ปากีสถาน
ระบุเมื่อ 20 ก.ย.64 มีผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 ลดลงน้อยกว่าวันละ 50 รายเป็นครั้งแรกในรอบ 1 เดือน โดยมีอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ร้อยละ 4.22 ลดลงจากสูงสุดที่อัตราร้อยละ 47 ของผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ รวมถึงมีผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลลดลง
ระบุเมื่อ 20 ก.ย.64 มีผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 ลดลงน้อยกว่าวันละ 50 รายเป็นครั้งแรกในรอบ 1 เดือน โดยมีอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ร้อยละ 4.22 ลดลงจากสูงสุดที่อัตราร้อยละ 47 ของผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ รวมถึงมีผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลลดลง
ระบุเมื่อ 20 ก.ย.64 อนุมัติยา Regdanvimab (CT-P59) ของ บ.Celltrion Group สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงและมีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดเรื้อรัง และโรคเบาหวาน
ระบุเมื่อ 19 ก.ย.64 จะซื้อวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จาก บ. Pfizer จำนวน 500 ล้านโดสเพื่อบริจาคให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ตามนโยบายช่วยเหลือประเทศที่มีรายได้ต่ำและเผชิญวิกฤตโรค COVID-19
ระบุเมื่อ 19 ก.ย.64 ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้ประชาชนแล้ว 804,372,331 ราย ระหว่าง 16 ม.ค.-19 ก.ย.64 โดยเป็นผู้ฉีดวัคซีนครบสองโดสแล้ว 203,325,881 ราย กลุ่มที่ฉีดวัคซีนมากที่สุด ได้แก่ 1) ประชาชนอายุระหว่าง 18-44 ปี 2) ประชาชนอายุระหว่าง 45-59 ปี และ 3) ประชาชนอายุมากกว่า 60 ปี ตามลำดับ
ระบุเมื่อ 19 ก.ย.64 นครหลวงเวียงจันทน์ดำเนินมาตรการ Lockdown ระหว่าง 19-30 ก.ย. 64 เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 รายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 247 ราย
ระบุเมื่อ 18 ก.ย.64 ประธานสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ประจำเมียนมา เรียกร้องประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้กับเมียนมา เนื่องจากยังมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูง ระบบสาธารณสุขของเมียนมาใกล้ถึงขีดจำกัด และยังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมและการสู้รบทั่วประเทศที่รุนแรงขึ้น
ระบุเมื่อ 18 ก.ย.64 ว่า โรงเรียนประถมในสิงคโปร์จะเปลี่ยนไปสอนทางออนไลน์ และให้เด็ก ๆ เรียนจากที่บ้านเป็นเวลา 10 วันก่อนการสอบครั้งสำคัญทั่วประเทศ หลังจากที่มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 รายใหม่ 935 รายเมื่อ 17 ก.ย.64 สูงสุดนับตั้งแต่ เม.ย.63
ระบุเมื่อ 18 ก.ย.64 ขอความร่วมมือประชาชนในเมืองเซียะเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน ให้งดออกจากบ้านหากไม่จำเป็น และสั่งปิดสถานที่เพื่อการนันทนาการทุกประเภทชั่วคราว รวมถึงเลื่อนการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ตลอดจนไม่อนุญาตให้รับประทานอาหารภายในร้าน และเดินทางข้ามเขต หลังจากพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมามีการประชุมองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization: SCO) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศในเอเชียกลาง 5 ประเทศ (คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน) รัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน และจีน ซึ่งเป็นการประชุมแบบ Hybrid ผ่านการหารือห้องประชุม ที่เมืองดูซานเบ ของทาจิกิสถาน ควบคู่กับการหารือผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ แน่นอนว่าประเด็นสำคัญของการพูดคุยกันรอบนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง “อัฟกานิสถาน” ซึ่งถือเป็นเหตุผลหนึ่งของการก่อตั้งองค์การนี้ด้วย สำคัญกว่านั้นคือปีนี้ อิหร่านจะเข้ามาเป็นสมาชิกถาวรขององค์การความร่วมมือนี้ ซึ่งสมัครตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยที่จีนเป็นผู้ที่สนับสนุนอิหร่านให้เข้ามาเป็นสมาชิกถาวร ลักษณะเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าจีนกำลังขยายบทบาทของตัวเองเข้าไปในภูมิภาคเอเชียตะวันตกมากยิ่งขึ้น ผ่านทางอิหร่าน หลังก่อนหน้านี้ทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามความร่วมทางเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างกัน ยิ่งไปกว่านั้น กาตาร์ อียิปต์ และซาอุดีอาระเบีย จะเข้ามาเป็นผู้สังเกตุการณ์ใน SCO อย่างเป็นทางการในปีนี้ ตอกย้ำให้ชัดมากขึ้นว่า SCO กำลังขยายความสนใจไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันตกมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ในขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันตก และยูเรเซียเข้าหากัน…
“Mutti Merkel” หรือคุณแม่แมร์เคล ฉายาของ นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีวัย 67 ปี สังกัดพรรค Christian Democratic Union ที่กำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศใน 26 กันยายน 2564 ปัจจุบัน สื่อต่างประเทศจับตาบทบาทของนางแมร์เคล เพราะการลงจากตำแหน่งครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเปลี่ยนผู้นำของเยอรมนีในรอบ 16 ปี แล้วยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นในห้วงที่เยอรมนีและสหภาพยุโรป (European Union-EU) เผชิญความท้าทายด้านความมั่นคงหลากหลาย ทั้งความท้าทายรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการขยายอิทธิพลของรัสเซียที่แข็งกร้าวและมีแนวโน้มจะใช้ hybrid warfare การดำเนินนโยบายที่ไม่แน่ไม่นอนของสหรัฐฯ ปัญหาเอกภาพของ EU ความเคลื่อนไหวของกลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่ง คลื่นผู้อพยพและผู้ลี้ภัย การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และวิกฤตโลกร้อนที่กลายเป็น Global Agenda และบังคับให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องปรับตัว บทบาทของนางแมร์เคลที่ผ่านมามีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศเยอรมนี และความร่วมมือในกรอบ EU แม้เดิมที เยอรมนีจะมีจุดแข็งด้านภูมิศาสตร์อยู่ตรงกลางยุโรปที่เอื้อต่อการเป็นมหาอำนาจอยู่แล้ว แต่เยอรมนีก็ค่อนข้างระมัดระวังการแสดงพลังอำนาจเพราะเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เยอรมนีมี “culture of restraint”…