ธนาคารโลก
World Bank (WB)
ธนาคารโลก
World Bank (WB)
เว็บไซต์ www.worldbank.org
ที่ตั้ง วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ
ก่อตั้งเมื่อ 27 ธ.ค. 2488 โดยนายจอห์น เมนาร์ด เคนส์ และนายแฮร์รี่ เดกซ์เตอร์ไวท์
สมาชิก 188 ประเทศ
ประธาน นาย David Malpass นักวิเคราะห์เศรษฐกิจชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งในสมัยที่ 1 เมื่อ 9 เม.ย. 2562 (วาระ 5 ปี)
ภารกิจ WB ชื่อเดิม คือ ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (International Bank for Reconstruction and Development-IBRD) ก่อตั้งเมื่อ 27 ธ.ค.2488 จากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือ Bretton Woods Conference ที่เบรตตันวูดส์ สหรัฐฯ โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งต้องการให้ WB เป็นทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติที่ให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ทั้งด้านการเงินและการให้คำปรึกษาทางวิชาการและเทคนิค รวมทั้งนำเสนอเเนวโน้มและการประเมินเศรษฐกิจโลก ประกอบด้วย 5 องค์กร ดังนี้
WB จะเผยแพร่รายงานการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ในช่วง เม.ย. และ ต.ค. ของทุกปี พร้อมกับเสนอแนะนโยบายในการบริหาร นโยบายการเงิน และจัดการเศรษฐกิจมหภาค อีกทั้งจัดการประชุมระดับผู้บริหารกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) โดยเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลาง นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมเข้าหารือประเด็นด้านเศรษฐกิจโลกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วง เม.ย. และ ต.ค.
WB ให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า ๑๖๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ผ่านโครงการ COVID-19 Fast-Track Facility เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการจัดสรรวัคซีนให้กับประเทศรายได้ต่ำ และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (International Bank for Reconstruction and Development-IBRD) และสมาพันธ์การพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Association-IDA) ในการรับมือกับโรค COVID-19 รวมถึงการปรับโครงสร้าง การปรับใช้ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ใหม่ นอกจากนี้ ยังอนุมัติเงินกู้ให้กับประเทศต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งประเทศรายได้ต่ำ-ปานกลาง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งเรียกร้องประเทศต่าง ๆ เร่งฉีดวัคซีน รวมถึงเรียกร้องประเทศร่ำรวยจัดสรรวัคซีนให้กับประเทศยากจนอย่างเร่งด่วน เพื่อบรรลุเป้าหมายยุติการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ภายในสิ้นปี 2565 ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
นาย David Malpass
(ประธาน)
สมาชิก 188 ประเทศ
ก่อตั้งเมื่อ 27 ธ.ค.2488 โดยนายจอห์น เมนาร์ด เคนส์ และนายแฮร์รี่ เดกซ์เตอร์ไวท์
การคาดการณ์เศรษฐกิจ
สำหรับปี 2563 WB ประเมินว่า การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงที่สุดในรอบ 150 ปี ซึ่งเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและกระจายเป็นวงกว้าง และส่งผลให้ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้กิจการและธุรกิจต้องปิดกิจการ เกิดการตกงานและการลดลงของรายได้ ทำให้สถานการณ์ความยากจนทั่วโลกถอยหลังไปอีก 5-10 ปี และ ทำให้ประชากรโลกกว่า 70-100 ล้านคน เข้าสู่ภาวะยากจนสุดขีด (Extreme Poverty)
