ทำความเข้าใจปัญหาเพดานหนี้สหรัฐอเมริกา 2566
“ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ” กลายเป็นข่าวใหญ่ในช่วงกลางพฤษภาคม 2566 ทั้งที่ผู้นำสหรัฐอเมริกากำลังจะเยือนเอเชียเพื่อแสดงบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอย่าง G7 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งการประชุมกรอบความร่วมมือ 4 ฝ่ายเพื่อส่งเสริมความมั่งคั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่าง QUAD ที่ออสเตรเลียจะเป็นผู้จัดการต้อนรับ แต่ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศอย่างเรื่องการตัดสินใจว่าจะขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ทันเวลาหรือไม่ กลายเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน ต้องจัดการ จึงต้องยกเลิกกการประชุมบางส่วนเพื่อกลับไปแก้ไขปัญหาในประเทศเสียก่อน …ความเคลื่อนไหวนี้อาจเป็นไปตามสูตรที่ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงภายในประเทศก่อน เพื่อให้ประชาชนชาวอเมริกันที่มีคะแนนโหวตเลือกตั้งอยู่ในมือเชื่อมั่นในศักยภาพและความจริงใจของรัฐบาล ย้อนกลับไปที่ทำไมเรื่อง “เพดานหนี้สหรัฐฯ” จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ในตอนนี้!? แล้วจะกลายเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเศรษฐกิจไทยได้หรือไม่? …ขออธิบายเป็น 3 ประเด็น ประเด็นแรก ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ คืออะไร? ขอเริ่มที่สหรัฐฯ มีกฎหมายกำหนดจำนวนหรือปริมาณหนี้ที่รัฐบาลจะสร้างได้เอาไว้ เพื่อให้เป็นกรอบกำหนดวินัยการเงินและการคลังของรัฐบาล ซึ่งจำนวนสูงสุดนั้นถึงได้เรียกว่า “เพดาน” ในการสร้างหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลต้องสร้างหนี้เพื่อใช้บริหารประเทศ ในช่วงที่งบประมาณของรัฐบาลขาดดุล โดยรัฐบาลสหรัฐฯ จะสร้างหนี้ตามใจตัวเองไม่ได้ ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติเสียก่อน …. แล้วสหรัฐฯ กู้ไปทำอะไรบ้าง?? ก็เช่น กู้ไปจ่ายเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลกลาง กู้ไปจ่ายเงินเดือนให้ทหาร และกู้ไปใช้จ่ายในโครงการสวัสดิการต่าง ๆ นั่นเอง สำหรับกฎหมายนั้นมีชื่อว่า Public Debt…