ฮิวแมนไรท์วอทช์
Human Rights Watch (HRW)
ฮิวแมนไรท์วอทช์
Human Rights Watch (HRW)
เว็บไซต์ www.hrw.org
สำนักงานใหญ่ ตึกเอ็มไพร์สเตต นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
สมาชิก กลุ่มสิทธิมนุษยชนในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยมีสำนักงานในนิวยอร์ก อัมสเตอร์ดัม เบรุต เบอร์ลิน บรัสเซลส์ ชิคาโก เจนีวา โจฮันเนสเบิร์ก ลอนดอน ลอสแอนเจลิส ไนโรบี ปารีส ออสโล ซานฟรานซิสโก เซาเปาโล ซิลิคอนแวลลีย์ (แคลิฟอร์เนีย) ซิดนีย์ สวีเดน โตเกียว โตรอนโต วอชิงตัน ดี.ซี. และซูริค
คณะผู้บริหาร นาย Kenneth Roth ผู้อำนวยการใหญ่
ภารกิจ ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในฐานะองค์กรระหว่างประเทศไม่แสวงผลกำไร สัญชาติอเมริกัน เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2521 ในชื่อ Helsinki Watch เพื่อติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลง Helsinki ของประเทศอดีตสหภาพโซเวียต โดยใช้วิธีประกาศต่อสาธารณะในกรณีที่รัฐบาลกระทำผิดหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัจจุบัน HRW ติดตามและรวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งตามภูมิภาค ได้แก่ แอฟริกา อเมริกา เอเชีย ยุโรปและเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ รวมถึงสหรัฐฯ และแบ่งตามประเด็นสำคัญที่มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกและประเด็นเฉพาะทั้งภายในประเทศและระดับภูมิภาค ได้แก่ ด้านอาวุธ ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิกฤตการณ์และความขัดแย้ง สิทธิผู้พิการ เสรีภาพในการพูด ด้านสุขภาพ สิทธิคนข้ามเพศ (LGBT) ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ สิทธิผู้สูงอายุความยุติธรรมระหว่างประเทศ เทคโนโลยีและสิทธิ การก่อการร้ายและการต่อต้านการก่อการร้าย การทรมาน สิทธิสตรี และการมีส่วนร่วมกับองค์การสหประชาชาติในการติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
นาย Kenneth Roth
(ผู้อำนวยการใหญ่)
สมาชิก กลุ่มสิทธิมนุษยชนในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยมีสำนักงานในอัมสเตอร์ดัม เบรุต เบอร์ลิน เจนีวา บรัสเซลส์ ชิคาโก โจฮันเนสเบิร์ก ลอนดอน ลอสแอนเจลิส ไนโรบี นิวยอร์ก ปารีส ออสโล ซานฟรานซิสโก เซาเปาโล ซิดนีย์ สวีเดน โตเกียว โตรอนโต วอชิงตัน ดี.ซี. และซูริค
ก่อตั้งเมื่อ ปี 2531 โดยเปลี่ยนชื่อจาก The Watch Committees ที่รวมกลุ่ม Helsinki Watch, American Watch, Asia Watch, Africa Watch และ Middle East Watch
การดำเนินงานในไทย
HRW เป็นที่รู้จักในไทยกว้างขวางขึ้น เมื่อช่วงปี 2546-2547 ตามนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาดังกล่าวที่ถูกมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ไทยไม่มีสำนักงาน HRW ชัดเจน มีเพียงการเผยแพร่บทความและบทความแปลเป็นภาคภาษาไทยผ่านทางเว็บไซต์หลักของ HRW โดยมีนายสุณัย ผาสุข นักวิจัยอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของ HRW ติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
HRW ออกรายงานสิทธิมนุษยชนประจำปี 2564 (World Report 2021) โดยมีการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การยุบพรรคอนาคตใหม่ การชุมนุมประท้วงที่มีเยาวชนเป็นแกนนำ การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย การขาดภาระรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ความรุนแรงและการปฏิบัติมิชอบในจังหวัดชายแดนภาคใต้การปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนความไม่เท่าเทียมทางเพศ