ราชอาณาจักรภูฏาน
Kingdom of Bhutan
เมืองหลวง ทิมพู
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ อยู่ระหว่างจีนและอินเดีย บริเวณเส้นละติจูดที่ 27 องศา 30 ลิปดาเหนือ เส้นลองจิจูดที่ 90 องศา 30 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ 38,394 ตร.กม.
อาณาเขต ความยาวของเส้นพรมแดนทั้งหมด 1,136 กม.
ทิศเหนือ ติดกับจีนแนวชายแดนยาว (477 กม.)
ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ ติดกับอินเดียแนวพรมแดนยาว (659 กม.)
ภูมิประเทศ ภูฏานไม่มีทางออกสู่ทะเล เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีที่ราบและทุ่งหญ้าระหว่างหุบเขา มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากยอดเขาหิมาลัยตัดผ่านประเทศจากเหนือลงใต้ นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ภาคกลางและภาคใต้ จึงส่งผลให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาตอนกลางของประเทศ (ระดับความสูง 1,100-2,600 ม.) และบริเวณตอนใต้ (ระดับความสูง 300-1,600 ม.) โดยมีเทือกเขาสูงชันจากเหนือไปใต้ที่ลดหลั่นลงมาจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นกำแพงกั้นระหว่างหุบเขาตอนกลางต่าง ๆ ที่ตัดขาดชุมชนออกจากกัน ทิ้งให้หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยวและการไปมาหาสู่ระหว่างกันค่อนข้างลำบาก ภูมิประเทศของภูฏานสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ เทือกเขาสูงตอนเหนือที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ที่ลาดเชิงเขาในตอนกลางของประเทศ และที่ราบทางตอนใต้ของประเทศมีแม่น้ำพรหมบุตรไหลผ่าน
วันชาติ 17 ธ.ค. (วันคล้ายวันสถาปนาสมเด็จพระราชาธิบดีอูเกน วังชุกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของภูฏาน)
นายโลเตย์ เชอริง
Lotay Tshering
(นรม.ภูฏาน)
ประชากร 876,181 (ต.ค.2566) ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่ 1) ชาชอฟ (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออก 2) นาล็อบ (Ngalops) เชื้อสายทิเบต อาศัยอยู่ทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศ และ 3) โชซัม (Lhotshams) เชื้อสายเนปาลอาศัยอยู่ทางใต้ ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลภูฏานพยายามผลักดันให้กลับไปสู่ถิ่นฐานเดิมในเนปาล อัตราส่วนประชากรจำแนกตามอายุ วัยเด็ก (0-14 ปี) 23.49% วัยรุ่นถึงวัยกลางคน (15-64 ปี) 69.97% และวัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 6.54% อายุขัยเฉลี่ยของประชากร 73.01 ปี เพศชาย 71.84 ปี เพศหญิง 74.25 ปี อัตราการเกิด 16 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 6 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการเพิ่มของประชากร 0.96% และประชากร 44.4% อาศัยอยู่ในเขตเมือง
ศาสนา พุทธมหายาน นิกายกายุบปา (Kagyupa) 74.8% (มีศาสดาเช่นเดียวกับพุทธมหายานของทิเบต) ฮินดู 22.6% ศาสนาเพินและความเชื่อดั้งเดิม 1.9% และอื่น ๆ (ศาสนาคริสต์และอิสลาม) 0.7%
ภาษา ภาษาซองกา (Dzongkha) เป็นภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในสถาบันการศึกษาและการติดต่อธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ภาษาชาฮอป (Sharchhopka) ภาษา Lhotshamkha ภาษาเนปาลี และภาษาทิเบต
การศึกษา อัตราการรู้หนังสือ 70.9% แบ่งเป็นชาย 77.9% และหญิง 62.8% เด็กอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้ งบประมาณด้านการศึกษา 16.24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product-GDP) ปี 2564
การก่อตั้งประเทศ เมื่อศตวรรษที่ 17 นักบวชซับดรุง นาวัง นำเกล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่น และก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น โดยริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์เป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อ 17 ธ.ค.2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และลงมติเลือกให้ Ugyen Wangchuck ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตรองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองตรองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเคร่งศาสนา มีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyal Wangchuck) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ 14 ธ.ค.2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นครั้งแรกเมื่อ 24 มี.ค.2551 มีพรรคการเมืองสองพรรค
