สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
Federative Republic of Brazil
เมืองหลวง บราซิเลีย
ที่ตั้ง ด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ พื้นที่ 8,515,770 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นแผ่นดิน 8,358 ล้าน ตร.กม. และเขตแดนทางน้ำ 157,630 ตร.กม. (มีขนาดใหญ่อันดับ 5 ของโลกและใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ขนาดใกล้เคียงกับสหรัฐฯ) ครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของชายฝั่งทะเล ตอ. ของทวีปอเมริกาใต้ ใช้เวลาตามเส้นแบ่งเวลา 4 ห้วงเวลา จาก UTC-2 ถึง UTC-5 เป็นประเทศเดียวในโลกที่มีทั้งเส้น equator และ Tropic of Capricorn ลากผ่าน มีชายฝั่งทะเลยาว 7,491 กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับเวเนซุเอลา (2,137 กม.) กายอานา (1,308 กม.) ซูรินาม (515 กม.) และเฟรนช์เกียนา (649 กม.)
ทิศตะวันตก ติดกับโบลิเวีย (3,403 กม.) และเปรู (2,659 กม.)
ทิศตะวันออก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้
ทิศใต้ ติดกับอุรุกวัย (1,050 กม.)
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับโคลอมเบีย (1,790 กม.)
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับอาร์เจนตินา (1,263 กม.) และปารากวัย (1,371 กม.)
ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของบราซิลเป็นเนินเขาและที่ราบสูง มีความสูงระหว่าง 200-800 ม. ที่ราบสูงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสลับกับเนินเขาภาคตะวันออกเฉียงใต้เป็นสันเขาสูงต่ำสลับกับภูเขาสูงที่มีความสูงถึง 1,200 ม. เช่น ภูเขา Mantiqueira, Espinhaço และ the Serra do Mar ขณะที่ภาคเหนือมีที่ราบสูง Guiana ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำที่ไหลไปยังลุ่มน้ำแอมะซอนทางใต้ และแม่น้ำ Orinoco ในเวเนซุเอลา จุดที่สูงที่สุดของบราซิล คือ Pico da Neblina (สูง 2,994 ม.) บราซิลมีแม่น้ำขนาดใหญ่ถึง 8 สายหลัก ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ แม่น้ำแอมะซอน (ยาวเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และมีปริมาณน้ำมากที่สุดในโลก) แม่น้ำ Paraná แม่น้ำ Iguaçu แม่น้ำ Negro แม่น้ำ São Francisco แม่น้ำ Xingu แม่น้ำ Madeira และแม่น้ำ Tapajós
ภาคเหนือ มีพื้นที่ 42% ของประเทศเป็นเขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ที่สุดในโลกมีปริมาณน้ำจืด 1 ใน 5 ของโลกและเป็นเขตป่าฝนใหญ่ที่สุดของโลก ภาคตะวันตก ตอนกลางเป็น ที่ราบสูงเฉลี่ย 1,000 ม. จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ 22% ของประเทศต่อจากเขตแอมะซอนไปทางใต้เป็นเขตป่าไม้ชุกชุมเป็นพื้นที่เพาะปลูกและทำปศุสัตว์ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่เพียง 11% ของประเทศแต่เป็นที่ตั้ง 3 เมืองใหญ่ที่สุดของบราซิล คือ รีโอเดจาเนโร เซาเปาลูและเบโลโอรีซอนตี ซึ่งมีประชากรอาศัย 45% ของประเทศ พื้นที่มีทั้งชายฝั่ง หาดทรายและที่ราบสูง ภาคใต้ มีพื้นที่น้อยที่สุดมีอากาศใกล้เคียงกับยุโรป มีหิมะตกบางพื้นที่ ในฤดูหนาวและเป็นที่ตั้งรกรากของชาวยุโรปที่ไปตั้งถิ่นฐาน
วันชาติ 7 ก.ย. (วันประกาศเอกราชจากโปรตุเกส)
นายลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา
(ประธานาธิบดีบราซิล)
ประชากร 218 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวยุโรป/คนผิวขาว 47.7% ชาวสเปนเชื้อสายบราซิล 22.3% Mulatto (ผสมระหว่างยุโรปกับคนผิวดำ) 20.1% ชาวบราซิลผิวดำ 7.6% ชาวเอเชีย 1.1% ชนพื้นเมือง 0.4% ไม่สามารถระบุได้ 0.7% โครงสร้างอายุของประชากรอายุ 0-14 ปี 19.77% อายุ 15-64 ปี 69.72% อายุ 65 ปีขึ้นไป 10.51% อายุขัยเฉลี่ยของประชากร 76.1 ปี เพศชาย 72.56 ปี เพศหญิง 79.81 ปี อัตราการเกิด 13.44 คน ต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 6.9 คนต่อประชากร 1,000 คน
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 50% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ 31% ลัทธินับถือภูตผีวิญญาณ 3% ลัทธิภูติผีของแอฟริกา 2% ลัทธิอเทวนิยม 1% อื่นๆ 3% และไม่นับถือศาสนา 10%
