The Intelligence Weekly Review (23/10/2022)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
สงครามที่ทำให้โลกขาดแคลนแป้งสาลีและการส่งออกน้ำมัน ซ้ำยังเผชิญการชะงักงันของแหล่งผลิตจากนโยบาย zero covid ของจีน เศรษฐกิจทั่วโลกที่ฝืดเคือง ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในระดับโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบในการทำอาหาร เพราะไม่สามารถเพาะปลูกได้เนื่องจากสภาพอากาศหรือแรงงานก็ตาม ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนเริ่มลดการบริโภคอาหาร อดมื้อกินมื้อ เนื่องจากราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะสงครามและภาวะเศรษฐกิจที่กำลังมุ่งเข้าสู่ความถดถอยและเงินเฟ้อที่ทำให้ข้าวของแพงขึ้น ตลอดจนการขาดแคลนวัตถุดิบที่เกิดจากการกีดกันทางการค้าเพื่อกดดันรัสเซียของกลุ่มประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดความกังวลต่อการดำรงชีวิตของประขาชน จนหลายครอบครัวเริ่มที่จะรัดเข็มขัด ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงลดมื้ออาหารลงแล้วด้วย สำนักข่าวอังกฤษรายงานว่าชาวอังกฤษ 1 ใน 4 เริ่มลดอาหารหรืออดมื้อกินมื้อ ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เท่ากับปกติ จริงๆ แล้วการจำกัดการรับประทานอาหารอาจเป็นแนวทางที่ดีต่อสุขภาพก็เป็นได้ !! ที่ผ่านมา ผู้ที่รับประทานอาหาร 1-2 มื้อต่อวันในปัจจุบันส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มที่ลดน้ำหนักหรือกลุ่มที่ต้องการดูแลสุขภาพ ทั้งการทำแบบชั่วคราวระยะสั้นๆ เพื่อให้ถึงเป้าหมายน้ำหนักที่พวกเขาต้องการหรือทำระยะยาวตลอดชีวิต เนื่องจากเห็นผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการควบคุมเวลาในรับประทานอาหารที่รู้จักกันในชื่อการทำ “อีฟ” (Intermittent Fasting – IF) เป็นการจำกัดเวลาในการรับประทานอาหารและอดอาหารตามจำนวนชั่วโมง IF มีหลายรูปแบบตั้งแต่ 12-12 4-20 8-16 เป็นต้น นั่นหมายถึงการบริโภคอาหารได้ภายในเวลา 8 ชั่วโมง (ครอบคลุมจำนวน 1-2 มื้อ) และอดอาหาร…
COVID-19 แพร่ระบาดไว โดยเฉพาะในยุคที่การคมนาคมรวดเร็ว เครื่องบินสามารถขนส่งผู้คนข้ามประเทศไปได้ทันใจ ทำให้การแพร่ระบาดผ่านทางละอองจากระบบทางเดินหายใจ จากคนสู่คนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนระบาดไปทั่วโลก สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาลและคร่าชีวิตผู้คนไปถึง 6.37 ล้านคนภายในเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการระบาด แต่หากมองกันในภาพกว้าง จะพบว่า ใน 1 ปี คนเสียชีวิตเพราะ “โรคมะเร็ง” มากเป็นอันดับที่ 1 ตามมาด้วย โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือด แต่ด้วยการเพิ่มอัตราการตายอย่างต่อเนื่องและการไม่แพร่ระบาดในอัตราที่รวดเร็วทำให้ดูเหมือนว่าการเสียชีวิตด้วยโรคเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ หากพิจารณาจากจำนวนการเสียชีวิต พบว่า ภายในปี 2563 สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 84,697 คน ในขณะที่มีผู้ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส โควิด -19 อยู่ที่ 60 ราย ซึ่งเหมือนกับว่า เรากำลังให้ความสำคัญกับการแรร่ระบาดของเชื้อโรคที่สังเกตุได้ในระยะสั้น มากกว่าโรคที่ค่อยๆ คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างมากมายในแต่ละปี โรคร้ายที่สังหารคนไปอย่างเงียบๆ นี้ ไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อ เพราะในเชิงการแพทย์ “โรคติดต่อ” คือการติดต่อโดยการส่งต่อเชื้อโรคจากคนสู่คน ทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นทางลมหายใจ เพศสัมพันธ์ การสัมผัส เป็นต้น ดังนั้น มะเร็ง เบาหวาน…
เนโตกำลังเร่งเรียกร้องให้สหรัฐฯ อนุมัติการติดตั้งระบบป้องกันและสกัดกั้นขีปนาวุธที่โจมตีทางอากาศอย่างระบบ Iron Dome ในยูเครน เพื่อยกระดับความสามารถของยูเครนในการต่อสู้กับรัสเซีย ที่ปัจจุบันกำลังแข็งกร้าวขึ้นอย่างมาก โดยมีรายงานว่ารัสเซียใช้ขีปนาวุธและอากาศยานไร้คนขับโจมตีเมืองและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของยูเครนอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ทุกฝ่ายขยับ focus การให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนไปที่ “การปกป้องน่านฟ้า” และ “ป้องกันภัยคุกคามทางอากาศ” สถานการณ์ด้านความมั่นคงในยูเครนน่าห่วงกังวลมากขึ้น แม้ว่าเมื่อห้วงกันยายน 2565 จะมีรายงานว่ายูเครนเริ่มยึดคืนพื้นที่จากรัสเซียได้แล้ว แต่เมื่อ 10 -11 ตุลาคม 2565 มีรายงานว่า รัสเซียได้เพิ่มปฏิบัติการพิเศษทางการทหารต่อยูเครน เพื่อตอบโต้ที่ยูเครนโจมตีสะพานเชื่อมรัสเซีย-ไครเมีย รัสเซียจึงใช้การยิงขีปนาวุธระดมโจมตี ทั้งกรุงเคียฟที่เป็นเมืองหลวง และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น โรงไฟฟ้าและเส้นทางคมนาคม ถ้าถามว่าการโจมตีครั้งนี้รุนแรงแค่ไหน ก็ตอบได้ว่า…แรงพอที่จะทำให้จีนและอินเดียออกมาแสดงความห่วงกังวล ทั้ง ๆ ที่ 2 ประเทศระมัดระวังการวิจารณ์รัสเซียประเด็นนี้มาโดยตลอด ขณะที่กลุ่ม G7 ที่สมาชิกประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ก็จัดการประชุมในวาระฉุกเฉินทันที โดยให้ผู้นำยูเครนเข้าร่วมด้วย ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า กลุ่ม G7 จะเพิ่มมาตรการกดดันรัสเซียอีก และจะเพิ่มความช่วยเหลือแก่ยูเครนเหมือนที่ผ่าน…