การเมือง ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หลังจากมีการเปลี่ยนแปลง
การปกครองเมื่อปี 2548 ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกเมื่อ 24 มี.ค.2551 มี นรม.เป็นผู้บริหารประเทศ โดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่าซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วย สมาชิก 161 คน โดยสมาชิก 106 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และสมาชิก ที่เหลือ 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ฝ่ายบริหาร : นับตั้งแต่ปี 2541 ตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลหรือ นรม. (Head of Government) คือ ประธานคณะมนตรี (Chairman of the Council of Ministers) ซึ่งคัดเลือกจากสมาชิกคณะมนตรี (เทียบเท่า ครม.) ซึ่งมีจำนวน 10 คน และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ลำดับ 1-5 หมุนเวียนกันดำรงตำแหน่ง นรม./ประธานสภาคณะมนตรีคราวละ 1 ปี
ฝ่ายนิติบัญญัติ/รัฐสภา : ใช้ระบบ 2 สภา ประกอบด้วย 1) สภาแห่งชาติ (National Council) เป็นสมาชิกไม่สังกัดพรรคใด (Non-Partisan National Council) จำนวน 25 ที่นั่ง โดย 20 ที่นั่ง
มาจากการเลือกตั้งใน 20 เขตเลือกตั้ง (Dzongkhags) วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และพระมหากษัตริย์
เสนอชื่อสมาชิกอีก 5 คน และ 2) รัฐสภา (National Assembly) มีสมาชิกจำนวน 47 คน มาจากการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
ฝ่ายตุลาการ : ศาลสูงสุด คือ ศาลฎีกา (Supreme Court of Appeal) พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้พิพากษา
พรรคการเมืองสำคัญ : พรรค Bhutan Peace and Prosperity Party (หรือ Druk Phuensum Tshongpa-DPT) นำโดยนายจิกมี ทินเลย์ และพรรค People’s Democratic Party (PDP) นำโดยนายเชริง ท็อปเกย์ พรรค United Party of Bhutan (หรือ Druk Nyamrup Tshogpa-DNT) นำโดยนายโลเตย์ เชอริง พรรค Bhutan Peace and Prosperity Party (หรือ Druk Phuensum Tshogpa-DPT) นำโดยนายดอร์จี วังดี พรรค People’s Democratic Party (PDP) นำโดยนายเชอริง ท็อปเกย์
เศรษฐกิจ นับตั้งแต่สมัยอดีตสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ภูฏานเริ่มดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยการเปิดประเทศ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน รัฐบาลภูฏานอยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงทุน เพื่อให้มีความชัดเจนแก่นักธุรกิจต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในภูฏาน ขณะเดียวกัน ภูฏานไม่ต้องการการลงทุนจากต่างชาติมากเกินไป เนื่องจากยังคงต้องการพัฒนาประเทศแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของประเทศ ต่อมาสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงสานต่อนโยบายดังกล่าวของพระราชบิดา โดยเน้นการเพิ่มปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศและการท่องเที่ยว
ภูฏานมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่พยายามส่งเสริมการส่งออก และพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักการพึ่งตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายความสุขมวลรวม โดยขณะนี้ภูฏานอยู่ระหว่างการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือจากตะวันตก อินเดีย และญี่ปุ่น รายได้สำคัญของภูฏานมาจากการส่งออกกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (ให้แก่อินเดีย) และการท่องเที่ยว ปัจจุบัน ภูฏานมีโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้า พลังน้ำอีก 12 แห่ง ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารวมกันได้เป็นปริมาณอย่างน้อย 10,000 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2563
ปีงบประมาณ 1 ก.ค.-30 มิ.ย.
