บรูไน
Brunei Darussalam
บรูไน
Brunei Darussalam
เมืองหลวง เคียฟ (Kiev)
ที่ตั้ง อยู่ในยุโรปตะวันออก ติดกับทะเลดำ ตั้งอยู่ระหว่างโปแลนด์ โรมาเนีย และมอลโดวาทางตะวันตก กับรัสเซียทางตะวันออก มีพื้นที่ 603,550 ตร.กม. ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรป รองจากรัสเซีย และประมาณ 1.2 เท่าของไทย แบ่งเป็นพื้นดิน 579,330 ตร.กม. และพื้นน้ำ 24,220 ตร.กม. มีพรมแดนทางบกยาว 5,618 กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซียและเบลารุส
ทิศตะวันออก จรดพรมแดนรัสเซีย
ทิศใต้ ติดทะเลดำและทะเลอาซอฟ
ทิศตะวันตก จรดพรมแดนโปแลนด์ สโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย และมอลโดวา
ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์ ทางตะวันตกมีเทือกเขา Carpathians ทางใต้สุดเป็นคาบสมุทรไครเมีย และมีแม่น้ำสำคัญ ๆ ของทวีปยุโรปไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำดนีเปอร์ แม่น้ำดนีสเตอร์ และแม่น้ำดานูบ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลดำ
วันชาติ 24 ส.ค. (ปี 2534) วันประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddualah
(สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนองค์ที่ 29 /นรม./รมว.กระทรวงกลาโหม/รมว.กระทรวงการคลัง/รมว.กระทรวงต่างประเทศ/ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/ ผู้นำศาสนา)
ประชากร 471,103 คน (ก.ค.2564) เชื้อสายมาเลย์ 65.7% จีน 10.3% และอื่น ๆ 24% มีชนพื้นเมือง 7 ชนเผ่าเรียกโดยรวมว่ามลายูหรือมาเลย์ โครงสร้างประชากร วัยเด็ก (0-14 ปี) 22.41% วัยรุ่นถึงวัยกลางคน (15-64 ปี) 71.69% และวัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 5.9% อัตราการเกิด 16 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 3.75 คนต่อประชากร 1,000 คน อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโดยรวม 78.14 ปี เพศชาย 75.75 ปี เพศหญิง 80.63 ปี อัตราการเพิ่มของประชากร 1.48%
การก่อตั้งประเทศ
บรูไนเคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 14-16 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ และบางส่วนของหมู่เกาะซูลู (Sulu) มีชื่อเสียงทางการค้า โดยเฉพาะการบูร พริกไทย และทองคำ แต่เสื่อมอำนาจลงในศตวรรษที่ 19 โดยสูญเสียดินแดนจากสงครามโจรสลัด และการขยายอาณานิคมของประเทศตะวันตก ในที่สุดได้เข้าเป็นดินแดนในอารักขาของสหราชอาณาจักรโดยสมบูรณ์เมื่อปี 2449 เศรษฐกิจของบรูไนเริ่มมั่นคงหลังจากสำรวจพบแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่เมืองเซรีอา (Seria) ทางด้านตะวันตกเมื่อปี 2472 สหราชอาณาจักรให้อำนาจบรูไนปกครองตนเองตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2502 แต่ยังดูแลด้านการต่างประเทศและให้คำปรึกษาด้านการป้องกันประเทศ ผลการเลือกตั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2505 พรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาลจึงพยายามยึดอำนาจจากสุลต่านแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากสุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกุรข่าของสหราชอาณาจักรที่ส่งตรงมาจากสิงคโปร์ รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินมาตั้งแต่ปี 2505 ทำให้ไม่มีการเลือกตั้งมาจนถึงปัจจุบัน บรูไนได้รับเอกราชเมื่อ 1 ม.ค.2527 หลังจากอยู่ภายใต้อารักขาของ สหราชอาณาจักรนานถึง 95 ปี
การเมือง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้หลักราชาธิปไตยอิสลามมลายู (Melayu Islam Beraja /Malay Islam Monarchy-MIB) ได้แก่ การเป็นประเทศมุสลิมมาเลย์ การยึดหลักศาสนาอิสลาม และการเคารพสถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีหรือสุลต่านมีอำนาจสูงสุดทางการเมือง โดยเป็นทั้งประมุขรัฐและ นรม. รวมทั้งกำหนดให้ นรม.ต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ประมุขรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซ ซัดดิน วัดเดาละห์ขึ้นครองราชย์เมื่อ 5 ต.ค.2510 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
