สหรัฐเม็กซิโก
United Mexican States
เมืองหลวง เม็กซิโกซิตี
ที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนอยู่บนแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ ทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออยู่บนคาบสมุทร Baja California บนแผ่นเปลือกโลก Pacific และ Cocos ซึ่งถือว่าตั้งอยู่ในส่วนของทวีปอเมริกาเหนือเช่นเดียวกับสหรัฐฯ และแคนาดา มีพื้นที่รวม 1,972,550 ตร.กม. เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 14 ของโลก (รวมพื้นที่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก (เกาะ Guadalupe และเกาะ Revillagigedo) ชายฝั่งทะเลยาว 9,330 กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับสหรัฐฯ (รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐนิวเม็กซิโกและรัฐเท็กซัส 3,155 กม.)
ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวแคลิฟอร์เนียและมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริบเบียน
ทิศใต้ ติดกับกัวเตมาลา (958 กม.) และเบลีซ (276 กม.)
ภูมิประเทศ พื้นที่จากทิศเหนือจรดใต้ขนาบด้วยภูเขา Sierra Madre ทางตะวันออก และภูเขา Sierra Madre ทางตะวันตก ซึ่งเป็นแนวเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขา Rocky ในทวีปอเมริกาเหนือ ขณะที่ ทิศตะวันออก-ตะวันตกมีแนวภูเขาไฟ Trans-Mexican Volcanic Belt หรือ Sierra Nevada พาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือและภาคกลางเป็นเขตภูเขาและที่ราบสูง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขต Trans-Mexican Volcanic Belt เช่น ภูเขา Pico de Orizaba (สูง 5,700 ม.) ภูเขา Popocatepetl (สูง 5,462 ม.) ภูเขา Iztaccihuatl (สูง 5,286 ม.) และภูเขา Nevado de Toluca (สูง 4,577 ม.) เป็นต้น
วันชาติ 16 ก.ย. (วันประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อ 16 ก.ย.2353)
Andrés Manuel López Obrador
(ประธานาธิบดีเม็กซิโก)
ประชากร 129.8 ล้านคน ประกอบด้วยชาวเมสติโซ (ลูกผสมคนผิวขาวผสมกับอินเดียนแดงพื้นเมือง) 62% Predominantly Amerindian (ชาวอินเดียนที่อยู่ในเม็กซิโกตั้งแต่ยุคโบราณ) 21% ชาวอินเดียนพื้นเมือง 7% อื่น ๆ (ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป) 10% อัตราส่วนประชากรจำแนกตามอายุ : อายุ 0-14 ปี 23.76% อายุ15-64 ปี 68.22% และอายุ 65 ปีขึ้นไป 8.02%อายุขัยเฉลี่ยของประชากร 73.46 ปี เพศชาย 70.29 ปี เพศหญิง 76.79 ปี อัตราการเกิด13.95 คน ต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 7.07 คน ต่อประชากร 1,000 คน อัตราการเพิ่มของประชากร 0.61%
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 78% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ 11.2% ไม่นับถือศาสนา 10.6% และอื่น ๆ 0.002%
ภาษา ภาษาสเปน 93.8% ภาษาสเปนและภาษาอินเดียนพื้นเมือง 5.4% ภาษาอินเดียนพื้นเมือง 0.6% (อาทิ ภาษา Mayan, Nahuatl) และไม่ระบุ 0.2%
การศึกษา อัตราการรู้หนังสือประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีที่สามารถอ่านออกและเขียนได้95.4% งบประมาณ ด้านการศึกษา 6.7% ของ GDP
การก่อตั้งประเทศ ชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในเม็กซิโกเป็นชาวอินเดียนพื้นเมือง ได้แก่ Olmec, Toltec, Teotihuacan, Zapotec, Maya และ Aztec-Mexico จนกระทั่งตกเป็นอาณานิคมของสเปนในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ขณะนั้นเม็กซิโกรู้จักกันในชื่อ “New Spain” และอยู่ใต้การปกครองของสเปนมานานกว่า 300 ปี จนกระทั่งได้เอกราชจากสเปนเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 Agustín de Iturbide ตั้งตนขึ้นเป็นจักรพรรดิตั้ง First Mexican Empire แต่ถูกโค่นล้มจากอำนาจเมื่อปี 2366 และตั้ง United Mexican States ประธานาธิบดีคนแรกคือ นาย Guadalupe Victoria ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศเมื่อปี 2367 พร้อมกับการเลิกทาสในเม็กซิโก ในช่วงแรกของการก่อตั้งประเทศเน้นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจภายในประเทศ จนนำไปสู่สงครามกลางเมือง (Pastry War) ระหว่างกลุ่ม Liberals ที่สนับสนุนรัฐบาลสาธารณรัฐ และกลุ่ม Conservadores ที่สนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มราชวงศ์ เมื่อปี 2379
ช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่พรมแดนตอนเหนือของเม็กซิโกโดดเดี่ยวตนเองออกจากรัฐบาลกลาง (พื้นที่จากรัฐ California ถึง Texas) รัฐทางตอนเหนือพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการตั้งกองกำลังท้องถิ่นเพื่อปกป้องผู้ตั้งถิ่นฐานจากการโจมตีของชาวอินเดียนพื้นเมือง ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพูดภาษา Protestant English จากสหรัฐฯ ต่อมาเมื่อนายพล Antonio López de Santa Anna ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2367 และประกาศรัฐธรรมนูญปี 2406 ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองทั่วประเทศ รัฐบาลของ Republic of Texas, Republic of the Rio Grande และ Republic of Yucatán ประกาศแยกตัวออกเป็นเอกราชจากเม็กซิโก โดย Republic of Texas เข้ารวมกับสหรัฐฯ ความขัดแย้งเขตแดนระหว่างเม็กซิโก และสหรัฐฯ ทำให้เกิดสงครามระหว่างประเทศ หรือ Mexican-American War เมื่อปี 2389 ก่อนจบลงด้วยการลงนามใน Treaty of Guadalupe Hidalgo ซึ่งเม็กซิโกพ่ายแพ้และเสียดินแดน 1 ใน 3 ให้แก่สหรัฐ ได้แก่ Alta California, New Mexico และพื้นที่ขัดแย้งใน Texas รวมถึงการมอบดินแดนใน Southern Arizona และ Southwestern New Mexico แก่สหรัฐฯ จากเหตุการณ์ Gadsden Purchase เมื่อปี 2397
ช่วงทศวรรษ 1860s เม็กซิโกถูกปกครองโดยฝรั่งเศส มีการแต่งตั้งจักรพรรดิคนที่ 2 Habsburg Archduke Ferdinand Maximilian ชาวออสเตรียขึ้นปกครอง โดยได้รับการสนับสนุนจากนักบวช Roman Catholic และกลุ่ม Conservadores ซึ่งต่อมาร่วมกับกลุ่ม liberals จักรพรรดิ Maximilian ยอมแพ้และถูกประหารเมื่อ 19 มิ.ย.2410 จึงสิ้นสุดยุคการปกครองของฝรั่งเศสและเข้าสู่ยุคปฏิวัติเม็กซิโกระหว่างปี 2453-2472 ซึ่งเป็นช่วงการก่อตั้งสาธารณรัฐเม็กซิโก ตลอดห้วงเวลาดังกล่าวมีการปฏิวัติรัฐประหารในเม็กซิโกหลายครั้งเป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิตไปมากกว่า 900,000 คน (จากประชากร 15 ล้านคน) การเลือกตั้ง เมื่อปี 2543 ถือเป็นครั้งแรกหลังการปฏิวัติเมื่อปี 2453 ที่ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน นาย Vicente Fox จากพรรค National Action Party (PAN) มีชัยชนะเหนือพรรค Institutional Revolutionary Party (PRI) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลและเข้าสู่เม็กซิโกในยุคปัจจุบัน
การเมือง ปกครองในระบบสหพันธ์สาธารณรัฐ (Federal Presidential Republic) ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและผู้บัญชาการทหารสูงสุด มาจากการเลือกตั้งโดยตรง วาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่อได้ รัฐธรรมนูญเม็กซิโกกำหนดการปกครองของประเทศไว้ 3 ระดับคือ รัฐบาลสหพันธ์ (Federal Union) รัฐบาลกลาง(State Governments) และรัฐบาลท้องถิ่น(Municipal Governments)
ฝ่ายบริหาร : ประธานาธิบดีมีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารและแต่งตั้ง ครม. ส่วนการแต่งตั้งอัยการสูงสุด ผู้ว่าการธนาคารชาติและเจ้าหน้าที่การคลังระดับสูงต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อ 1 ก.ค.2561 นาย Andrés Manuel López Obradorจากพรรค National Regeneration Movement ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน 54.91% รับตำแหน่งเมื่อ 1 ธ.ค.2561 (ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นใน 2 มิ.ย. 2567)
