นิวซีแลนด์
ระบุเมื่อ 20 ก.พ.65 ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ 2,522 ราย สูงที่สุดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ระบุเมื่อ 20 ก.พ.65 ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ 2,522 ราย สูงที่สุดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ระบุเมื่อ 19 ก.พ.65 ทบ.ใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) จัดส่งวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มกระตุ้นให้กำลังพลแนวหน้าในพื้นที่ทุรกันดารและมีหิมะตกในดินแดนสหภาพจัมมูและแคชเมียร์
ระบุเมื่อ 19 ก.พ.65 กำลังแก้ไขกฎหมายเพื่อยกเลิกมาตรการควบคุมโรค COVID-19 อาทิ จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการสถานที่ และให้ผู้ใช้บริการแสดงเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 หรือเอกสารรับรองการหายจากโรค COVID-19
ระบุเมื่อ 19 ก.พ.65 จะประกาศแผนอยู่ร่วมกับ COVID-19 ฉบับใหม่ ภายใน 1 สัปดาห์
เล่าเรื่องนี้ ได้อีกหลายครั้งแน่ ๆ เพราะข่าวสารที่เข้ามา ดูเหมือนจะวนกลับไปในจุดเดิมว่า “รัสเซียจะบุกยูเครน” ก็สหรัฐอเมริกาโดยคุณลุงโจ หรือประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ยืนกรานด้วยตนเองเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 อีกครั้งว่า ภายในไม่กี่วันนี้ รัสเซียจะบุกยูเครนแน่ ๆ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาที่ตอนแรกจะไปยุโรปก็ต้องไปชี้แจงกับคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ (United Nations Security Council – UNSC) ก็บอกเช่นนี้ แล้วหลักฐานล่ะ… มีไหม? สหรัฐอเมริกาบอกว่ามี…. ภาพถ่ายดาวเทียมเช่นเคย แถมบอกว่า นอกจากรัสเซียจะไม่ได้ถอนทหารออกจากบริเวณชายแดนเบลารุส ที่นำไปฝึกซ้อมร่วมแล้ว กลับยิ่งเพิ่มจำนวน ยิ่งกว่านั้น เบลารุสบอกว่ารัสเซียไม่ต้องนำทหารและยุทโปกรณ์กลับนะ เอาไว้ที่นี่ก็ได้ หากเสร็จการซ้อมรบในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 เหนื่อยนะ…. จากการตามข้อมูลข่าวสาร ตามที่เคยเล่าไว้ในตอนที่แล้วว่า แยกไม่ค่อยออกว่าข่าวไหนเป็นปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation-IO) ของฝ่ายไหน แต่ที่เข้มข้นกว่านั้น คือ การตอบโต้ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียอยู่ในระดับที่สูสีกัน โดยสหรัฐอเมริกาบอกว่า เดี๋ยวจะขับนักการทูตรัสเซียออกจากสหรัฐอเมริกา หลังจากที่รัสเซียขับนักการทูตเบอร์ 2 ออกจากมอสโก…
หุ้น ATVI ของ Activision Blizzard กลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันอย่างมากอีกครั้ง หลังข่าวการเข้าลงทุนของ Warren Buffet และบริษัท Microsoft ในมูลค่ากว่า 70,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ราคาสามารถพุ่งขึ้นมามากกว่า 30% จากจุดต่ำสุดของปี 2564 เมื่อช่วงธันวาคม บริเวณราคา $57 มาปิดเหนือ $80 ได้ในช่วงต้นมกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นจังหวะการกลับตัวออกจากตลาดขาลงระยะสั้นที่ค่อนข้างเร็ว (V-shaped recovery) แต่ไม่สามารถผ่านแนวต้านที่บริเวณ $86 ซึ่งเป็นแนวต้านตามแนวอัตราส่วน 61.8% Fibonacci ที่คำนวณจากระยะราคา $103 ถึง $57 ได้ หุ้น ATVI จึงปรับตัวย่อลงมาที่โซน $75-$82 เพื่อสร้างฐานราคาบริเวณแนวรับอัตราส่วน 50% Fibonacci ก่อน โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ขึ้นไปทดสอบแนวต้าน $86 อีกครั้งภายในช่วงกลางมีนาคม ก่อนจบไตรมาสแรกของปี ภาพรวมของหุ้น ATVI ปัจจุบันถือได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหุ้น…
ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) เผยให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง เมื่อนักลงทุนในต่างประเทศแสดงความตระหนักถึงอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นไปถึง 7.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี จนคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) วางแผนที่จะเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในการประชุมเดือนมีนาคม 2565 ทำให้เงินทุนปริมาณมหาศาลเริ่มไหลออกจากตลาดสหรัฐฯ และทยอยเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแทน โดยเฉพาะหุ้นไทย ซึ่งมีสัญญาณฟื้นตัวในกลุ่มหุ้นคุณค่า (value stock) เช่น อุตสาหกรรมธนาคาร และพลังงาน ที่เผยออกมาให้เห็นบ้างแล้ว ดัชนี SET Index จึงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายมกราคม-กลางกุมภาพันธ์ จากอานิสงค์ด้านเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติกว่า 20,000,000,000 บาท เข้ามาช่วยผลักดันมูลค่า โดยคาดหวังจะใช้ตลาดหุ้นไทยเป็นเครื่องมือป้องกันผลกระทบจากเงินเฟ้อที่กำลังขยายตัวในระยะนี้ ดัชนี SET Index จึงสามารถทะลุแนวต้านตามเส้นสีแดง (ภาพที่ 1) ขึ้นมาปิดเหนือ 1,680 จุด พร้อมการย่อเพื่อยืนยันการสร้างฐานราคาที่บริเวณดังกล่าวได้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี หากกล่าวในมิติการวิเคราะห์เทคนิคัล ลักษณะการเคลื่อนที่ของกราฟ SET Index ในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นว่าตลาดหุ้นไทยได้หลุดออกจากกรอบสามเหลี่ยมสัญญาณกลับตัวขาลง (rising wedge) มาได้แล้วเมื่อช่วงปลายปี 2021 และยังสามารถพยุงราคาและแรงซื้อให้อยู่ในช่วงขาขึ้นต่อไปได้…
