สาธารณรัฐคิวบา
Republic of Cuba
เมืองหลวง ฮาวานา
ที่ตั้ง เป็นเกาะอยู่ในทะเลแคริบเบียน มีขนาดใหญ่ที่สุดใน West Indies ตั้งอยู่ระหว่างทะเลแคริบเบียนกับมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
อาณาเขต พื้นที่โดยรวม 110,860 ตาราง กม. เป็นแผ่นดิน 109,820 ตาราง กม. พื้นน้ำ 1,040 ตาราง กม. ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 3,735 กม.
ภูมิประเทศ คิวบาเป็นหมู่เกาะ ล้อมรอบด้วยกลุ่มเกาะขนาดเล็ก 4 กลุ่ม ได้แก่ หมู่เกาะ Colorados Archipelago ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมู่เกาะ Sabana-Camagüey ในมหาสมุทรแอตแลนด์ติก หมู่เกาะ Jardines de la Reina ทางทิศใต้ และหมู่เกาะ Canarreos ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เกาะหลักเรียกว่า คิวบา มีความยาว 1,250 กม. เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทะเลแคริบเบียน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและเนินขนาดเล็ก มีภูเขา Sierra Maestra ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจุดสูงสุดเรียกว่า Pico Turquino โดยมีความสูง 1,974 เมตร เกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 คือ Isla de la Juventud หรือ Isle of Youth ในหมู่เกาะ Canarreos โดยมีพื้นที่ 2,200 กม.
วันชาติ 1 ม.ค. (วันประกาศเอกราช)
Miguel Mario Díaz-Canel Bermúdez
(ประธานาธิบดีคิวบา)
ประชากร ประชากร 10.98 ล้านคน เป็นคนผิวขาว 64.1% Mulatto 26.6% ผิวสี 9.3% โครงสร้างอายุประชากร : อายุ 0-14 ปี 16.39% อายุ 15-64 ปี 66.81% และอายุ 65 ปีขึ้นไป 16.8% อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโดยรวม 79.87 ปี เพศชาย 77.53 ปี เพศหญิง 82.35 ปี อัตราการเกิด 9.99 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 9.37 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการเพิ่มของประชากร -0.19% /vc_column_text]
การก่อตั้งประเทศ นายคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พบคิวบาเมื่อปี 2035 และถูกยึดครองเป็นอาณานิคมของสเปน ชาวอินเดียนพื้นเมือง ได้แก่ ชาว Taíno หรือ Arawak ชาว Guanajatabey และ Ciboney ก็เริ่มมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะถูกเกณฑ์ใช้แรงงานและติดโรคติดต่อจากชาวสเปนที่มาตั้งถิ่นฐาน มีการนำแรงงานชาวแอฟริกาเข้ามาปลูกกาแฟและอ้อย ตั้งแต่ปี 2303 คิวบากลายเป็นจุดตั้งต้นของชาวสเปนในการค้นหาสมบัติของชาวอินคาในเม็กซิโก และเปรู สหรัฐฯ เข้าช่วยปลดปล่อยคิวบาจากการเป็นอาณานิคมของสเปนเมื่อปี 2441 และมีการลงนามในสนธิสัญญาปารีสให้คิวบาเป็นเอกราชเมื่อปี 2541 ต่อมาในปี 2551 นาย Fidel Castro ผู้นำกลุ่มกบฎยึดอำนาจการปกครอง และดำรงตำแหน่ง นรม.ระหว่างปี 2502-2519 ก่อนแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีเมื่อปี 2519 ปกครองคิวบานานเกือบ 50 ปี ก่อนส่งมอบให้นาย Raul Castro น้องชายเมื่อ ก.พ.2551
การเมือง สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 จังหวัดและ 1 เขตปกครองพิเศษ
ฝ่ายบริหาร : ประธานาธิบดีเป็นประมุขและและหัวหน้ารัฐบาล ปัจจุบันคือนาย Miguel Mario Díaz-Canel Bermúdez ได้รับเลือกจากสภาแห่งชาติด้วยคะแนน 98.1% (เมื่อ 10 ต.ค.2562) ต่อจาก
นาย Raúl Castro วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (อาจจะมีการเลือกตั้งใหม่ทุก ๆ 5 ปี) ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรีให้สภาแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อ 26 มี.ค.2566
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ระบบสภาเดียวคือ National Assembly of People’s Power สมาชิก 470 คน ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อ 26 มี.ค.2566
ฝ่ายตุลาการ : ศาลประชาชนสูงสุด (People’s Supreme Court หรือ Tribunal Supremo Popular) ทำหน้าที่กำกับดูแลศาลอื่น ๆ รวมถึงศาลทหาร สมาชิก 41 คน มาจากการเลือกโดยสภาแห่งชาติ ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณีตามแบบของสเปน
พรรคการเมืองสำคัญ : ระบบพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์คิวบา (Cuba Communist Party-PCC) โดยนาย Miguel Díaz-Canel เป็นเลขาธิการพรรค
กลุ่มกดดันทางการเมือง : Cuban Commission for Human Rights and National Reconciliation โดยมีนาง Damas de Blanco (Ladies in White) เป็นหัวหน้า กลุ่ม Patriotic Union of Cuba รวมถึงกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและกลุ่มนักเคลื่อนไหวบนอินเทอร์เน็ต
เศรษฐกิจ คิวบาปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจให้เปิดเสรีมากขึ้นในห้วงการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี Díaz-Canel มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า ลดการอุดหนุนของรัฐบาลในภาคการผลิต การปฏิรูประบบการเงินโดยใช้สกุลเงินคิวบาเปโซเพียงสกุลเดียวและยกเลิกการใช้สกุลเงิน CUC ตั้งแต่ ม.ค.2564 นอกจากนี้ คิวบาอนุญาตให้มีการจัดตั้งบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ การยินยอมให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ด้วยตนเอง การอนุมัติกฎหมายการลงทุนต่างประเทศฉบับใหม่ รวมถึงการตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่รอบท่าเรือ Mariel
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : ใช้สกุลเงินคิวบาเปโซ (CUP) เพียงสกุลเดียวและยกเลิกการใช้สกุลเงิน CUC ตั้งแต่ ม.ค.2564
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 24.03 คิวบาเปโซ
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 คิวบาเปโซ : 1.49 บาท (พ.ย.2566)
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 97,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 1.8%
รายได้เฉลี่ยต่อหัวตอปี : 7,510 ดอลลาร์สหรัฐ
แรงงาน : 5.16 ล้านคน
อัตราการว่างงาน : 1.5%
หนี้สาธารณะ : 123% ของ GDP
อัตราเงินเฟ้อ : 45%
ดุลบัญชีเดินสะพัด : 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดุลการค้าระหว่างประเทศ : ขาดดุล 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก : 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออก : ปิโตรเลียม นิกเกิล ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ น้ำตาล ยาสูบ ปลา ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟ
ตลาดส่งออก : จีน 38% สเปน 11% เนเธอร์แลนด์ 5% และเยอรมนี 5%
มูลค่าการนำเข้า : 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้า : ปิโตรเลียม อาหาร เครื่องจักรกลและอุปกรณ์เคมีภัณฑ์
คู่ค้านำเข้า : สเปน 19% จีน 15% อิตาลี 6% และแคนาดา 5%
ทุนสำรองต่างประเทศ : 5,703 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หนี้ต่างประเทศ : 27,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การทหาร กองทัพปฏิวัติคิวบา (Revolutionary Armed Forces-FAR) มีกำลังพล 49,000 นาย
แบ่งออกเป็น ทบ. 38,000 นาย ทร. 3,000 นาย และ ทอ. 8,000 นาย กองกำลังรบกึ่งทหาร 26,500 นาย กำลังพลสำรอง 39,000 นาย และกองกำลังรบกึ่งทหารสำรอง 1,120,000 นาย การเกณฑ์ทหารภาคบังคับชายอายุระหว่าง 17-28 ปี (ระยะเวลารับใช้ชาตินาน 2 ปี) ส่วนสตรีไม่บังคับ ยุทโธปกรณ์สำคัญ ได้แก่ รถถัง 950 คัน รถถังปืนใหญ่อัตตาจร 100 คัน รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 756 คัน ปืนใหญ่มากกว่า 1,750 กระบอก ชนิดลาก 500 กระบอก เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง 175 กระบอก บ.โจมตี/สกัดกั้น 80 เครื่อง บ.โจมตี 38 เครื่อง บ.ลำเลียง 2 เครื่อง บ.ฝึก 26 เครื่อง ฮ. 14 เครื่อง ฮ.โจมตี 4 เครื่อง เรือฟริเกต 2 ลำ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง 17 ลำ และเรือกวาดทุ่นระเบิด 4 ลำ งบประมาณด้านการทหาร 2% ของ GDP
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ACP, ALBA, AOSIS, CELAC, FAO, G-77, IAEA, ICAO, ICC, ICRM, IFAD, IFRCS, IHO, ILO, IMO, IMSO, Interpol, IOC, IOM (ผู้สังเกตการณ์), IPU, ISO, ITSO, ITU, LAES, LAIA, NAM, OPANAL, OPCW, PCA, Petrocaribe, PIF, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, Union Latina, UNWTO, UPU, WCO, WFTU (NGOs), WHO, WIPO, WMO และ WTO
การขนส่งและโทรคมนาคม ท่าอากาศยาน 133 แห่ง ใช้การได้ดี 64 แห่ง ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ 2 แห่ง ได้แก่ Ignacio Agramonte International Airport และ José Martí International Airport เส้นทางรถไฟ 8,285 กม. ถนน 60,858 กม. เส้นทางน้ำ 240 กม. ท่าเรือสำคัญ อาทิ Antilla, Cienfuegos, Guantanamo, Havana, Matanzas, Mariel, Nuevitas Bay, Santiago de Cuba การโทรคมนาคม : โทรศัพท์พื้นฐานให้บริการ 8.6 ล้านเลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 7.1 ล้านเลขหมาย รหัสโทรศัพท์ +53 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 7.69 ล้านคน รหัสอินเทอร์เน็ต .cu
การเดินทาง นักท่องเที่ยวไทยที่ต้องการเดินทางเข้าคิวบาต้องยื่นขอบัตรนักท่องเที่ยวจากสถานเอกอัครราชทูตคิวบาประจำประเทศไทย ยกเว้นกรณีเดินทางจากสหรัฐฯ หรือเดินทางจากเรือสำราญ สามารถซื้อบัตรนักท่องเที่ยวได้จากสายการบิน โดยนักท่องเที่ยวไทยสามารถพำนักในคิวบาได้เป็นเวลา 90 วัน หากต้องการพำนักนานกว่าระยะเวลาดังกล่าวต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม
ความสัมพันธ์ไทย–คิวบา
ไทยกับคิวบาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อ 15 พ.ค.2501 ปัจจุบัน รัฐบาลไทยแต่งตั้งให้ ออท. ณ กรุงเม็กซิโกซิตีเป็น ออท.ประจำคิวบาด้วย และเมื่อปี 2546 เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำคิวบา ส่วนรัฐบาลคิวบาได้เปิด สอท.คิวบา ณ กรุงเทพฯ เมื่อ 13 ม.ค.2547
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ โดยปี 2565 คิวบาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 188 การค้าทวิภาคีระหว่างกันมีมูลค่า 161.68 ล้านบาท ไทยส่งออก 71.13 ล้านบาท และนำเข้า 90.55 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้า 19.42 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญของไทยได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์ยาสูบ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา
ข้อตกลงสำคัญ : ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ไทยกับคิวบา (พ.ย.2543) ความตกลงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับคิวบา (ก.พ.2545) ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าไทยกับคิวบา (มี.ค.2547) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ก.ย.2549) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างไทยกับคิวบา (ม.ค.2552) และความตกลงด้านสาธารณสุขและการวิจัยทางการแพทย์ (เม.ย.2561)
สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม
1) ความคืบหน้าการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองคิวบา การดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประชาชน
2) ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบากับสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากคิวบาเริ่มรับผู้อพยพชาวคิวบา ที่เคยเดินทางเข้าสหรัฐฯ ผ่านชายแดนเม็กซิโก-สหรัฐฯ กลับคิวบา และพร้อมเจรจาประเด็นผู้อพยพกับสหรัฐฯ อย่างสร้างสรรค์ ก่อนหน้านี้ ทั้งสองฝ่ายมีปัญหาขัดแย้งกันในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากคิวบาอ้างว่ามาตรการ คว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้คิวบาเผชิญปัญหาผู้อพยพออกจากประเทศเป็นจำนวนมาก