การวิเคราะห์ภาพยนตร์ผ่านกรอบแนวคิดและทฤษฎี
ความไม่ทัดเทียมของคนผิวสี ภาพยนตร์มีการสะท้อนปัญหาเรื่องสีผิวอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Get Out (ปี 2560) ได้กล่าวถึงชายผิวดำถูกหลอกให้หลงรักกับสาวผิวขาว ก่อนที่สุดท้ายเขาจะทราบความจริงว่าที่แท้มันคืออุบายของฝ่ายหญิงที่จะนำร่างกายอันแข็งแรงของคนผิวดำไปผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เพื่อให้คนผิวขาวที่เจ็บป่วยหรือชราภาพได้มีชีวิตยืนยาว ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงภาพของคนผิวขาวที่ดูเป็นมิตรกับคนผิวสี แต่เบื้องหลังคือการหลอกใช้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน นักวิเคราะห์ภาพยนตร์ Valarie Wong กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ว่า “หักมุมและลุ้นระทึกเมื่อสถานการณ์ในเรื่องพลิกอย่างไม่คาดฝัน แถมเดาตอนจบได้ยาก มีสารของความอัดอั้นตันใจของชาวผิวสี และวิธีการปฏิบัติของคนผิวขาวที่มีต่อคนผิวดำ เป็นหนังจิกกัดเรื่องการเหยียดผิวได้เจ็บแสบและสะใจ” ขณะที่ เบิกโรง กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่อง Get Out ไว้ในทำนองเดียวกัน “จับเอาเรื่องราวของคนดำที่ตกเป็นเหยื่อมานำเสนอ ในขณะที่คนร้ายของเรื่องก็คือครอบครัวคนขาว ซึ่งในมุมหนึ่งได้สะท้อนทัศนคติที่คนขาวบางคนมีต่อคนดำที่ทุกวันนี้สังคมอเมริกันก็ยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่”
ส่วนภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือเรื่อง Us (ปี 2562) ในหนังมีการเน้นถึงความคิดเกี่ยวกับการเป็นอเมริกัน หรือความพยายามในการเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกาอย่างเช่น ครอบครัว Wilson ครอบครัวของตัวเอกที่เน้นภาพให้เข้าใจความคิด “We’re Americans” เพื่อรับการยอมรับจากสังคมอเมริกันและได้รับอภิสิทธิ์ และจากการกระทำในความคิดของ Addy ตัวละครนำหญิงในเรื่องที่พยายามจะกลมกลืนเป็นอเมริกันและยกระดับครอบครัว การทำทุกวิถีทางเพื่อขึ้นมาใช้ชีวิตแบบคนบนดินซึ่งเป็นผลมาจากอยากจะหนีออกมาจากความโหดร้ายจากการกดขี่ถูกกีดกันให้เป็นอื่นของผู้ที่มีมโนทัศน์ชาตินิยมความเป็นอเมริกัน อีกทั้งชื่อของภาพยนตร์ “Us” อาจตีความหมายถึง “U.S.” บ่งบอกเป็นนัยว่า เรา(Us)ต้องเป็นอเมริกัน(U.S.)
อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องนี้มีประเด็นเกี่ยวกับ Xenophobic จากนักวิจารณ์อย่าง Jim Vejvoda ให้คำนิยามการเชื่อมโยงระหว่าง “the Tethered to “urban legends” สิ่งที่เกิดในภาพยนตร์ Us และ “xenophobic paranoia about the Other” ซึ่งประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกามีการย้ายถิ่นฐานของชาวต่างชาติเป็นลักษณะที่โดดเด่น มาพร้อมกับความเกรงกลัวหรือการไม่ชอบชาวต่างชาติ มีลักษณะคล้ายคลึงกับการเผยแพร่ของการเหยียดสีผิว และบางครั้งจากความกลัวชาวต่างชาติของกลุ่มที่ได้รับการยอมรับอาจมีบทบาทในการ discriminate กลุ่มอื่น ๆ มุ่งร้ายกับการเหยียดสีผิวและการมีลำดับชั้นของเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกา ผู้ย้ายถิ่นฐานมักถูกประเมินโดยพิจารณาจากระดับของสีผิว นอกจากนี้ Xenophobia ยังมีผลต่อนโยบายของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเหตุการณ์ดังต่อไปนี้เป็นการกระทำที่บอกชัดเจน คือ “Built the wall” ฝ่าย Administration ได้รับคำสั่งสร้างกำแพงตลอดแนวชายแดนสหรัฐฯ – เม็กซิโก ความยาว 3,200 กิโลเมตร เพื่อป้องกันคนลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็มีมาตรการที่มุ่งปราบปรามพื้นที่หลบภัยของผู้ลักลอบเข้าเมือง ในเมืองต่างๆ หลายร้อยเมืองทั่วสหรัฐฯ
