
4,161
The Intelligence
พื้นที่แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างสร้างสรรค์
#ไทยเสนอแนวทางใช้หารือกับสหรัฐฯสะเทือนส่งออก9แสนล้านบาท![]()
หลายภาคส่วนในไทยได้มีการหารือ และเสนอแนวทางการรับมือกับการประกาศภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรีให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางการเจรจากับสหรัฐฯ ว่าเป้าหมายของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มภาษี ได้แก่ 1) ลดการถูกเอาเปรียบจากการขาดดุลทางการค้า และสร้างสมดุลทางการค้าให้กับสหรัฐฯ 2) นำรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษี ไปลดภาระการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ และ 3) ดึงผู้ประกอบการและกลุ่มบริษัทของสหรัฐฯ ให้ย้ายฐานการผลิตกลับไปสหรัฐฯ![]()
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด ทั้งก่อนและหลังการการประกาศภาษีตอบโต้ของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งขอหยิบยกข้อประเมินของนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. ที่ได้ระดมสมองหามาตรการรับมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ ซึ่งมูลค่าเสียหายจากการขึ้นภาษีดังกล่าว คาดว่าประมาณ 800,000-900,000 ล้านบาท![]()
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหาร พลาสติก และเคมีภัณฑ์ ซึ่งอัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าไทยในสหรัฐฯ เสียเปรียบคู่แข่ง ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า อาจได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นี้ เนื่องจากประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและกัมพูชา ถูกเก็บภาษีสูงกว่า ทำให้สินค้าไทยแข่งขันในตลาดสหรัฐได้ดีขึ้น![]()
นายเกรียงไกร ประธาน ส.อ.ท.ได้เสนอมาตรการและหนทางที่จะหารือกับสหรัฐ เช่น 1) เจรจาสร้างความสมดุลการค้า ทั้งการนำเข้า และส่งออก เช่น นำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ เพื่อมาแปรรูป และส่งออกให้มากขึ้น 2) แก้กฎหมาย และภาษีนำเข้าของไทย เพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ โดยสินค้าที่ไทยมีความพร้อมที่จะนำเข้าจากสหรัฐฯ เช่น ข้าวโพด และปลาทูนา เป็นต้น 3) ออกมาตรการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการผลิตจากในประเทศไทยจริง เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และแผงโซลาร์เซลล์ และ 4) ทบทวนภาษี และมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barriers) เช่น กรณีรถมอเตอร์ไซค์ที่ไทยมีการตั้งภาษีไว้สูง![]()
นายเกรียงไกร ประธาน ส.อ.ท. ยังระบุด้วยว่าแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจะศึกษาข้อมูลภายในกลุ่มเพิ่มเติมว่าได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด และหาจุดยืนร่วมกัน เพื่อให้ ส.อ.ท. เสนอแนวทางต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณารวมทั้งเห็นว่า ภาครัฐต้องเร่งเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ เพื่อลดการเกินดุลการค้า ควบคู่ไปกับเร่งแก้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เปิดการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มากขึ้น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงสินค้าหนัก เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องบินรบ และโดรน เพื่อพิจารณาแลกเปลี่ยนสินค้าต่อรองกับสหรัฐฯ![]()
นายศุภวุฒิยังได้เปิดเผยถึงแนวทางที่ไทยได้เตรียมการไว้ คือ คณะทำงานได้จัดเตรียมแผนยุทธศาสตร์และมาตรการรองรับไว้แล้ว คือ นำเข้าสินค้าการเกษตรของสหรัฐฯ มาแปรรูปเป็นอาหาร เพื่อส่งออกขายไปทั่วโลก ด้วยการสร้างพันธมิตรกับมลรัฐ ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาคการเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่ประธานาธิบดีทรัมป์ฯ ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ พร้อมดำเนินการมาตรการอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การเร่งปราบปรามการสวมสิทธิ์สินค้าจากประเทศอื่น เพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับการเปิดการนำเข้าสินค้าเกษตร รวมถึงสินค้ากลุ่มพลังงาน รวมถึงการเพิ่มการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย เช่น มาตรการเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย และเงินทุนสำหรับใช้ในการให้ผู้ประกอบการไทยหาตลาดใหม่ เป็นต้น![]()
#ภาษีนำเข้า #ตอบโต้ภาษี #โดนัลทรัมป์ #สหรัฐ #สินค้าไทย #สมดุลการค้า #theintelligence
ผู้นำสหรัฐฯ ถูกชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ ภายใต้สโลแกน“Hands Off”![]()
#Trump #HandsOff #ประท้วง #ชุมนุมสหรัฐ #โดนัลด์ทรัมป์ #สหรัฐอเมริกา
อาเซียนเตรียมจัดประชุม รมว.ศก. วาระพิเศษ หารือรับมือผลกระทบมาตรการภาษีสหรัฐฯ![]()
#อาเซียน #มาตราการภาษี #ภาษีน้ำเข้า #มาเลเซีย #วาระพิเศษ #สินค้านำเข้า #เศรษฐกิจโลก #วิกฤตเศรษฐกิจ
อิหร่านเตือนความตึงเครียดในตะวันออกกลางเพิ่มสูงขึ้น![]()
#อิหร่าน #อิสราเอล #สหรัฐ #ฮะมาส #ตะวันออกกลาง #japoa #ข้อตกลงโครงการนิวเคลียร์ #โจมตีตะวันออกกลาง
