รถพยาบาล
หมายเลขโทรศัพท์
991
ตำรวจ
หมายเลขโทรศัพท์
993
ดับเพลิง
หมายเลขโทรศัพท์
995
กู้ภัย
หมายเลขโทรศัพท์
998
- : No.15, Simpang 42, Jalan Elia Fatimah, Kampong Kiarong, Bandar Seri Begawan, BE 1318, Brunei Darussalam
- : +673-265-3108 และ +673-265-3109
- : +673-265-3032
- : [email protected]
- Facebook Page: www.facebook.com/rtebandar
- : No.15, Simpang 42, Jalan Elia Fatimah, Kampong Kiarong, Bandar Seri Begawan, BE 1318, Brunei Darussalam
- : +673-265-3517
- : +673-265-3516
- : [email protected]
นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ยังจัดทำแผนปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน สำหรับคนไทยที่อยู่ในบรูไน เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูต รายละเอียด ดังนี้
ในภาวะปกติ
- สำรวจว่าตนเองและบุคคลในครอบครัวมีเอกสารเดินทางครบถ้วน พร้อมเดินทางหากจำเป็น
- แจ้งที่อยู่และหมายเลขติดต่อให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบ
- มีเบอร์โทรศัพท์เจ้าหน้าที่กงสุลและเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ติดตัวตลอดเวลา
- ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และกับกลุ่มเพื่อนคนไทย
- พยายามติดต่อเพื่อนคนไทยสม่ำเสมอ
ในสภาวะที่มีความไม่ปลอดภัย/เหตุการณ์ฉุกเฉิน
- เตรียมเอกสารเดินทางให้พร้อมเดินทางหากจำเป็น
- ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อรับข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตัว
- ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และกับกลุ่มเพื่อนคนไทย เพื่อให้เพื่อนรู้ว่าเราอยู่ที่ใด ไปที่ไหน
- สำรองอาหาร เครื่องดื่ม และเชื้อเพลิงที่จำเป็น
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา หลีกเลี่ยงการเดินทางในยามวิกาล
- ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตน บุคคลที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ควรเดินทางออกนอกพื้นที่เสี่ยง
สถานเอกอัครราชทูตบรูไน ประจำประเทศไทย
ที่อยู่ 12 เอกมัยซอย 2 สุขุมวิท 63 กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ +662-714-7395,+662-714-7396
โทรสาร +662-271-47383
อีเมล [email protected]
ข้อควรระวังในการเดินทางเข้าประเทศบรูไนฯ
- บุคคลสัญชาติไทยที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในบรูไนฯ จะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา 14 วัน แต่หากเดินทางมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ต้องดำเนินเรื่องขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูตบรูไนประจำประเทศไทยก่อน
- เมื่อเดินทางถึงบรูไนฯ ต้องกรอกแบบฟอร์มของสำนักตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรบรูไน (ซึ่งจะมีแจกบนเครื่องบิน) ให้เรียบร้อยเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเข้าเมือง
- ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมสามารถนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าประเทศบรูไนฯ ได้ไม่เกิน 2 ขวด (ขวดละไม่เกิน 1 ลิตร) และเบียร์ 12 กระป๋องต่อการเดินทางเข้าประเทศ 1 ครั้งและเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น การนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าบรูไนฯ ต้องแจ้งและสำแดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรทราบทุกครั้ง ซึ่งหากเดินทางเข้าบรูไนฯ ด้วยเครื่องบินโดยสาร จะต้องกรอกแบบฟอร์มสำแดงและยื่นต่อศุลกากรที่ท่าอากาศยานที่ช่องทางสำแดง (ช่องสีแดง) หากไม่สำแดงจะได้รับการลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากรบรูไน
- สินค้าอื่น ๆ ที่มีข้อจำกัดในการนำเข้าประเทศบรูไนฯ ได้แก่
(1) การนำบุหรี่เข้าประเทศจะต้องสำแดงต่อศุลกากรและต้องชำระภาษีบุหรี่ในอัตรามวนละ 50 เซนต์บรูไน
(2) น้ำหอม นำเข้าได้ไม่เกิน 60 มิลลิลิตรต่อครั้ง
- ผู้เดินทางที่จะนำเงินติดตัวเข้าหรือออกจากประเทศบรูไนฯ ที่มีมูลค่าเกินกว่า 15,000 ดอลลาร์บรูไน (หรือประมาณ 360,000 บาท) ต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรบรูไนด้วย
ข้อควรระวังและข้อควรหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติในบรูไนฯ
- ห้ามใช้นิ้วชี้ในการชี้คนหรือสิ่งของใด ๆ เนื่องจากถือเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพอย่างมาก ตามธรรมเนียมปฏิบัติชาวบรูไนจะใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวาแทนนิ้วชี้ในทุกกรณีไม่ว่าจะชี้บุคคลหรือสิ่งของ
- ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด กฎหมายบรูไนอนุญาตให้ชาวต่างชาติหรือผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในที่พักส่วนตัวเท่านั้น
- ก่อนเข้าไปในศาสนสถานจะต้องถอดรองเท้าก่อนทุกครั้ง หากไม่ใช่คนมุสลิมให้เดินในบริเวณที่จัดให้เท่านั้น ทั้งนี้สำหรับสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมจะมีชุดคลุมยาวสีดำจัดไว้ให้สำหรับสวมทับก่อนเข้าไปในศาสนสถานนั้น ๆ
- ห้ามถ่ายรูปภายในศาสนสถาน
- ในการทักทายกันให้ใช้การสัมผัสมือ หลังจากปล่อยมือแล้วให้นำมือนั้นมาแตะบริเวณหัวใจเพื่อเป็นการให้เกียรติ ทั้งนี้ ชาวมุสลิมบรูไนที่เคร่งครัดบางคนจะไม่สัมผัสมือกับเพศตรงข้าม ดังนั้น ในการทักทายชาวมุสลิมบรูไนเพศตรงข้าม จึงควรรอให้ฝ่ายบรูไนยื่นมือมาก่อน
- ในการส่งของหรือรับของควรใช้มือขวาเท่านั้น แต่สามารถใช้มือซ้ายช่วยประคองได้
- เมื่อได้รับการเชื้อเชิญให้รับประทานอาหาร หากไม่รับประทานให้กล่าวขอบคุณและใช้มือสัมผัสที่ภาชนะอาหาร
- การแต่งกายในที่สาธารณะ สุภาพสตรีควรแต่งกายสุภาพ มิดชิด ไม่ควรใส่ชุดที่พอดีตัวจนเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการสังสรรค์ในหมู่สุภาพบุรุษจำนวนมาก
- การแต่งกายควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เนื่องจากเป็นสีของสถาบันพระมหากษัตริย์ของบรูไนฯ และควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าลายรูปสัตว์หรือการให้ของขวัญที่มีรูปสัตว์
- สีดำถือเป็นสีพิธีการของบรูไน หากจะเข้าร่วมพิธีใดที่เป็นทางการ สุภาพสตรีควรแต่งชุดสีดำที่มิดชิด หากเป็นไปได้ควรเป็นเสื้อแขนยาวและกระโปรงยาวคลุมข้อเท้า
- ในทุกวันศุกร์ ระหว่างเวลา 12.00-14.00 น. ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านค้าทุกแห่งจะปิดการให้บริการชั่วคราวตามกฎหมาย ควรวางแผนล่วงหน้าหากต้องรับประทานอาหารกลางวันนอกสถานที่
- ในช่วงเดือนรอมฎอน ชาวมุสลิมจะถือศีลอดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ห้ามดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด ผู้ที่มิใช่มุสลิมต้องดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารในสถานที่ส่วนบุคคลเท่านั้น ร้านอาหารจะไม่ให้บริการสำหรับการรับประทานในร้าน ต้องซื้อกลับมารับประทานในสถานที่ส่วนบุคคลเท่านั้น
- ห้ามบีบแตรรถยนต์ หากไม่ใช่กรณีสุดวิสัย เพราะชาวบรูไนถือว่า การบีบแตรเป็นการเสียมารยาทอย่างมาก
- หากมีขบวนเสด็จขับสวนทางหรือขับผ่าน และมีรถจักรยานยนต์ตำรวจนำโบกให้จอดรถ ต้องหยุดรถและจอดชิดข้างทางด้านซ้ายทันที รอให้ขบวนเสด็จผ่านไปแล้วจึงออกรถได้
- ตามธรรมเนียมปฎิบัติของผู้ขับขี่รถยนต์ในบรูไนฯ ผู้ขับขี่รถยนต์จะหยุดรถตรงทางม้าลายให้คนข้ามก่อนเสมอ
- ตามธรรมเนียมปฎิบัติของผู้ขับขี่รถยนต์ในบรูไนฯ การกระพริบไฟหน้ารถถือว่าเป็นการให้ทาง
ที่มา : https://bsb.thaiembassy.org/th/