ภาษา ภาษาโปรตุเกส เป็นภาษาราชการ ใช้ภาษาสเปนเขตพรมแดนและในโรงเรียน เยอรมัน อิตาเลียน ญี่ปุ่น อังกฤษ และภาษาของชนกลุ่มน้อยชาวอินเดียนพื้นเมือง
การศึกษา ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกและเขียนได้ อัตราการรู้หนังสือ94.3% งบประมาณด้านการศึกษา 6% ของ GDP การศึกษาในบราซิลแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ก่อนวัยเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษาและการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ การศึกษาภาคบังคับ 8 ปี
การก่อตั้งประเทศ โปรตุเกสเข้าครอบครองพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือบราซิลเมื่อ เม.ย.2043 โดย Pedro Álvares Cabral เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อปี 2075 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเมื่อปี 2077 จนกระทั่ง 7 ก.ย.2365 Prince Pedro de Alcântara ประกาศเอกราชจากโปรตุเกส สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ Dom Pedro I และตั้งจักรวรรดิบราซิลขึ้น (the Empire of Brazil) แต่ได้รับการรับรองจากโปรตุเกสอย่างเป็นทางการ เมื่อ 29 ส.ค.2368 ระบบกษัตริย์ของบราซิลสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพบราซิลปฏิวัติเมื่อปี 2432 และประกาศเป็นสาธารณรัฐบราซิลในปีเดียวกัน
การเมือง สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
ฝ่ายบริหาร : ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง วาระ4 ปี และไม่เกิน 2 สมัย ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจแต่งตั้ง ครม.บริหารประเทศหากตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลงรองประธานาธิบดีจะเข้ารับตำแหน่งแทนในระยะเวลาของวาระที่เหลืออยู่ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นายลูลา ดา ซิลวา สังกัดพรรคแรงงาน โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีบราซิลรอบที่สองเมื่อ 30 ต.ค.2565 นายลูลาได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 50.9 ขณะที่ประธานาธิบดีจาอีร์ โบลโซนาโร สังกัดพรรคเสรีนิยม ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 49.11
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ระบบ 2 สภาคือ วุฒิสภา มีสมาชิก 81 คน (ตัวแทนจาก 26 รัฐและ 1 เขตนครหลวง มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของแต่ละรัฐและเขตนครหลวงจำนวนเขตละ 3 คน วาระ 8 ปี โดย 1 ใน 3 ของสมาชิกได้รับเลือกตั้งหลังจาก 4 ปีและสมาชิก 2 ใน 3 ได้รับการเลือกตั้งในอีก 4 ปีถัดไป) ส่วนสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิก 513 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงวาระ 4 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อ 2 ต.ค.2565
ฝ่ายตุลาการ : ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด (Supreme Federal Tribunal-STF) ประกอบด้วยผู้พิพากษา 11 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 75 ปี นอกจากนี้ มี SuperiorCourt of Justice, Supreme Electoral Court และNational Justice Council
พรรคการเมืองสำคัญ : พรรค Avante มีนาย Luis TIBE เป็นหัวหน้าพรรค Brazilian Communist Party (PCB) มีนาง Luciana de Oliveira Santos เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Brazilian Democratic Movement Party (PMDB) มีนาย Baleia Rossi เป็นหัวหน้าพรรคพรรค Brazilian Labor Party (PTB) มีนายMarcus Vinícius Neskau เป็นหัวหน้าพรรคพรรค Brazilian Republican Party (PRB) มีนาย Marcos Antonio Pereira เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Brazilian Social Democracy Party (PSDB) มีนาย Gilberto Kassab เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Brazilian Socialist Party (PSB) มีนาย Carlos Siqueira เป็นหัวหน้าพรรค พรรคChristian