มาตาลดา (To The Moon and Back) ละครไทยอบอุ่นหัวใจในมุมมองสถาบันครอบครัว
“มาตาลดา” (To The Moon and Back) เรื่องราวละครไทยที่เพิ่งจบไปเมื่อไม่นานนี้ นับว่าแหวกกระแสความเป็นละครไทยเดิม ๆ ที่มักวนเวียนแค่การชิงรักหักสวาทหรือตบตีแก้แค้น แต่พยายามสะท้อนสังคมสมัยใหม่ที่เผชิญความหลากหลายเยอะขึ้น พร้อมกับเสนอมุมมองการดำเนินชีวิต โดยหยิบยกปัญหาในสถาบันครอบครัวมาถ่ายทอด และเป็นการตีโจทย์เพื่อที่จะเข้าใจถึงปัญหาครอบครัวในปัจจุบันมากขึ้น ทั้งนี้แม้ที่ผ่านมาก็มีความพยายามที่จะสอดแทรกเรื่องราวของครอบครัว LGBTQIA+ ผ่านละครหลายเรื่องก่อนหน้านี้ อย่างเช่น พระจันทร์สีรุ้ง (พ.ศ. 2552) และ มาลีเริงระบำ (พ.ศ. 2557) แต่ทั้งสองเรื่องตัวละคร LGBTQIA+ ต่างซ่อนเร้นตัวตนเพราะกลัวสังคมและตัวลูกไม่ยอมรับ แตกต่างจากมาตาลดาที่พ่อเกรซเผยตัวตนให้ลูกยอมรับและเข้าใจความหลากหลายตั้งแต่ต้น จุดนี้ก็เป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยที่เริ่มพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ LGBTQIA+ มากขึ้น ทั้งนี้คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ (กยค.) ได้กำหนดนิยามความหมายของ “ครอบครัว” คือ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภริยา หรือมีความผูกพันทางสายโลหิต หรือทางกฎหมาย หรือเกี่ยวดองเป็นเครือญาติ ซึ่งสมาชิกในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่ต่อกัน และมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน โดยการจำแนกครอบครัวตามโครงสร้าง ได้แก่ 1) ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยบุคคลที่ใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภริยา อาจมีหรือไม่มีบุตร พ่อหรือแม่อยู่กับบุตร หรือพี่น้อง หรือญาติไม่เกินสองรุ่นใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน 2) ครอบครัวขยาย…