เว็บไซต์ opengovasia.com รายงานเมื่อ 29 มิ.ย.64 ว่า วิศวกรจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (MIT) ของ สหรัฐฯ ได้ออกแบบหน้ากากที่สามารถวินิจฉัยโรค COVID-19 จากผู้ที่สวมใส่หน้ากากได้ภายใน 90 นาที หน้ากากดังกล่าวบรรจุอุปกรณ์ตรวจจับ (sensor) แบบใช้แล้วทิ้งได้ที่สามารถอยู่ในหน้ากากอื่นและสามารถนำไปปรับใช้ตรวจจับไวรัสอื่นอาทิ ซิกาและอีโบลาได้ด้วย
อุปกรณ์ตรวจจับมีพื้นฐานมาจากเครื่องจักรเซลลูล่าร์แบบแช่แข็งและถูกทำให้แห้งซึ่งทีมวิจัยได้พัฒนามาใช้งานบนกระดาษตรวจจับไวรัสอื่น อาทิ อีโบล่า และซิก้า ทีมนักวิจัยได้นำอุปกรณ์ตรวจจับไปใส่ไว้กับหน้ากาก และเสื้อผ้า เพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการเฝ้าระวังและตรวจจับเชื้อโรคให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข นอกจากนี้อุปกรณ์ตรวจจับดังกล่าวยังสามารถตรวจจับกรดนิวคลีอิกของแบคทีเรียหรือไวรัลได้ เช่นเดียวกับสารพิษอื่น อาทิ สารพิษต่อระบบประสาท ทีมนักวิจัยระบุว่าแพลตฟอร์มนี้สามารถรองรับอุปกรณ์ตรวจจับยุคใหม่ที่สามารถสวมใส่ได้แก่ผู้ปฏิบัติงานแรกรับผู้ป่วย บุคลากรด้านสาธารณสุขและทหาร ทั้งนี้อุปกรณ์ตรวจจับจะทำงานเมื่อผู้สวมใส่ต้องการตรวจสอบไวรัสและจะรายงานผลโดยการแสดงผลภายในหน้ากากเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
ทั้งนี้เดิม ทีมนักวิจัยกำลังจะปิดโครงการวิจัยอุปกรณ์ตรวจจับไวรัสที่สามารถสวมใส่เป็นเสื้อผ้าได้ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งขณะนั้นเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทีมนักวิจัยจึงตัดสินใจค้นคว้าเพิ่มเติมให้หน้ากากสามารถตรวจ COVID-19 ได้ โดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับชื่อ SHERLOCK ฝังไปในหน้ากากเพื่อตรวจจับชิ้นส่วนไวรัสจากลมหายใจของผู้สวมใส หน้ากากจะมีที่เก็บน้ำขนาดเล็กเพื่อใช้ขณะทดสอบ COVID-19 โดยจะมาผสมกับอุปกรณ์ตรวจจับแบบแช่แข็งซึ่งถูกทำให้แห้งไว้ และจะวิเคราะห์ละอองฝอยจากลมหายใจที่อยู่ภายในหน้ากาก
งานต้นแบบที่ได้พัฒนาและทดสอบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไวรัสอื่น และสามารถติดตั้งบนเสื้อผ้าอื่นได้ด้วยเช่นกัน ทีมนักวิจัยได้ย่อส่วนการใช้งานเทคโนโลยีการตรวจสอบโมเลกุลล่าสุดเพื่อให้สามารถเข้ากับอุปกรณ์อื่นได้ และได้ขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทางเทคโนโลยีเรียบร้อยแล้ว โดยหวังว่าจะต่อยอดงานกับบริษัทในการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจจับให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ที่มา : https://opengovasia.com/new-face-mask-prototype-in-u-s-can-detect-covid-19-infection/