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ระบบ 2 สภา 1)วุฒิสภามีสมาชิก 128 คน โดย 96 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ส่วนอีก 32 คน มาจากการจัดสรรโดยยึดจากคะแนนเสียงของแต่ละพรรค 2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 500 คน โดย 300 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และอีก 200 คน มาจากการจัดสรรโดยยึดจากคะแนนเสียงของแต่ละพรรค/ส.ส.สัดส่วนวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 1 ก.ค.2561 (ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นใน 2 มิ.ย.2567)
ฝ่ายตุลาการ : ใช้ระบบกฎหมาย Civil Law กับ Common Law ประธานศาลสูงสุดเป็นผู้นำฝ่ายตุลาการ ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ประกอบด้วย 31 รัฐและ 1 เขตสหพันธ์(Federal District)
พรรคการเมืองสำคัญ : พรรค Citizen’s Movement (Movimiento Ciudadano–MC) มีนาย Clemente Castaneda เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Institutional Revolutionary Party (Partido Revolucionario Institucional–PRI) มีนาง Claudia Ruiz Massieu เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Labor Party (Partido del Trabajo–PT) มีนาย Alberto Anaya Gutierrez เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Mexican Green Ecological Party (Partido Verde Ecologista de Mexico–PVEM) มีนาย Carlos Alberto PUENTE Salas เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Movement for National Regeneration (Movimiento RegeneracionNacional–MORENA) มีนาย Andres Manuel López Obrador เป็นหัวหน้าพรรค พรรค National Action Party (Partido Accion Nacional–PAN) มีนาย Damian Zepeda Vidales เป็นหัวหน้าพรรค พรรค Party of the Democratic Revolution (Partido de la Revolucion Democratica–PRD) มีนาย Manuel Granados เป็นหัวหน้าพรรค
กลุ่มกดดันรัฐบาล: กลุ่ม Businessmen’s Coordinating Council (CCE), Confederation of Employers of the Mexican Republic (COPARMEX), Confederation of Industrial Chambers (CONCAMIN), Confederation of Mexican Workers (CTM), Confederation of National Chambers of Commerce (CONCANACO), Coordinator for Foreign Trade Business Organizations (COECE), Federation of Unions Providing Goods and Services (FESEBES), National Chamber ofTransformation Industries (CANACINTRA), National Confederation of Popular Organizations (CNOP), National Coordinator for Education Workers (CNTE), National Peasant Confederation (CNC), National Small Business Chamber (CANACOPE), National Syndicate of Education Workers (SNTE), National Union of Workers (UNT), Popular Assembly of the People of Oaxaca (APPO) และ Roman Catholic Church
เศรษฐกิจ เม็กซิโกเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ในลาตินอเมริการองจากบราซิล และอันดับที่ 12 ของโลก ตามการจัดอันดับของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ข้อตกลงสหรัฐฯ–เม็กซิโก–แคนาดา (United States-Mexico-Canada Agreement-USMCA) ที่ทำให้เม็กซิโกเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ มากขึ้น ประกอบกับการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีรวม 13 ฉบับกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่วนสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ทำให้บริษัทจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน เข้ามาลงทุนในเม็กซิโกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเม็กซิโกมีแรงงานราคาถูก อย่างไรก็ดี เม็กซิโกต้องเร่งปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแรงงาน รวมทั้งแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและอาชญากรรม เพื่อส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : เปโซเม็กซิกัน (Mexican Peso/MXN)
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 USD : 18.13 MXN