Democracy (DC) มีนาย Jose Maria Eymael เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Democratic Labor Party (PDT) มีนาย Ciro Gomes เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Green Party (PV) มีนาย Jose Luiz Penna เป็นหัวหน้าพรรค พรรค National Mobilization Party (PMN) มีนายAntonio Carlos Bosco Massarollo เป็นหัวหน้าพรรค พรรค New Party (NOVO) มีนายEduardo Ribeiro เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Patriota มีนาย Adilson Barroso เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Podemos มีนาง Renata Abreuเป็นหัวหน้าพรรค พรรค Progressive Party (PP) มีนาย Ciro Nogueira เป็นหัวหน้าพรรค พรรคRepublican Social Order Party (PROS) มีนายMarcus Vinícius Chaves de Holanda เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Social Christian Party (PSC) มีนาย Everaldo Pereira เป็นหัวหน้าพรรคพรรค Social Democratic Party (PSD) มีนายEduardo Leite เป็นหัวหน้าพรรค พรรคSocialism and Liberty Party (PSOL) มีนางPaula Coradi เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Solidarity (SD) มีนาย Paulo PEREIRA da Silva เป็นหัวหน้าพรรค พรรค United Socialist Workers’ Party (PSTU) มีนาย Jose Maria de Almeidaเป็นหัวหน้าพรรค พรรค Workers’ Cause Party (PCO) มีนาย Rui Costa Pimenta เป็นหัวหน้าพรรค และพรรค Workers’ Party (PT) มีนาง Gleisi Hoffman เป็นหัวหน้าพรรค
กลุ่มกดดันทางการเมือง : Landless Workers’ Movement หรือ MST กลุ่มสหภาพและสหพันธ์รัฐแรงงานเกษตรกร และกลุ่มศาสนา อาทิ Christian churches and the Catholic Church
เศรษฐกิจ
บราซิลเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก ได้แก่ ถั่วเหลือง น้ำตาล เนื้อวัว ไก่สดแช่แข็ง และกาแฟรวมทั้งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญของลาตินอเมริกา ขณะที่รัฐบาลใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านยานยนต์ทำให้บราซิลมีแนวโน้มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บราซิลเป็นสมาชิกตลาดร่วมอเมริกาตอนใต้ (Common Market of the South หรือ Mercosur)ร่วมกับอาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัย กลุ่มMercosur กำหนดมาตรการปกป้องตลาดการค้าและยังอยู่ระหว่างเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปและแคนาดา
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : เฮอัล (real/BRL)
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 4.49 BRL
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 BRL : 7.26 บาท (ต.ค. 2566)
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ (ปี 2563)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 2.12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 2.6%
รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี : 10,673 ดอลลาร์สหรัฐ
แรงงาน : 107.9 ล้านคน
อัตราการว่างงาน : 7.8%
อัตราเงินเฟ้อ : 4.65%
มูลค่าการส่งออก : 308,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออก : อะไหล่รถยนต์ สินแร่เหล็ก ถั่วเหลือง รองเท้า กาแฟและรถยนต์
คู่ค้าสำคัญ : จีน 31.3% สหรัฐฯ 11% อาร์เจนตินา 4.2% เนเธอร์แลนด์ 3.3% ชิลี 2.5%สิงคโปร์ 2.1%
มูลค่าการนำเข้า : 250,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้า : เครื่องจักรกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เคมี อะไหล่รถยนต์ น้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า
คู่ค้าสำคัญ : จีน 21.7% สหรัฐฯ 18% อาร์เจนตินา 5.4% เยอรมนี 5.1% อินเดีย 3.1% รัสเซีย 2.6%