ฝ่ายบริหาร : มี นรม.เป็นผู้นำ และมีสภาที่ปรึกษา ซึ่งแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดี ประกอบด้วย สภารัฐมนตรี (Council of Cabinet Ministers) สภาศาสนา (Religious Council) สภาองคมนตรี (Privy Council) และสภาว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ (Council of Succession) ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนทรงควบทั้งตำแหน่งประมุขรัฐและนายกรัฐมนตรีบรูไน
ฝ่ายนิติบัญญัติ : สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดใหม่ เมื่อ 12 ม.ค.2560 หลังการยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อ ส.ค.2559 โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติชุดใหม่ ประกอบด้วย สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน มกุฎราชกุมารแห่งบรูไน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรวม 14 คน และผู้นำท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาธิบดีอีก 20 คน รวม 36 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ปี 2560-2565)
ฝ่ายตุลาการ : ศาลสูงสุด ศาลอุทธรณ์ ศาลแขวงและศาลชะรีอะฮ์ (Sharia Court) ตำแหน่งสำคัญในฝ่ายตุลาการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน
พรรคการเมือง : บรูไนมีพรรคการเมืองเดียว คือ National Development Party ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากบรูไนไม่มีการเลือกตั้งตั้งแต่ปี 2505 ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไนต้องการจำกัดบทบาทพรรคการเมือง โดยใช้กฎหมายความมั่นคงภายในซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมือง ถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง และห้ามข้าราชการ (มีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของประชากร) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจบรูไนมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2563 โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจบรูไนจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2 และร้อยละ 1.3 ในปี 2563 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง มาตรการปิดพรมแดนของบรูไนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ส่งผลต่อรายได้ด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งการที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เผชิญปัญหาขาดสภาพคล่อง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจบรูไนน่าจะฟื้นตัวในปี 2564 เนื่องจากการเพิ่มปริมาณ การผลิตของโรงกลั่นน้ำมัน Hengyi ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนด้านพลังงานระหว่างบรูไนกับจีน และการเปิดดำเนินการโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีขนาดใหญ่แห่งแรกของบรูไนในปี 2564 นอกจากนี้ บรูไนดำเนินนโยบายส่งเสริมการค้าเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศ โดยประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า รวมทั้งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และการก่อสร้าง งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 (1 เม.ย.2563-31 มี.ค.2564) 4,343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : ดอลลาร์บรูไน (BND)
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์บรูไน : 0.74 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 ดอลลาร์บรูไน : 22.47 บาท (พ.ย.2563)
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ (ปี 2562)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) : 13,468 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 3.9%
รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี : 31,086 ดอลลาร์สหรัฐ
ประชากรวัยทำงาน : 218,346
อัตราการว่างงาน : 6.9%
มูลค่าการส่งออก : 7,210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออก : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียมกลั่น และเสื้อผ้า
คู่ค้าส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย สิงคโปร์ และจีน
มูลค่าการนำเข้า : 4,999 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้า : เครื่องจักร รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และอาหาร
คู่ค้านำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
คู่ค้าสำคัญ : ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ จีนและเกาหลีใต้
คู่ค้าสำคัญ 5 อันดับในกลุ่มอาเซียน : มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย
นักท่องเที่ยวเข้าประเทศ : ประมาณ 213,007 คน (ปี 2563)
การทหาร กองทัพบรูไนมีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ทบ. ทร. และ ทอ. ขึ้นตรง ต่อ ผบ.ทหารสูงสุด บรูไนไม่มีการเกณฑ์ทหาร แต่ชายบรูไนอายุ 17 ปี สามารถเข้ารับราชการทหารโดยสมัครใจ กองทัพบรูไนมีกำลังพล 72,000 นาย และกำลังสำรอง 700 นาย เป็น ทบ. 4,900 นาย ทร. 1,200 นาย ทอ. 1,100 นาย นอกจากนี้ สุลต่านยังมี กกล.ทหารกุรข่าส่วนพระองค์ (Gurkha Reserve Unit-GRU) ประมาณ 400-500 นาย
งบประมาณทางทหาร ปี 2565 : ประมาณ 327.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยุทโธปกรณ์สำคัญ : รถถังเบา (สกอร์เปียน) 20 คัน ยานยนต์หุ้มเกราะ 45 คัน เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 81 มม. 24 เครื่อง เรือตรวจการณ์ชายฝั่งและเรือรบ 9 ลำ เรือบรรทุก บ. 4 ลำ ฮ.ขนส่ง 21 ลำ
ปัญหาด้านความมั่นคง
บรูไนเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ เนื่องจากประชาชนต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มากขึ้นในห้วงหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ขณะเดียวกันภัยคุกคามจากการก่อการร้ายยังเป็นปัญหาที่บรูไนให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้าย Islamic State (IS) ที่ต้องการเผยแพร่แนวคิดหัวรุนแรงแก่ชาวบรูไนและชาวต่างชาติที่อาศัยในบรูไน รวมทั้งชักจูงชาวบรูไนให้เข้าร่วมการสู้รบกับกลุ่มก่อการร้าย นอกจากนี้ บรูไนเป็นเส้นทางผ่านของขบวนการค้ามนุษย์เพื่อการบังคับใช้แรงงานและการค้าประเวณี โดยเหยื่อการค้ามนุษย์ส่วนใหญ่เป็นชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ จีน และไทย
ความสัมพันธ์ไทย-บรูไน
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไนเมื่อ 1 ม.ค.2527 และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาตลอด มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูงอยู่เสมอ เป็นพันธมิตรในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบพหุภาคี ด้านเศรษฐกิจ บรูไนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 55 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 ของไทยในกลุ่มอาเซียน การค้าปี 2563 มีมูลค่า 15,248 ล้านบาท ไทยขาดดุลการค้า 8,146 ล้านบาท ไทยส่งออก 5,126 ล้านบาท และนำเข้า 11,697 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 (ม.ค.-ก.ย.2564) มูลค่าการค้ารวม 15,213 ล้านบาท ไทยส่งออก 1,891 ล้านบาท และนำเข้า 13,322 ล้านบาท
สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้านำเข้าสำคัญจากบรูไน ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
ข้อตกลงสำคัญ : ความตกลงบริการเดินอากาศ (13 ม.ค.2530) บันทึกความเข้าใจการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทวิภาคีไทย-บรูไน (27 ก.ย.2542) บันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านสารสนเทศและการกระจายเสียงไทย-บรูไน (16 ส.ค.2544) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษาระหว่างไทย-บรูไน (19 ต.ค.2552) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรและการผลิตอาหารฮาลาลไทย-บรูไน (25 มี.ค.2558) บันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือทางสาธารณสุข (1 ก.ย.2559)
สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม
1) การยกระดับมาตรการการป้องกันภัยคุกคามความมั่นคงทางทะเล การก่อการร้าย และความมั่นคงทางไซเบอร์
2) ความเคลื่อนไหวของบรูไนกรณีปัญหาขัดแย้งในทะเลจีนใต้และการดำเนินความสัมพันธ์กับจีน
3) การแข่งขันอิทธิพลของมหาอำนาจในบรูไน
4) ปัญหาผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในบรูไน ซึ่งมีอยู่ 20,863 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนที่ลี้ภัยมาอยู่ในบรูไนมานานหลายชั่วอายุคน ทั้งนี้ บรูไนยังไม่อนุมัติการให้สัญชาติแก่กลุ่มดังกล่าว โดยอ้างว่าต้องการให้บุคคลเหล่านั้นผ่านการทดสอบเกี่ยวกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และภาษา