สถานการณ์ความตึงเครียดในยุโรปจากกรณีรัสเซีย-ยูเครนมีแนวโน้มจะยืดเยื้อไปจนถึงปลายกุมภาพันธ์ 2565 เนื่องจากการเจรจาการทูตทั้งในกรอบทวิภาคี (bilateral) และพหุภาคี (multilateral) ยังไม่บรรลุผลเป็นข้อตกลงหรือทางออกจากปัญหาดังกล่าว ที่หลายฝ่ายวิตกว่ารัสเซียจะใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อยูเครน เหมือนเมื่อปี 2557 ที่เสมือนเป็น “ภาพจำ” ที่ทำให้การเคลื่อนไหวทางการทหารของรัสเซียน่าหวาดระแวงสำหรับประเทศตะวันตกหลายประเทศ หนึ่งในกลุ่มประเทศที่ติดตามสถานการณ์ในยูเครนอย่างใกล้ชิด คือ กลุ่ม “Transatlantic Quad” ซึ่งรวมกัน 4 ประเทศ คือ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ที่เพิ่งจัดการหารือ 4 ฝ่ายพร้อมกันในประเด็นยูเครนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565 โดยผู้เข้าร่วมเป็นระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สำหรับผลการหารือดังกล่าวก็เป็นการย้ำว่า สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักร จะร่วมมือกันตอบโต้รัสเซียหากใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน และจะร่วมกันปกป้องอธิปไตยของยูเครน รวมทั้งความมั่นคงของยุโรป การประชุมของกลุ่ม Transatlantic Quad นี้มีขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่มีสถานการณ์ยูเครน ส่วนการหารือครั้งแรกจัดไปแล้วเมื่อ 20 มกราคม 2565 ที่เยอรมนี เน้นประเด็นใช้การทูตเป็นช่องทางหารือและป้องกันไม่ให้รัสเซียแสดงพฤติกรรมแข็งกร้าวต่อยูเครน กับเตรียมใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ความร่วมมือและท่าทีของกลุ่ม…
ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครน เราได้เห็นความพยายามของผู้นำในยุโรปที่แสดงบทบาทเป็น “ตัวกลาง” ในการไกล่เกลี่ยปัญหา เพราะฝ่ายที่ดูเหมือนว่าพูดคุยด้วยยาก เนื่องจากเก็บงำความรู้สึกนึกคิดในเรื่องนี้ได้ดีเหลือเกิน ก็คือ “ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน” ของรัสเซีย ที่นอกจากจะย้ำซ้ำ ๆ ว่าไม่มีแผนการจะบุกรุกยูเครน และยืนยันความต้องการให้เนโตยืนยันว่าจะไม่รับยูเครนเป็นสมาชิกใหม่แล้ว ประธานาธิบดีปูตินก็ยังมีท่าทีที่สงบเยือกเย็น จึงทำให้ผู้นำประเทศอื่น ๆ ต้องเข้าหาเพื่อทำความเข้าใจและหาข้อตกลงร่วมกันให้ได้ กรณีที่เป็นข่าวใหญ่เมื่อต้นกุมภาพันธ์ 2565 คือ ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศสเดินทางไปหารือแบบตัวต่อตัวกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินที่มอสโกเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565 จนได้ผลลัพธ์ออกมาบอกกับประชาคมระหว่างประเทศว่า “ประธานาธิบดีปูตินให้คำมั่นว่าจะไม่คงกำลังทหารไว้ใกล้ยูเครน และจะถอนทหารออกจากเบลารุสทันทีที่เสร็จสิ้นการฝึกร่วม” นั้น ทำให้สื่อต่างประเทศมองว่า ประธานาธิบดีมาครงอาจกลายเป็นผู้ดำเนินบทบาท “Putin whisperer” หรือผู้ที่จะพูดคุยกับประธานาธิบดีรัสเซียได้อย่างราบรื่น แทนนางแองเคลา เมเคิล ที่ยุติบทบาทในฐานะผู้นำเยอรมนีไปเมื่อปลายปี 2564 อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าฝ่ายรัสเซียจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ประธานาธิบดีมาครงประกาศ โดยโฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียออกมาปฏิเสธแทบจะทันทีว่า ประธานาธิบดีปูตินไม่ได้ให้คำมั่นว่าจะไม่คงกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ไว้ใกล้ยูเครน และไม่ได้ให้สัญญาว่าจะถอนทหารออกจากเบลารุสด้วย บทบาทของประธานาธิบดีมาครงทำให้เราสนใจขึ้นมาว่า นอกจากฝรั่งเศส และเยอรมนี 2 มหาอำนาจในยุโรปแล้ว จะพอมีผู้นำคนไหนในยุโรปที่พูดคุยและหารือกับประธานาธิบดีปูตินได้อีกบ้าง? ในที่สุด…เราก็พบว่า หนึ่งในผู้นำที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำรัสเซีย จนได้รับฉายาว่า…
ระบุเมื่อ 18 ก.พ.65 ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้ประชาชนครบโดสแล้วมากกว่าร้อยละ 80 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งประเทศ