การทหาร กองทัพบราซิลมีกำลังพล 366,500 นาย กองทัพประกอบด้วย ทบ. (Exercito Brasileiro-EB) 214,000 นาย ทร.(Marinha do Brazil-MB) 85,000 นาย (รวมฝูงบินของกองทัพเรือและนาวิกโยธิน) ทอ. (Force Aerea Brasileira-FAB) 67,500 นาย กำลังรบกึ่งทหาร 395,000 นาย และกำลังพลสำรอง 1.34 ล้านนาย งบประมาณด้านการทหาร 23,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยุทโธปกรณ์สำคัญ อาทิ รถถัง 441 คัน รถลำเลียงหุ้มเกราะ 1,580 คัน ถ.ปืนใหญ่อัตตาจร 121 คัน ปืนใหญ่ชนิดลาก 431 กระบอก เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง 84 เครื่องบ.โจมตี/สกัดกั้น 125 เครื่อง บ.ลำเลียง 129 ลำ บ.ฝึก 196 ลำ ฮ.ลำเลียง 23 ลำ ฮ.โจมตี 70 ลำเรือฟรีเกต 7 ลำ เรือ Corvettes 2 ลำ เรือดำน้ำ 5 ลำ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง 23 ลำ และเรือกวาดทุ่นระเบิด 5 ลำ (กำลังต่อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากฝรั่งเศส 1 ลำ)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ AfDB (nonregional member), BIS, BRICS, CAN (associate), CD, CELAC, CPLP, FAO, FATF, G-15, G-20, G-24, G-5, G-77, IADB, IAEA, IBRD, ICAO, ICC (national committees), ICCt, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, IHO, ILO, IMF, IMO, IMSO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITSO, ITU, ITUC (NGOs), LAES, LAIA, LAS (observer), Mercosur, MIGA, MINURSO, MINUSTAH, MONUSCO, NAM (observer), NSG, OAS, OECD (enhanced engagement), OPANAL, OPCW, Paris Club (associate), PCA, SICA (observer), UN, UNASUR, UNCTAD, UNESCO, UNFICYP, UNHCR, UNIDO, UNIFIL, Union Latina, UNISFA, UNITAR, UNMIL, UNMISS, UNOCI, UNRWA, UNWTO, UPU, WCO, WFTU (NGOs), WHO,WIPO, WMO, WTO
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บราซิลประกาศนโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์(AI) เมื่อ เม.ย.2566 ที่มุ่งเน้นการวิจัยด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการลงทุนด้าน AIโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มความเสมอภาคของมนุษย์ และมีการกำกับดูแล AI ด้วยความโปร่งใส ความมั่นคงและปลอดภัย บราซิลมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวิจัยด้านเทคโนโลยี ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย โดยทุนสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานของรัฐบาล ส่วนสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Oswaldo Cruz Institute, Butantan Institute, Air Force’s Aerospace Technical Center, Brazilian Agricultural Research Corporation และ INPE. Brazilian Space Agency เป็นหน่วยงานวิจัยด้านอวกาศชั้นนำของกลุ่มประเทศในลาตินอเมริกา มีทรัพยากรและขีดความสามารถในการสร้างจรวดและดาวเทียม มีเทคโนโลยีของตนเองในการพัฒนาเรือดำน้ำ เครื่องบิน รวมถึงการวิจัยทางอวกาศ เป็นประเทศ เดียวในซีกโลกใต้ที่เข้าร่วมโครงการสร้าง International Space Station (ISS) ที่ร่วมมือด้านอวกาศกับสหรัฐฯ
บราซิลยังเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกการสำรวจน้ำมันในทะเลลึก (บราซิลมีน้ำมันสำรองในทะเลลึก 73% ของปริมาณน้ำมันสำรอง) มีการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ที่ theResende Nuclear Fuel Factory แต่เป็นการวิจัยมากกว่าที่จะนำมาใช้
การขนส่งและโทรคมนาคม สนามบิน 3,168แห่ง ใช้การได้ดี 698 แห่ง ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ Guarulhos International Airport ใน Sao Paulo , Galeão International Airport ใน Rio de Janeiro , Brasília International Airport ใน Brasília ,Confins International Airport ใน Belo Horizonte Recife/Guararapes-Gilberto Freyre International Airport ใน Recife , Viracopos International Airport ใน Campinas , Santos Dumont Airport ใน Rio de Janeiro , Salgado Filho International Airport ใน Salvador , Salvador International Airport ใน Salvador , Fortaleza International Airport ใน FortalezaBelo Horizonte International Airport ใน Belo Horizonte และ Afonso Pena International Airport ใน Curitiba เส้นทางรถไฟ 30,576กม. ถนน 1.72 ล้าน กม. เส้นทางคมนาคมทางน้ำ 50,000 กม. การโทรคมนาคม โทรศัพท์พื้นฐาน 27.1 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 219.66 ล้านเลขหมาย รหัสโทรศัพท์ +55 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 181.8 ล้านคน รหัสอินเทอร์เน็ต .br
การเดินทาง นักท่องเที่ยวไทยสามารถเดินทางเข้าประเทศบราซิลได้ โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราหนังสือเดินทางและพำนักในบราซิลได้ไม่เกิน 90 วัน ส่วนผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ราชการและหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยพำนักได้ไม่เกิน 90 วันเช่นกัน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวไทยควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลืองเนื่องจากบราซิลเป็นเขตระบาดของไข้เหลืองโดยนักท่องเที่ยวไทยต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนดังกล่าว ต่อจนท.ตรวจคนเข้าเมือง
สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม
1)บทบาทของบราซิลในฐานะประธานหมุนเวียนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ต่อความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮะมาส โดยบราซิลเตรียมเสนอร่างข้อมติเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวอีกครั้งภายใน ต.ค.2566 หลังจากที่สหรัฐฯใช้สิทธิยับยั้งร่างข้อมติของบราซิล ที่ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิการป้องกันตนเองของอิสราเอล และระบุว่ากลุ่มฮามาสทำให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมในฉนวนกาซา
2)บทบาทของบราซิลทั้งในระดับภูมิภาคและเวทีระหว่างประเทศ การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป ประเทศตลาดเกิดใหม่ การส่งเสริมบทบาทของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค ได้แก่ กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR) สหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ (UNASUR) การแสดงบทบาทผู้นำกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการผลักดันการปฏิรูปสหประชาชาติ (UN) และ UNSC ให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความสัมพันธ์ไทย-บราซิล
ไทยกับบราซิลสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันตั้งแต่ 17 เม.ย.2502 ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศดำเนินไปด้วยดี จนถึงปัจจุบัน ไทยเปิด สอท.ที่รีโอเดจาเนโร (เมืองหลวงของบราซิลในขณะนั้น) เมื่อปี 2507 ก่อนย้าย สอท.ไปที่บราซิเลียเมื่อปี 2516 หลังจากบราซิลย้ายเมืองหลวงไปที่บราซิเลีย (ปี 2503) ไทยยังมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ รีโอเดจาเนโร และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เซาเปาลู รวมทั้งมีหน่วยงานของไทยที่ประจำการในบราซิล ได้แก่ สนง.ผชท.ฝ่ายทหาร ณ บราซิเลีย ซึ่งเปิด สนง.เมื่อ เม.ย.2551 และ สนง.ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เซาเปาลู ส่วนบราซิลได้เปิด สอท.ที่กรุงเทพฯ (มีเขตอาณาครอบคลุมไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เมื่อปี 2506
ความสัมพันธ์ไทย-บราซิลมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นโดยเมื่อ 16 มิ.ย.2547 มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-บราซิล เพื่อหารือประเด็นความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทุก 2 ปี ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อ ต.ค.2551 ส่วนการประชุม JC ไทย–บราซิล ครั้งที่ 2 มีขึ้นที่บราซิล เมื่อ 29 มิ.ย.2555 นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งสองประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนเป็นระยะ รวมทั้งการเสด็จเยือนบราซิลในระดับราชวงศ์ ระดับ นรม. รมว.กระทรวงต่าง ๆ ไทยและบราซิลมีความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ในประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อประชาคมโลก อาทิ ความมั่นคง การรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เศรษฐกิจและการค้า สิ่งแวดล้อม โดยทั้งสองประเทศมีแนวนโยบายที่คล้ายคลึงกันและมีบทบาทความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ได้แก่ UN, WTO, South-South Cooperation, FEALAC และ ASEAN-MERCOSUR
