สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ระบุเมื่อ 16 มิ.ย.64 จะติดตั้งเครื่องสแกนคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ตรวจจับระยะไกลในสถานที่สำคัญของรัฐอาบูดาบี
ระบุเมื่อ 16 มิ.ย.64 จะติดตั้งเครื่องสแกนคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ตรวจจับระยะไกลในสถานที่สำคัญของรัฐอาบูดาบี
ประกาศเมื่อ 17 มิ.ย.64 เตรียมฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้กับชาวต่างชาติที่อาศัยหรือทำงานในลาว
ระบุเมื่อ 17 มิ.ย.64 ปรับแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของ AstraZeneca ในผู้สูงอายุ จากอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นอายุ 60 ปีขึ้นไป หลังอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในห้วงอายุ 50-59 ปี อยู่ในระดับสูง และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย
ระบุเมื่อ 15 มิ.ย.64 ยืนยันประสิทธิภาพของวัคซีน Sputnik V สามารถป้องกันโรค COVID-19 สายพันธุ์เดลตาได้มากกว่าวัคซีนอื่น
ประกาศเมื่อ 16 มิ.ย.64 วิตกกับการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์เดลตาที่รุนแรงขึ้น รวมถึงการระบาดของสายพันธุ์ใหม่ หรือสายพันธุ์แลมบ์ดา ใน 29 ประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาความรุนแรงของเชื้อ
สำนักข่าว Tass ของรัสเซีย รายงานเมื่อ 13 มิ.ย.64 อ้างถ้อยแถลงของประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซีย เกี่ยวกับการส่งตัวผู้ร้ายที่มีความผิดฐานอาชญากรรมทางไซเบอร์ข้ามแดน ระบุว่า รัสเซียจะส่งตัวผู้ร้ายที่กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวในลักษณะต่างตอบแทนกับสหรัฐฯ ท่าทีดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลัง ผู้นำสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ร่วมประชุมสุดยอด G-7 เรียกร้องให้รัสเซียยุติพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความมั่นคงของภูมิภาค และบังคับใช้กฎหมายปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการโจมตีระบบโดย ransomware การใช้สกุลเงินดิจิทัลฟอกเงิน ทั้งนี้ การประชุม G7 การประชุมเนโต และการหารือทวิภาคีระหว่างประธานาธิบดีปูติน กับประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ของสหรัฐฯ ใน 16 มิ.ย.64 ที่เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ต่างบรรจุประเด็นไซเบอร์เป็นหนึ่งในประเด็นหารือหลัก และพาดพิงรัสเซียในทางลบ
หนังสือพิมพ์ Moscow Times รายงานเมื่อ 13 มิ.ย.64 ว่า นาย Sergey Sobyanin นายกเทศมนตรีนครมอสโก ประกาศใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 “Non-working week” ระหว่าง 15-19 มิ.ย.64 โดยให้ประชาชนงดเดินทางไปทำงาน แต่ยังคงได้รับค่าตอบแทน ขณะที่ร้านอาหาร และสถานบันเทิงต่าง ๆ ต้องปิดให้บริการตั้งแต่ 23.00 – 6.00 น. นอกจากนี้ รัสเซียใช้มาตรการจูงใจ เพื่อให้ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ระหว่าง 14 มิ.ย.-11 ก.ค.64 มีสิทธิ์จับสลากลุ้นรับรถยนต์มูลค่าประมาณ 13,900 ดอลลาร์สหรัฐ (1 ล้านรูเบิล) จำนวน 5 คันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้เมื่อ 13 มิ.ย.64 รัสเซียพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ยืนยันรายใหม่ 14,723 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดตั้งแต่…
เว็บไซต์ Hindustan Times ของอินเดีย รายงานเมื่อ 15 มิ.ย.64 ว่า รัฐบาลอินเดียอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในห้วงวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานเป็นสำคัญ ภายหลังเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางอินเดียกว่า 900 รายเสียชีวิตในห้วง มี.ค.-พ.ค.64 โดยไม่ยืนยันสาเหตุ แต่สันนิษฐานว่าอาจเสียชีวิตจากโรค COVID-19 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางอินเดียติดเชื้อ COVID-19 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากสถานที่ราชการของอินเดียคับแคบ ทำให้เชื้อ COVID-19 แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อการทำงานอย่างรุนแรง และเกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม
เว็บไซต์ Reuters รายงานเมื่อ 14 มิ.ย.64 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index-CPI) ของอินเดีย ใน พ.ค.64 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6.3 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 และเพิ่มสูงกว่าห้วง เม.ย.64 ที่มีอัตราร้อยละ 4.29 ซึ่งสูงกว่ากรอบอัตราดัชนีเงินเฟ้อของธนาคารกลางอินเดีย (Reserve Bank of India-RBI) ที่กำหนดไว้ร้อยละ 2-6 ขณะที่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ บริษัทหลักทรัพย์ Elara Capital ของอินเดีย ประเมินว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอินเดียใน ก.ย.64 จะมีอัตราร้อยละ 5.2 ทั้งนี้ RBI ระบุว่า เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น กับทั้งส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม RBI ยังไม่ประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างเป็นทางการ
สำนักข่าว The Guardian รายงานเมื่อ 15 มิ.ย.64 ว่า นาย Tedros Adhanom Ghebreyesus ผอ.องค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) เตือนว่า การกระจายวัคซีนทั่วโลกล่าช้ากว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงในแต่ละวัน ซึ่งแม้กลุ่ม G7 ที่ประกอบด้วยแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ให้คำมั่นในการประชุมสุดยอด G 7 ที่สหราชอาณาจักรเมื่อ 11-13 มิ.ย.64 ว่าจะบริจาควัคซีนแก่ประเทศยากจนผ่านโครงการ COVAX มากกว่าหนึ่งพันล้านโดส แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการวัคซีนทั่วโลกที่มากถึง 11,000 ล้านโดส นอกจากนี้ WHO ยังคาดการณ์ว่าทั่วโลกต้องใช้งบประมาณมากกว่า 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการวินิจฉัยโรค การรักษา และการเร่งผลิตวัคซีน COVID-19 จึงจะเพียงพอในการควบคุมการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ได้