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 บาท : 0.50 MXN
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 1.81ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 2.9%
รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี : 13,804 ดอลลาร์สหรัฐ
แรงงาน : 58.7 ล้านคน
อัตราการว่างงาน : 3 %
ดุลบัญชีเดินสะพัด : ขาดดุล 14,282 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดุลการค้าระหว่างประเทศ : ขาดดุลการค้า 48,130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก : 578,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออก : สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน แร่เงิน
พลาสติก ผลไม้ ผัก กาแฟ ฝ้าย
คู่ค้าสำคัญ : สหรัฐฯ จีน แคนาดา เกาหลีใต้และเยอรมนี
มูลค่าการนำเข้า : 626,320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้า : เครื่องจักรสำหรับผลิตเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ผลิตภัณฑ์โรงงานเหล็กกล้า เครื่องจักรทางการเกษตร อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนรถยนต์สำหรับการประกอบในโรงงาน อะไหลรถยนต เครื่องบิน
อะไหล่เครื่องบิน พลาสติก ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน
คู่ค้านำเข้า : สหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้เยอรมนี และญี่ปุ่น
การทหาร กำลังพลรวม 216,000 นาย แบ่งเป็น ทบ. 157,500 นาย ทร. 50,500 นาย ทอ. 8,000 นาย กำลังพลสำรอง 81,500 นาย และกองกำลังกึ่งทหาร 136,900 นาย ยุทโธปกรณ์สำคัญได้แก่ รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 1,310 คันรถถังปืนใหญ่อัตตาจร 12 คัน ปืนใหญ่ชนิดลาก 375 กระบอก บ. 336 เครื่อง บ.โจมตี/สกัดกั้น 6เครื่อง บ.โจมตี 33 เครื่อง บ.ลำเลียง 26 เครื่อง บ.ฝึก 107 เครื่อง ฮ. 117 เครื่อง เรือ 189 ลำ เรือฟริเกต 11 ลำ เรือ Corvette 4 ลำ เรือลาดตระเวนชายฝั่ง 128 ลำ เรือกวาดทุ่นระเบิด 11 ลำ และดาวเทียมทหาร 1 ดวง งบประมาณด้านการทหาร 0.7% ของ GDP
สมาชิกองค์กรระหว่างประเทศได้แก่ APEC, Australia Group, BCIE, BIS, CAN (ผู้สังเกตการณ์), Caricom (ผู้สังเกตการณ์), CD, CDB, CE (ผู้สังเกตการณ์), CELAC, CSN (ผู้สังเกตการณ์), EBRD, FAO, FATF, G-3, G-15, G-20, G-24, G-5, IADB, IAEA, IBRD, ICAO, ICC (national committees), ICCt, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, IHO, ILO, IMF, IMO, IMSO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITSO, ITU, ITUC (NGOs), LAES, LAIA, MIGA, NAFTA, NAM (observer), NEA, NSG, OAS, OECD, OPANAL, OPCW, Pacific Alliance, Paris Club (associate), PCA, SICA (ผู้สังเกตการณ์), UN, UNASUR (ผู้สังเกตการณ์), UNCTAD, UNESCO, UNHCR, UNIDO, Union Latina (ผู้สังเกตการณ์), UNWTO, UPU, WCO, WFTU (NGOs), WHO, WIPO, WMO และ WTO
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลเม็กซิโกคิดเป็น 0.3% ของ GDP
การขนส่งและโทรคมนาคม ท่าอากาศยาน1,714 แห่ง ใช้งานได้ดี 243 แห่ง ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 45 แห่ง ที่สำคัญ ได้แก่Mexico City International Airport Cancun International Airport และ Los Cabos International Airport เส้นทางรถไฟ 23,400 กม. ถนน 175,500 กม. เส้นทางน้ำ 2,900 กม. การโทรคมนาคม : โทรศัพท์พื้นฐานให้บริการ25.7 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 124.9 ล้านเลขหมาย รหัสโทรศัพท์ +52 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 96.8 ล้านคน รหัสอินเทอร์เน็ต .mx
การเดินทาง ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการไทยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (พำนักได้ไม่เกิน 90 วัน) ส่วนผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาต้องขอตรวจลงตราหนังสือเดินทาง แต่หากมีวีซาสหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร หรือ Schengen หรือมีถิ่นพำนักถาวรในสหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร หรือ Schengen รวมทั้งประเทศสมาชิก Pacific Alliance (ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก เปรู) สามารถเดินทางเข้าเม็กซิโกได้ โดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (ต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงาน) สามารถพำนักได้ไม่เกิน 180 วัน
นักธุรกิจไทยที่ถือบัตร ABTC (APEC Business Travel Card) และมีรหัส MEX ในบัตรสามารถเดินทางเข้าเม็กซิโกเพื่อประกอบธุรกิจระยะสั้นได้โดยไม่ต้องตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (พำนักได้ไม่เกิน 90 วัน) สามารถติดต่อขอตรวจลงตราหนังสือเดินทางได้ที่ สอท.เม็กซิโกประจำไทย
ความสัมพันธ์ไทย-เม็กซิโก
สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเมื่อ 28 ส.ค.2518 และไทยเปิด สอท.ไทยประจำเม็กซิโก (ปี 2521) มีเขตอาณาครอบคลุม 6 ประเทศในอเมริกากลางและแคริบเบียน (คิวบา กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส นิการากัวและเบลีซ) ส่วนเม็กซิโกเปิด สอท.ประจำไทยเมื่อปี 2532
เม็กซิโกเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทยในลาตินอเมริกา (รองจากบราซิล) มูลค่าการค้า ปี 2565 อยู่ที่ 145,209 ล้านบาท ไทยส่งออก112,931 ล้านบาท และนำเข้า 32,278 ล้านบาทไทยได้เปรียบดุลการค้า 80,653 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
ข้อตกลง : ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือของภาคเอกชนระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภานักธุรกิจเม็กซิกัน (ปี 2533) ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ (ปี 2536) ความตกลงยกเว้น
การตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ(ปี 2542) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับสภานักธุรกิจเม็กซิกันสำหรับการค้าระหว่างประเทศการลงทุนและเทคโนโลยี/COMCE (ปี 2546) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมและการศึกษา (ปี 2546) ความตกลง ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยรัฐ (Colima) ของเม็กซิโก (ปี 2546)บันทึกความเข้าใจในความร่วมมือระหว่างสภาธุรกิจไทย-ลาตินอเมริกากับสภาธุรกิจด้านการค้าการลงทุนและเทคโนโลยีของเม็กซิโก (ปี 2553) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการให้คำปรึกษาทางการเมือง (ปี2554) ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าไทย กับสภาหอการค้าเม็กซิโก (ปี 2557) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ไทย–เม็กซิโก (ปี 2561)
สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม
1)การเลือกตั้งประธานาธิบดีเม็กซิโกในมิถุนายน 2567 โดยผู้สมัครทั้งจากพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านต่างเป็นสตรี ที่แสดงให้เห็นบทบาททางการเมืองของสตรีในเม็กซิโก โดยเม็กซิโกมีสัดส่วนจำนวนสตรีในรัฐสภามากที่สุดอันดับ 6 ของโลก ทั้งนี้ นางคลาวเดีย เชนบัม อดีตนายกเทศมนตรีเม็กซิโกซิตีและผู้สมัครจากพรรคโมรีนา ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล มีความได้เปรียบในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี คนต่อไปจากการเป็นพันธมิตรทางการเมืองของประธานาธิบดีโลเปซ โอบราดอร์
2)การดำเนินมาตรการรับมือเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรมและการบริโภคของเม็กซิโกเริ่มฟื้นตัวจากรายได้ของแรงงานเม็กซิกันที่ทำงานในสหรัฐฯ ขณะที่ภาคการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก ทั้งนี้ รัฐบาลเม็กซิโกปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินให้มีความสมดุลระหว่างการควบคุมภาวะเงินเฟ้อกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเม็กซิโก รวมทั้งเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