกู้เงิน 2,900 ล้าน SDR ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง อย่างไรก็ตาม ไทยสามารถชำระคืนเงินกู้จาก IMF ได้ทั้งหมด เมื่อ ก.ค.2546 ซึ่งเป็นการชำระคืนก่อนกำหนดถึง 2 ปี ทำให้ปัจจุบัน ไทยไม่มีภาระหนี้คงค้างกับ IMF และถือเป็นการประกาศเอกราชทางเศรษฐกิจของไทย