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : งุลตรัมภูฏาน (Bhutanese Ngultrum/BTN)
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 82.53 งุลตรัมภูฏาน
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 บาท : 2.29 งุลตรัมภูฏาน (ต.ค. 2566)
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 2,958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 4.3%
ดุลบัญชีเดินสะพัด : ขาดดุล 789,000 ดอลลาร์สหรัฐ
รายได้เฉลี่ยต่อหัว : 3,497.23 ดอลลาร์สหรัฐ
แรงงาน : ประมาณ 280,000 คน (ต.ค.2566)
อัตราการว่างงาน : 3.6%
อัตราเงินเฟ้อ : 6.56%
ดุลการค้าระหว่างประเทศ : ขาดดุล 228.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มี.ค.2566)
มูลค่าการส่งออก : 19.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน
สินค้าส่งออก : ไฟฟ้าพลังงานน้ำ (ส่งออกไปยังอินเดีย) โลหะผสม เหล็ก ซีเมนต์ กระวาน แคลเซียมคาไบด์ ลวดทองแดง แร่แมงกานีส ยิปซัม และผลผลิตทางการเกษตร
คู่ค้าสำคัญ : อินเดีย ฮ่องกง บังกลาเทศ ญี่ปุ่น เนปาล และสิงคโปร์
มูลค่าการนำเข้า : 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ต.ค.2566)
สินค้านำเข้า : น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ เครื่องบิน เครื่องจักรและส่วนประกอบ ข้าว และยานยนต์
คู่ค้าสำคัญ : อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน และเนปาล
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ : ไม้ซุง พลังงานจากน้ำ ยิปซัม แคลเซียมคาร์บอเนต
สินค้าเกษตรที่สำคัญ : ข้าว ข้าวโพด พืชเศรษฐกิจประเภทหัว พืชในสกุลส้ม พริก ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ เครื่องเทศ
อุตสาหกรรมที่สำคัญ : ซีเมนต์ ไม้แปรรูป ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แคลเซียมคาร์ไบด์ และ
การท่องเที่ยว
การทหาร กองทัพภูฏาน (Royal Bhutan Army) ประกอบด้วย ทบ. ทหารราชองครักษ์ (Royal Bodyguards) และตำรวจ (Royal Bhutan Police) ภูฏานไม่มี ทร. เนื่องจากไม่มีพื้นที่ติดทะเล ส่วนกองกำลังทางอากาศมีขนาดเล็ก และผนวกอยู่ใน ทบ. มีอินเดียให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมอาวุธยุทโธปกรณ์และการป้องกันทางอากาศของน่านฟ้าภูฏาน งบประมาณด้านการทหาร 28,908,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2566)
ปัญหาด้านความมั่นคง
1) ปัญหาผู้อพยพชาว Lhotshampas ในเนปาล ประมาณ 105,000 คน อาศัยอยู่ตามชายแดนเนปาลและภูฏานในค่ายผู้อพยพจำนวน 7 แห่ง โดยภูฏานยังไม่ยอมรับผู้อพยพทั้งหมดกลับ โดยอ้างว่า ไม่มีอัตลักษณ์ของชาวภูฏาน
2) ภูฏานและจีนยังคงมีความขัดแย้งในการกำหนดเส้นเขตแดน เนื่องจากขาดหลักเขตแดนและสนธิสัญญาแบ่งเขตดินแดนที่ชัดเจน
3) ภูฏานประเมินว่า ต้องเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นพิเศษ หลังจากพบว่า มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ
ความสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับภูฏานเมื่อ 14 พ.ย.2532 โดยดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะประเทศผู้ให้กับมิตรประเทศ ภูฏานให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศด้วยดีเสมอมา และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับพระราชวงศ์และระดับประชาชน ที่มีความเชื่อมโยงทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ปัจจุบัน สอท.ไทยประจำธากา (บังกลาเทศ) มีเขตอาณาครอบคลุมภูฏาน ซึ่งมีกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำทิมพู คือ นายดาโชอูเกน เชชัปดอร์จี (DashoUgen Tshechup Dorji) ได้รับสัญญาบัตรตราตั้ง เมื่อ 10 ก.พ.2546 นอกจากนี้ ไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางของสมาชิกราชวงศ์และชาวภูฏานที่มีฐานะดีในการเดินทางมาศึกษาและรับการรักษาพยาบาล โดยปัจจุบันมีนักศึกษาชาวภูฏานเข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในไทยเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการศึกษาในประเทศตะวันตก และมีทุนการศึกษา ที่ไทยให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก
ความสัมพันธ์ในเชิงการค้ายังมีไม่มากนัก เนื่องจากยังไม่มีความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
