ภาษีแบบสังคมนิยมและกระจายอำนาจแบบ web3.0
มนุษย์เราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน ทั้งรูปลักษณ์ หน้าตา สีผิว ความสมบูรณ์ของร่างกาย และฐานะ …สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อโอกาสในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางการศึกษา ไปจนถึงหน้าที่การงานและการสร้างรายได้ อย่างไรก็ตาม รัฐมีเครื่องมือลดความแตกต่างนี้ลงด้วยสิ่งที่เรียกว่า “สวัสดิการ” จากรัฐ ที่เปลี่ยนบริการบางอย่างให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะ หรือควบคุมไว้ไม่ให้เกิดการผูกขาด ภายใต้การบริหารงบประมาณจากการเก็บภาษีตามอัตราส่วนต่าง ๆ แนวคิดของการบริหาร “ภาษี” ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมงบประมาณ ทั้งจากผู้มีรายได้สูงและรายได้ต่ำ โดยใช้ในการบริการประชาชนทุกระดับ ดังนั้น ภาษีจึงมีส่วนช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ โดยเฉพาะในลักษณะของ “รัฐสวัสดิการ” ที่จะมีการเก็บภาษีจากโอกาสต่างๆ มาชดเชยค่าเสียโอกาสต่างๆ เช่น การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม (ECO TAX) จากผู้ก่อมลพิษเพื่อจูงใจให้ลดการก่อมลพิษที่จะส่งผลกระทบต่อคนทั่วไป การเก็บภาษีน้ำจากการทำเกษตรเพื่อสร้างรายได้สำหรับการอนุรักษ์ระบบนิเวศในระดับลุ่มน้ำ ภาษีถือเป็นการให้มูลค่ากับสิ่งต่างๆ เป็นการตีความทางตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบค่าเสียโอกาสต่างๆ และเพิ่มเติมชดเชยให้เหมาะสม จากแนวคิดดังกล่าว ในอนาคตมนุษย์หากคนคนหนึ่งเกิดมามีความพิการ 60% จะได้รับการชดเชยเพื่อสร้างโอกาสให้เท่าเทียมกับคนที่เกิดมาสมบูรณ์ 100% นั่นหมายความว่า คนที่เกิดมาสมบูรณ์จะต้องทำ 140% เพื่อชดเชยให้คนพิการ หรือแบ่งให้เป็น 80% เท่ากันทั้งสองคน ถือเป็นความรับผิดชอบของส่วนรวมทางสังคมภายใต้แนวคิดแบบอำนาจนิยมที่จัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในยุคที่ทุกอย่างสามารถตีค่าชี้วัดออกมาเป็นตัวเลขได้ ซึ่งในสังคมรูปแบบนี้ บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะต้องเสียภาษีคืนกำไรให้กับสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะรับผิดชอบต่อกลุ่มคนที่อยู่ในกระบวนการหรือได้รับผลกระทบจากธุรกิจนั้นๆ ไม่ใช่แค่ภาษีและการตีมูลค่าตัวเลขเท่านั้น แต่…