The Intelligence Weekly Review (04/12/2022)
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
ประเด็นความมั่นคง (security) หรือสิ่งที่เรากำหนดให้เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความอยู่รอดของประชาชน รัฐบาล และอธิปไตยของชาติ ในบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ถูกประกอบสร้างขึ้น (construct) หรือกำหนดไว้เพื่อเป้าหมายทางการเมือง ผลประโยชน์แห่งชาติ และสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ดังนั้น ในสาขาวิชาความมั่นคงระหว่างประเทศ หรือ International Security จึงได้มีข้อสรุปหนึ่งว่า “ความมั่นคง” นั้นเป็นประเด็นที่เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย ตามสังคม หรือแม้กระทั่งตามผู้นำ และเพราะความมั่นคงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง และลื่นไหลได้นั้น ทำให้เราได้เห็นสิ่งที่นักวิชาการเรียกว่า ความมั่นคงรูปแบบเก่า รูปแบบใหม่ และหน้าตาของภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของความมั่นคงในต่างเวลา สถานที่ และมุมมองของผู้คนเช่นกัน ที่ผ่านมาเราจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงระหว่างประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงและลื่นไหลไปมาตามยุคสมัยและตามผู้ที่ถืออำนาจอยู่ เช่น หลังเหตุวินาศกรรม 9/11 การก่อการร้ายได้ขยับตัวไปเป็นประเด็นความมั่นคงระหว่างประเทศ และเป็นภัยคุกคามร่วมกันของประเทศตะวันตก นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ประเด็นสาธารณสุขขยับจากการเป็นประเด็นประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสาธารณะไปเป็นประเด็นความมั่นคงระหว่างประเทศ …นี่คือ ตัวอย่างง่าย ๆ ของกระบวนการ securitization หรือทำให้ประเด็นใดประเด็นหนึ่งกลายเป็นเรื่อง “ความมั่นคง” โดยผู้มีบทบาทสำคัญ คือ รัฐบาลหรือผู้ครองอำนาจในการประกาศว่าเรื่องใดจะเป็นเรื่องความมั่นคงของสังคมนั้น ๆ ซึ่งการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องไหนขึ้นมา ในความรู้สึกของประชาชนมันก็ดูจะเป็นเรื่องจริงจัง สมควรได้รับความสนใจ ความร่วมมือ และจัดสรรงบประมาณไปเพื่อดำเนินการให้รัฐสามารถดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงเหล่านั้นได้…
“ความเหลื่อมล้ำ” ไม่ได้เป็นเฉพาะปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ หากแต่เป็น “ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง” ที่เกิดจากกลไก โครงสร้าง กฎระเบียบ กฎหมาย ที่มีส่วนเอื้อให้เกิด “ความเหลื่อมล้ำ” ขึ้น นอกจากนี้ ความเหลื่อมล้ำยังเป็นชนวนแปรสภาพจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Structural Violence) ไปสู่ความรุนแรงเชิงกายภาพ (Physical Violence)
เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ไต้หวันมีการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ แม้ว่าเป็นแค่การเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ตำแหน่งที่อยู่ในแสงไฟอย่างผู้ว่ากรุงไทเปเป็นที่จับตามองมาก เพราะประธานาธิบดีส่วนใหญ่ของไต้หวันล้วนเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการกรุงไทเปมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นนายเฉิน สุยเปียน (Chen Shui-bien) นายหม่า อิงจิ่ว (Ma Ying-Jeou) ยกเว้นแค่ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวินคนปัจจุบันที่เคยแพ้การเลือกตั้งผู้ว่าการกรุงไทเป ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายเจี่ยง ว่านอัน (Chiang Wan-an) อายุ 43 ปี จากพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้รับ ชัยชนะ และก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าราชการกรุงไทเปที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ นายเจี่ยง ว่านอัน แม้ว่าจะเป็นนักการเมืองที่อายุน้อย แต่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภามาแล้ว 2 สมัย และสิ่งที่น่าสนใจคือการเป็นเหลนชายของจอมพลเจี่ยง ไคเชก ผู้อพยพรัฐบาลสาธารณรัฐจีนมายังเกาะไต้หวันเมื่อปี 2492 นายว่านอันเป็นบุตรชายของเจี่ยง เสี้ยวหยาน (Chiang Hsiao-yen) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นบุตรชายที่เกิดจากภรรยาลับของอดีตประธานาธิบดีเจี่ยง จิงกว๋อ (Chiang Ching-kuo) บุตรชายคนเดียวของจอมพลเจี่ยง ไคเชก การกลับมาอีกครั้งของทายาทตระกูลเจี่ยงจึงเป็นที่จับตามองเป็นพิเศษในฐานะตระกูลการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดของไต้หวัน สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ยังคงเป็นการแบ่งขั้วระหว่างค่ายสีเขียวพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าหรือ DDP(Democratic Progressive…