การลงทุน และความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างกัน อย่างไรก็ดี ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ระหว่างไทยและภูฏานครั้งที่ 3 เมื่อ ก.ย.2562 ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้ามูลค่าการค้าสองฝ่ายเติบโตจาก 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน เป็น 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2564
ภูฏานเป็นคู่ค้าในตลาดเอเชียใต้อันดับที่ 7 ของไทยในเอเชียใต้ โดยเมื่อปี 2561 การค้าระหว่างไทยกับภูฏานมีมูลค่า 39.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับภูฏาน มีมูลค่า 28.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังภูฏาน ได้แก่ ผ้าผืน สิ่งทออื่น ๆ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากภูฏาน ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ
ข้อตกลงสำคัญ : บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาด้านสุขอนามัย (ต.ค.2530) ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ (มิ.ย.2536) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (เม.ย.2545) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ก.ค. 2547) ความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกด้าน (ก.ค.2547) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม (มิ.ย.2548) พิธีสารเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกด้านเพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของถนน (ม.ค.2551) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูฏาน (พ.ย.2556)
ความสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับภูฏานเมื่อ 14 พ.ย.2532 โดยดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะประเทศผู้ให้กับมิตรประเทศ ภูฏานให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศด้วยดี
เสมอมา และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับพระราชวงศ์และระดับประชาชนที่มีความเชื่อมโยงทาง
พุทธศาสนาและวัฒนธรรม ปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต (สอท.) ไทย ณ กรุงธากา (บังกลาเทศ) มีเขตอาณาครอบคลุมภูฏาน ซึ่งมีกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำทิมพู คือ นายดาโชอูเกน เชชัป ดอร์จี (DashoUgen Tshechup Dorji) ได้รับสัญญาบัตรตราตั้ง ตั้งแต่ 10 ก.พ.2546 นอกจากนี้ ไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางของสมาชิกราชวงศ์และชาวภูฏานที่มีฐานะดีในการเดินทางมาศึกษาและรับการรักษาพยาบาล ปัจจุบัน มีนักศึกษาชาวภูฏานเข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในไทยเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการศึกษาในประเทศตะวันตก และมีทุนการศึกษาที่ไทยให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก
ความสัมพันธ์ในเชิงการค้ายังมีไม่มากนัก เนื่องจากยังไม่มีความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างกัน มูลค่าการค้าไทย-ภูฏาน ห้วง ม.ค.-ส.ค.2566 รวม 16.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 16.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 300,0000 ดอลลาร์สหรัฐ สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังภูฏาน ได้แก่ ผ้าผืน สิ่งทออื่น ๆ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากภูฏาน ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ
ข้อตกลงสำคัญ : บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาด้านสุขอนามัย
(ต.ค.2530) ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ (มิ.ย.2536) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (เม.ย.2545) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ก.ค.2547) ความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกด้าน (ก.ค.2547) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม (มิ.ย.2548) พิธีสารเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของถนน (ม.ค.2551) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูฏาน (พ.ย.2556)