WB เผยแพร่รายงาน “East Asia and Pacific Fall 2021 Economic Update” ประจำเดือนต.ค.2564 เมื่อ 27 ก.ย.2564 ปรับลดการประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ที่ 1% ซึ่งเป็นการปรับลดเป็นครั้งที่ 2 ของปี 2564 หลังปรับลดก่อนหน้านี้ช่วงไตรมาส 2/2564 อยู่ที่ 2.2% และเมื่อไตรมาส ที่ 1/2564 อยู่ที่ 3.4% เพราะความเสียหายและบาดแผลทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของ โรค COVID-19 ครั้งล่าสุด ทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง อีกทั้งส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำของไทยให้รุนแรงขึ้น และจะทำให้มีคนจนเพิ่มขึ้นกว่า 170,000 คนในปี 2564 ซ้ำเติมภาวะหนี้ครัวเรือนระดับสูงของไทยให้น่ากังวลมากขึ้น ขณะเดียวกัน มาตรการควบคุมโรคที่เคยประสบความสำเร็จในการแพร่ระบาดระลอกก่อนหน้า กลับใช้ไม่ได้ผลกับสายพันธุ์เดลตา อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยบวกจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้อย่างเข้มแข็งจากความต้องการสินค้าจากต่างประเทศที่กลับมาอย่างรวดเร็ว
WB คาดว่า เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีในการฟื้นตัว (2564-2566) จึงจะกลับไปขยายตัวได้เท่ากับช่วงก่อนวิกฤตโรค COVID-19 ล่าช้ากว่าที่คาดก่อนหน้านี้ว่าจะใช้เวลา 2 ปี (2564-2565) เนื่องจาก 1) ไทยยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีน 70% ของประชากรในปี 2564 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยไทยจะฉีดวัคซีนได้ 60% ภายในปี 2564 และคาดว่าจะได้ถึง 70% ที่จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กลับมาดำเนินต่อไปได้ในภายในกลางปี 2565 2) ภาคการท่องเที่ยว เครื่องจักรทางเศรษฐกิจหลักของไทยยังไม่ฟื้นตัว โดยคาดว่าทั้งปี 2564 จะมีชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวผ่านโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เพียง 160,000 คน ซึ่งอุตสาหกรรมทางการท่องเที่ยวจะเดินหน้าต่อได้ ก็ต่อเมื่อไทยฉีดวัคซีนได้ 70% ในกลางปี 2565 ทั้งนี้ ในครึ่งหลังของปี 2565 WB คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามายังไทยเพียง 1.7 ล้านคน น้อยกว่าที่ไทยเคยได้รับก่อนการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ 40 ล้านคน
WB ย้ำความสำคัญของการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชน เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสามารถเปิดประเทศได้อีกครั้ง พร้อมกับเสนอไทยให้สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการฉีดวัคซีนและเร่งการฉีดวัคซีน เพิ่มศักยภาพการตรวจหาเชื้อและติดตาม ผู้ติดเชื้อเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เพิ่มการผลิตวัคซีนในภูมิภาค เสริมสร้างระบบสาธารณสุขท้องถิ่นปฏิรูปการศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความไม่เท่าเทียมของไทยและภูมิภาค
WB เสนอแนะว่า การปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะของไทยเป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพราะช่วยเพิ่มโอกาสให้รัฐบาลประคับประคองเศรษฐกิจระยะสั้นและเพิ่มการลงทุนในระยะกลางได้ ขณะที่หนี้สาธารณะของไทยยังมีความเสี่ยงต่ำ เพราะเป็นการกู้ยืมเงินในประเทศเป็นหลัก ส่วนการกู้ยืมเงินในต่างประเทศยังมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรเน้นการออกมาตรการเยียวยาแบบเจาะจง เช่น กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มาตรการทางการเงินการคลังที่ประคับประคองกลุ่มคนยากจนและแรงงาน รวมถึงควรใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส
ความร่วมมือกับไทย
ไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 48 เมื่อ 3 พ.ค.2492 ได้รับเงินกู้จาก WB ครั้งแรกปี 2493 จำนวน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงการบูรณะรางรถไฟ โครงการปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพฯ และโครงการพัฒนาระบบชลประทานของแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นตั้งแต่ปี 2545 ความสัมพันธ์ไทย-WB ก้าวหน้ามาสู่ภาคพัฒนา การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาและการให้คำปรึกษาผ่านโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศ (Country Development Partnership-CDP)
ปัจจุบัน ไทย และ WB พัฒนาแนวทางความร่วมมือในรูปแบบ Country Partnership Strategy (CPS) ซึ่งเป็นรายงานประเมินการดำเนินงานของ WB ในการให้ความช่วยเหลือไทยตามยุทธศาสตร์ Thailand-World Bank Group Partnership for Development และยึดนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย