รู้หรือไม่ว่าทั่วโลกมีอุโมงค์อยู่มากมายหลายแห่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางภูเขาที่ขวางกั้นลดระยะเวลาการเดินทาง การหลบภัยใต้ดิน เป็นสถานีทดลอง เป็นที่เก็บทรัพยากร ระบายน้ำ และเป็นที่เก็บน้ำ ในอดีต มนุษย์ยุคหินเก่า (10,000 ปีก่อนปัจจุบัน) อาศัยกันในอุโมงค์หรือถ้ำตามธรรมชาติ เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีมากพอในการขุดหรือเจาะภูเขาเพื่อสร้างอุโมงค์ที่ใหญ่หรือแข็งแรง เป็นการอาศัยอยู่ในถ้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ การผังทลายของหิน หรือดินยุบเป็นหลุมขนาดใหญ่ ช่องโพรงเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยจนทำให้มนุษย์อยู่รอด ก่อนที่จะออกสู่ทุ่งกว้างเพื่อล่าสัตว์หรือทำเกษตรในยุคต่อมา จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุค มนุษย์ยังคงต้องการความปลอดภัยจากที่อยู่อาศัยไม่ต่างจากถ้ำ แต่เปลี่ยนรูปแบบมาในลักษณะของห้อง เป็นความต้องการพื้นฐานของร่างกายที่จะพักผ่อนในพื้นที่ปิดล้อมปราศจากแสงเพื่อฟื้นฟูร่างกาย จึงได้มีการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้น โดยการระเบิดภูเขาทำคอนกรีต ย้ายหินและทรายมาประกอบกันเพื่อเป็นถ้ำแห่งใหญ่หลายชั้นที่เรียกว่าตึกสูงได้ มนุษย์ได้ย้ายออกมาจากอุโมงค์ได้สำเร็จ และได้ทิ้งอุโมงค์ร้างไว้จำนวนมากเพื่อใช้ชีวิตบนอากาศในตึกสูง แต่เมื่อโลกข้างบนไม่น่าอยู่อาศัย ปัญหามลภาวะรุนแรง ความเสียหายจากสงคราม ทำให้เราเริ่มสรรหาพื้นที่ปลอดภัยใต้ดินอีกครั้ง “อุโมงค์” กลับกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการใช้ชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งผลิตอาหารปลูกพืชผักด้วยแสงจากหลอดไฟ เพื่อได้อาหารที่ปลอดสารพิษ และประหยัดพื้นที่ในการเพาะปลูก นอกจากเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์ อุโมงค์ยังสามารถทำได้ใต้พื้นดินและกลายเป็นเส้นทางขนส่งอาหารได้ การคมนาคมขนส่งกับโครงข่ายเชื่อมต่อระหว่างทวีปด้วย Hyperloop ใต้ดิน การพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมการก่อสร้างทำให้การขุดดินหรือสร้างอุโมงค์นั้นทำได้ง่ายขึ้น เช่น จีนสามารถสร้างอุโมงค์ 167 แห่ง ภายในเวลา 4 ปี เพื่อสร้างเส้นทางรถไฟ…