องค์กรอาจเผชิญความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากพนักงานด้านเทคโนโลยีเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยสาเหตุหลักเกิดจากความเครียดในการทำงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้นแต่ไม่สัมพันธ์กับจำนวนของพนักงานที่ทำงานด้านเทคโนโลยี งบประมาณ และความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ รายงานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า 50 % ของพนักงานด้านเทคโนโลยีมีความเครียดในการทำงานเพิ่มขึ้นและไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงในปี 2566 ซึ่งความเครียดนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของพนักงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยขององค์กรที่พนักงานเหล่านั้นรับผิดชอบอยู่ด้วย และสัญญานที่บ่งบอกถึงภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ การสูญเสียสมาธิในการทำงาน ไม่มีความสุขในการทำงาน รู้สึกโดดเดี่ยว และโมโหง่าย ในช่วงปีที่ผ่านมาหลายองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการทำงานที่ให้พนักงานทำงานในบริษัทสลับกับการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Hybrid Working) หรือการทำงานนอกสถานที่แบบเต็มรูปแบบ (Remote Workforce) ทำให้เกิดภัยคุกความทางไซเบอร์ที่มีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น จึงต้องมีความตระหนักรู้ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นไปด้วย อุปสรรคสำคัญในการทำงานด้านเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ การทำงานในรูปแบบเดิมซ้ำๆ เช่น การเฝ้าสังเกตระบบ การตรวจจับเหตุการณ์ และการรายงาน เป็นต้น การสูญเสียสมาธิในการทำงานเนื่องจากปริมาณงานที่มากเกินไปก่อให้เกิดการมองข้ามรายละเอียดสำคัญบางประการจนก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ เช่น การละเลยในการตรวจสอบ IP Address ว่ามีความเกี่ยวข้องกับข้อความไม่พึงประสงค์ (Spam) และมัลแวร์หรือไม่ ส่งผลให้สิ่งไม่พึงประสงค์เหล่านั้นกระจายไปทั่วองค์กร เป็นต้น อีกหนึ่งประการคือ การละเลยการอัพเดตสิ่งที่จำเป็นต่อระบบและการควบคุมความปลอดภัย ซึ่งเป็นช่องทางที่จะถูกโจมตีได้ง่ายที่สุด แนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อพนักงานเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน เพื่อลดปริมาณงานของพนักงานด้านเทคโนโลยี คือ การให้ความรู้แก่พนักงานทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น…