จีนตอบโต้สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าร้อยละ 34![]()
#จีนสหรัฐ #ภาษีนำเข้า #มาตราการตอบโต้ #จีนตอบโต้สหรัฐ #สีจิ้นผิง #โดนัลด์ทรัมป์ #เศรษฐกิจโลก #FED #ประธานกลางสหรัฐ
ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ตัดสินถอดถอนประธานาธิบดี![]()
#ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ #ยูนซ็อกยอล #พ้นตำแหน่ง #ถอดถอน #เกาหลีใต้ #ศาลรัฐธรรมนูญ #ต่อต้านเกาหลีใต้ #กฎอัยการศึก
“ทำไม The White Lotus ซีซั่น 3 ถึงเลือกถ่ายทำที่ไทย?“
มาค้นหาความลับเบื้องหลังการเลือกสถานที่ในการถ่ายทำ
ประเทศไทยจะเป็นฉากใหม่ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับประเทศไทยของเราบ้าง 🇹🇭✨![]()
รับชมได้>>>>
The White Lotus SS3 กับการเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำมาไทย
www.youtube.com
The Intelligence Podcast ในวันนี้จะมาพูดคุยกันว่า"ทำไม The White Lotus ซีซั่น 3 ถึงเลือกถ่ายทำที่�...
“ยุทธศาสตร์ฟ้าใส” ความร่วมมือไทย – สปป.ลาว – เมียนมา![]()
วิกฤตมลพิษจากหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น แก้ไขไม่ได้เพียงประเทศเดียว สำหรับไทย ปัญหานี้ส่งผลกระทบวงกว้างลุกลามทั่วประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเผาในที่โล่งจากทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการพบจุดความร้อนหรือ hotspot ที่ทำให้เกิดฝุ่นควันข้ามพรมแดนไปยังไทย โดยเฉพาะในห้วงกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี![]()
ปัญหานี้ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วนร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านของเราในหลาย ๆ ช่องทาง ประเทศไทยได้เสนอ “ยุทธศาสตร์ฟ้าใส” (CLEAR Sky Strategy) ปี 2567-2573 ในการประชุมระดับผู้นำสามฝ่ายระหว่างไทย – สปป.ลาว – เมียนมา ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุมทางไกล เมื่อ 7 เมษายน 2566 ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อขับเคลื่อน และแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอย่างยั่งยืน ซึ่งไทยพร้อมจะให้การสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิชาการ การใช้เทคโนโลยีดาวเทียมติดตามตรวจวัดจุดความร้อน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเกษตรในพื้นที่สูงให้กับ สปป.ลาว และเมียนมา![]()
CLEAR Sky Strategy มีความคืบหน้า โดยมีแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน แล้ว ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อ 2 เมษายน 2568 ได้เห็นชอบในแผนปฏิบัติการร่วมกันไปแล้ว ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน บนพื้นฐานผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน และกฎหมายของประเทศนั้น ๆ เช่น การควบคุมและดับไฟจากการเผาในที่โล่ง การคาดการณ์และติดตามตรวจสอบสถานการณ์หมอกควัน การจัดการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน การบังคับใช้กฎหมายและการประสานงานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการนำไปปฏิบัติ![]()
CLEAR ในยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy) ประกอบด้วย![]()
C : Continued Commitment มุ่งปฏิบัติตามเป้าหมายในการลดจุดความร้อน ตามแผนปฏิบัติการเชียงราย ค.ศ. 2017 ซึ่งประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศได้รับรองร่วมกันเมื่อปี 2560![]()
L : Leveraging Mechanisms ใช้ประโยชน์จากกลไกที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ซึ่งไทยจะเสนอให้ส่งเสริมความร่วมมือเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน ผ่านกลไกคณะกรรมการชายแดนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการนำประเด็นดังกล่าวหารือในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 เมื่อพฤษภาคม 2566 ที่อินโดนีเซีย![]()
E : Experience Sharing การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมถึงแนวทางดำเนินการด้านกฎหมายของแต่ละประเทศ เพื่อควบคุมต้นเหตุของปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดน![]()
A : Air Quality Network ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่าย การวัดดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศในอนุภูมิภาค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์ และการแจ้งเตือนประชาชนอย่างทันท่วงที![]()
R : Effective Response ให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้ง 3 ประเทศ ที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการมลพิษหมอกควันข้ามแดน หารือร่วมกันเพื่อต่อยอดผลของการประชุม![]()
ความร่วมมือไทย – สปป.ลาว – เมียนมาในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนตาม CLEAR Sky Strategy เป็นการยกระดับความร่วมมือในอนุภูมิภาค และการทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างทุกภาคส่วน ซี่งสุดท้ายประโยชน์ ไม่ใได้จะตกอยู่กับประชาชนของทั้ง 3 ประเทศ แต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งภูมิภาค