ยุทธศาสตร์ของไทยต่อบราซิล ไทยให้ความสำคัญต่อบราซิลสูงสุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยกำหนดให้เป็น Strategic Post ของไทยเพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ การลงทุน ความร่วมมือในสาขาที่บราซิลมีศักยภาพ ได้แก่ ปิโตรเลียม พลังงานทดแทน อาหารแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ การเป็นศูนย์กลางสู่ภูมิภาคของกันและกัน และการตอบรับการสนับสนุนในการดำเนินงาน ในเวทีระหว่างประเทศของไทย ซึ่งบราซิลมีบทบาทในองค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง ยุทธศาสตร์ของบราซิลต่อไทย บราซิลคาดหวัง ให้ไทยเป็นพันธมิตรของบราซิลในเวทีการเมืองระหว่างประเทศและมุ่งขยายประโยชน์ทางเศรษฐกิจของบราซิลกับไทยไปสู่ระดับภูมิภาค เนื่องจากไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การค้าระหว่างไทย-บราซิล บราซิลเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในลาตินอเมริกา โดยปี 2565มูลค่าการค้า 202,888 ล้านบาท ไทยส่งออก65,474 ล้านบาท และนำเข้า 137,414 ล้านบาทไทยเสียเปรียบดุลการค้า 71,940 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สําคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้านําเข้าที่สําคัญ ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
การลงทุน ที่ผ่านมาบราซิลลงทุนในไทยค่อนข้างน้อย อุตสาหกรรมหลักที่ไทยต้องการให้บราซิลเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะพลังงานทดแทน ไบโอเทคโนโลยี และแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นกิจการที่บราซิลมีศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญ คือ ปัญหากําแพงภาษีศุลกากรและระบบศุลกากรที่ซับซ้อน รวมทั้งภาษีที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ กฎหมายธุรกิจและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การที่ไทยกับบราซิลอยู่ห่างไกลกันมาก ไม่มีเที่ยวบินตรงทําให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลามาก รวมถึงมีปัญหาในการสื่อสาร เนื่องจากบราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ ในขณะที่นักธุรกิจไทยที่รู้ภาษาโปรตุเกสมีน้อยมาก
ข้อตกลงสำคัญ : ไทยและบราซิลได้ลงนามความตกลงทวิภาคีรวม 13 ฉบับคือ 1) ความตกลงทางการค้า 2) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ 3) ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ 4) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสมาพันธ์การค้าแห่งชาติบราซิล(National Confederation of Commerce) 5) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางการทูตและราชการ 6) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา 7) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี 8) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระบบการทำงานและการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกและนำเข้าระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กับธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติบราซิล (BancoNacional de Desenvovimento Economico e Social-BNDES) 9) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านกีฬา 10) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 11) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคี 12) บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการหารือทางการเมืองในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน และ 13) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวบราซิลและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย