ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(Greater Mekong Subregion–GMS)
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(Greater Mekong Subregion–GMS)
เว็บไซต์ www.adb.org/countries/gms/main
https://greatermekong.org/
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างอนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการร่วมกันให้เป็นหนึ่งเดียว มีความปรองดอง และมั่งคั่งตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างความเชื่อมโยง (connectivity) โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็นแนวระเบียงเศรษฐกิจ 2) การเสริมสร้างศักยภาพใน
การแข่งขัน (competitiveness) โดยการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายประชาชนและสินค้าข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมการบูรณาการของตลาดกระบวนการผลิตและห่วงโซ่คุณค่า และ 3) การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community)
ภารกิจ สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดการพัฒนาและการแบ่งปันทรัพยากรส่งเสริมการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของเงินทุนสินค้าและประชาชนในอนุภูมิภาคเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเสริมสร้างบทบาทในเวทีประชาคมโลก
กลไกการดำเนินการ แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่
2 การประชุมระดับ จนท.อาวุโส ปีละ 1-2 ครั้ง
สาขาความร่วมมือ ประกอบด้วย 10 สาขา ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งพลังงาน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเมือง การท่องเที่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เขตเศรษฐกิจชายแดนและสหสาขา ทั้งนี้ การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมนับเป็นโครงการที่มีความสำคัญและมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมชัดเจนนำไปสู่ความร่วมมือในระเบียงเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (GMS Economic Corridors) ซึ่งแบ่งเป็น 3 แนว ได้แก่
สมาชิก 6 ประเทศ ประกอบด้วย จีน (มณฑลยูนนาน และมณฑลกวางสี) เมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ก่อตั้งเมื่อ ปี 2535 โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก
ความสัมพันธ์กับไทยและสถานการณ์ที่น่าติดตาม
ไทยลงนามในกรอบความร่วมมือ GMS ตั้งแต่ปี 2535 โดยมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางทางการสื่อสารและคมนาคม เป็นตลาดขนาดใหญ่ และเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าที่สำคัญ นอกจากนี้ ไทยได้ให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือหลายด้านให้กับประเทศในอนุภูมิภาค
GMS กลายเป็นจุดสนใจและเป้าหมายของประเทศมหาอำนาจมากขึ้น เช่น จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นอินเดีย และเกาหลีใต้ เนื่องจากเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ของประชาคมอาเซียน ซึ่ง GMS มีความร่วมมือในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว การเกษตร การค้า และการลงทุน ส่งผลให้ GMS กลายเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างรวดเร็วและเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างมาก ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนงาน GMS ฉบับที่ 2 ปี 2555-2565 กำลังจะสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงาน ประกอบกับความท้าทายของโรค COVID-19 ที่ประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 7 เมื่อ ก.ย.2564 ซึ่งกัมพูชาร่วมกับ ADB เป็นเจ้าภาพ จึงให้ความเห็นชอบและรับรองกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ปี 2573 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินงานระยะ 10 ปี เช่น การสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ การยกระดับแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและสร้างเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ โดยเป็นกรอบยุทธศาสตร์ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงได้เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับรองแผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ปี 2564-2566 เพื่อประสานความร่วมมือในประเด็นที่ต้องมีการบูรณาการระหว่างกัน เพื่อให้สามารถรับมือกับโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำเร็จในการรวมตัวในอนุภูมิภาคทำให้ประเทศมหาอำนาจต้องการเข้ามีส่วนร่วมหรือ
แสวงประโยชน์ ทั้งจากทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และตลาดลงทุนที่สำคัญ ประกอบด้วย
จีนในฐานะสมาชิก GMS พยายามแผ่ขยายอิทธิพลของตน โดยการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกให้แน่นแฟ้น และครอบคลุมรอบด้านผ่านความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การเร่งพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทั้งทางรถยนต์และรถไฟในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพิ่มความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและลดปัญหาความยากจน การสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศใน GMS ให้ใช้ระบบวีซาเดียว นอกจากนี้ จีนยังผลักดันกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Lancang-Mekong Cooperation-LMC) ซึ่งประกอบด้วย จีน ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพื่อเป็นกลไกกระชับความร่วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีน-อาเซียน ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ LMC ครั้งที่ 6 เมื่อ มิ.ย.2564 ที่นครฉงชิ่ง จีน ที่ประชุมทบทวนความสำเร็จในห้วง 5 ปีที่ผ่านมา และหารือทิศทางการพัฒนากรอบความร่วมมือในอนาคต อาทิ ด้านสาธารณสุข การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงเห็นพ้องให้เริ่มจัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปีฉบับใหม่ (ปี 2566-2570)
สหรัฐฯ พยายามรักษาบทบาทและความสัมพันธ์กับประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (ประกอบด้วยไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) เพื่อถ่วงดุลอิทธิพลจีนในภูมิภาค ตามกรอบข้อริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง(Lower Mekong Initiative-LMI) ที่สหรัฐฯ ริเริ่มไว้ตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ มีส่วนช่วยเหลือและร่วมพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างในด้านพลังงาน สาธารณสุข ความมั่นคงทางอาหาร การเกษตร การศึกษาการรักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ต่อมาสหรัฐฯ ได้ยกระดับและต่อยอดความร่วมมือจาก LMI เป็นหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership-MUSP) เมื่อ ก.ย.2563 เพื่อกระชับความร่วมมือให้สอดรับกับความท้าทายใหม่ โดยมีความร่วมมือ 4 สาขา ได้แก่ การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความมั่นคงรูปแบบใหม่ ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อ ส.ค.2564 ได้รับรองแผนปฏิบัติการ MUSP ปี 2564-2566 ซึ่งจะกำหนดกิจกรรมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมของสหรัฐฯ สำหรับประเทศในอนุภูมิภาค
สำหรับกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง (Friends of the Mekong-FOM) เป็นกลไกความร่วมมือภายใต้ MUSP สมาชิกประกอบด้วย สหรัฐฯ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา เมียนมา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) ธนาคารโลก และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รวมถึงมีสำนักเลขาธิการอาเซียน อินเดีย และสหราชอาณาจักร เป็นผู้สังเกตการณ์ โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งแรกเมื่อ ส.ค.2564 ซึ่งหารือถึงความพยายามในการรับมือกับโรค COVID-19 การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ญี่ปุ่น ต้องการมีบทบาทที่ชัดเจนขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจึงผลักดันกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น (Mekong-Japan Cooperation) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างสมาชิกก่อตั้งกับสมาชิกใหม่ของอาเซียนภายใน GMS เพื่อความแข็งแกร่งของอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคเอเชียต่อไป โดยผ่านการให้ความช่วยเหลือของญี่ปุ่น ที่ให้แก่ GMS กลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ในด้านต่าง ๆ ทั้งการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การเสริมสร้างขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ และการกระจายสินค้า รวมถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและประชาชน ขณะที่ไทยแสดงบทบาทเป็นประเทศผู้ให้ร่วม (co-donor/co-sponsor) กับญี่ปุ่นในการพัฒนา GMS โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งไทยมีประสบการณ์และศักยภาพ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา GMS มาเป็นเวลานานโดยให้เงินสนับสนุนผ่าน ADB ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน GMS โดยในการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 14 เมื่อ ส.ค.2564 ญี่ปุ่นแสดงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาร่วมกับประเทศในอนุภูมิภาคอย่างต่อเนื่องผ่านกรอบความร่วมมือนี้ และให้ความช่วยเหลือในการรับมือกับโรค COVID-19 โดยการจัดสรรเวชภัณฑ์และวัคซีน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือถึงแนวทางการส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการจัดทำ Tokyo Strategy ฉบับใหม่ เนื่องจากฉบับปัจจุบันกำลังจะสิ้นสุดระยะการดำเนินงาน
อินเดีย ส่งเสริมความร่วมมือกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา (Mekong-Ganga Cooperation-MGC) ซึ่งประกอบด้วย อินเดีย กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนามโดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการขนส่ง นอกจากนี้ อินเดียยังพยายามผลักดันกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคาให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง-อินเดีย (Mekong-India Economic Corridor) ซึ่งจะบูรณาการเข้ากับความเชื่อมโยงอินเดีย-อาเซียน (India-ASEAN Connectivity) เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้า ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือ ลุ่มน้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 11 เมื่อ ก.ค.2564 มีการติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ MGC ปี 2562-2565 หารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินความร่วมมือในอนาคตในด้านสาธารณสุข การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืน และการบูรณาการกับกรอบความร่วมมือกรอบอื่น ๆ โดยเห็นพ้องจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ด้านสาธารณสุขและความมั่นคงด้านสุขภาพ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นอกจากนี้ ยังเปิดตัวเว็บไซต์ MGC และภาพยนต์สารคดีซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจที่แบ่งปันร่วมกัน
เกาหลีใต้ มีความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ (Mekong-ROK Cooperation) ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และเกาหลีใต้ โดยมีเป้าหมายที่จะ
ลดช่องว่างการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงส่งเสริมสัมพันธ์ระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเกาหลีใต้ มีความร่วมมือสำคัญ 7 สาขา ได้แก่ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเกษตรและการพัฒนาชนบท โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิ่งแวดล้อม และความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ทั้งยังจัดตั้งกองทุนความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี (Mekong-ROK Cooperation Fund-MKCF) เมื่อปี 2556 ซึ่งมอบหมายให้สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute-MI) เป็นผู้บริหารกองทุนและประสานงานโครงการ
ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 11 เมื่อ ก.ย.2564
ที่ประชุมทบทวนความก้าวหน้าของความร่วมมือที่ผ่านมา และหารือถึงการส่งเสริมความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะการรับมือกับโรค COVID-19 และความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในอนุภูมิภาค รวมถึงเน้นย้ำบทบาทของเกาหลีใต้ในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่าง
เป็นทางการกว่า 30 ปี นอกจากนี้ ปี 2564 ยังเป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยน Mekong-ROK เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชนสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยแต่งตั้งนาย Lee Kwang-soo นักแสดงชาวเกาหลีใต้เป็นทูตสันถวไมตรี
ประเด็นท้าทายของ GMS
พื้นที่/ประชากร ประมาณ 2,600,000 ตร.กม. (ประมาณยุโรปตะวันตก) ประชากรรวมประมาณ 340 ล้านคน