การเหยียดเชื้อชาติที่มีบ่อยขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีแนวคิดหลักมาจาก “ทฤษฎีวิพากษ์เชื้อชาติ (Critical Race Theory – CRT)” CRT มีเป้าหมายในการต่อต้านความคิดเชื้อชาตินิยมเพื่อกำจัดการเหยียดเชื้อชาติและสร้างความเท่าเทียมในกลุ่มชนอเมริกัน นับตั้งแต่อภิสิทธิ์ของชนชาติอเมริกันมีพื้นฐานมาจากการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ เกิดความแตกต่างระหว่างคนผิวขาวและคนผิวสีอื่นๆกลุ่มเชื้อชาติอื่นที่ผู้อพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อเมริกา หรือแม้แต่การกดชนพื้นเมืองดั้งเดิมอย่างกลุ่มอินเดียแดง
………..อิทธิพลเชื้อชาตินิยมก็เป็นอคติต่อการวางนโยบายและกฎหมายที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกและกีดกัน โดยปัญหาอคติเชื้อชาติที่เกิดขึ้นในสังคมอเมริกา ได้เป็นจุดกำเนิดของความขัดแย้งกับขบวนการปลดปล่อยเพื่อคนขาวในทศวรรษ 1960 และสถานการณ์ของการเหยียดเชื้อชาติก็เพิ่มขึ้นมากภายหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ที่เห็นได้จากอคติที่ขยายตัวต่อกลุ่มชาวมุสลิมและผลกระทบต่อเชื้อชาตินิยมต่อกลุ่มชาวแอฟริกัน-อเมริกัน เม็กซิกัน-อเมริกัน และเอเชียน-อเมริกัน ในฐานะที่ถูกเหมารวมว่าเป็นกลุ่มเชื้อชาติที่แตกต่างจากคนขาว การแบ่งแยกกลุ่มคนผิวสีกับคนผิวขาวเป็นเหตุของการขัดแย้งในอคติเชื้อชาติที่เกิดขึ้นในอเมริกาและทั่วโลก ซึ่งตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีคนผิวดำเสียชีวิตอย่างไม่เป็นธรรมจากความรุนแรงเกินกว่าเหตุในการถูกจับกุมโดยตำรวจผิวขาวในสหรัฐอเมริกาในหลายกรณี เช่น กรณีของ George Floyd และ Breonna Taylor ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวรณรงค์และประท้วงเรื่อง Black Lives Matter ในปี 2563
นอกจากนี้ Us ได้นำเสนอแนวคิดการครองอำนาจนำโดยในสังคมทุนนิยมสมัยใหม่แนวคิดการครอบอำนาจนำนั้นเปรียบเสมือนแนวคิดแก่นกลางที่จำเป็นต้องมีแนวความคิด/ทฤษฎีอื่นๆ มาประกอบเพื่อทำความเข้าใจ ครอบงำวิถีชีวิตและความคิดเรื่องความเป็นจริง โดยมีการแพร่กระจายไปทั่วสังคมผ่านทางรสนิยม ศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ศาสนา และหลักการทางการเมืองในทุกระดับของความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งในภาพยนตร์ “Us” ได้มีการสะท้อนความหมายของการครองอำนาจนำผ่าน “กลุ่มคนใต้ดิน” และ “ผู้อยู่บนดิน” ที่มีรัฐบาลควบคุม ซึ่งได้ผนวกรวมเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ศีลธรรม และปัญญาชน ดังที่กล่าวไป
………..อาจเชื่อมโยงต่อกับการเป็น Hegemony ของประเทศมหาอำนาจที่คอยกำหนด World Orders เป็นข้อกำหนดให้ประเทศต่างๆในโลกทำตามด้วยการสร้าง Norm บางอย่างเป็นเกณฑ์ โดยชี้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกและเหมาะสมต่อประเทศมหาอำนาจกลางและประเทศด้อยพัฒนาที่มีอำนาจน้อยกว่าได้นั่นเอง เมื่อเปรียบตัวละครที่อยู่ข้างบนเป็นรัฐที่มีสิทธิในการครอบครองอำนาจนำกลุ่มคนใต้ดิน สร้างความคิดและความเชื่อให้เป็นไปตามที่รัฐต้องการ จะเห็นได้ว่าเมื่อตัวละครเอกของเรื่องที่อยู่ข้างบนชื่นชอบการเต้นบัลเล่ต์ ตัวละครที่อยู่ใต้ดินก็ต้องเต้นบัลเล่ต์ตาม แม้กระทั่งในลักษณะของความสัมพันธ์เมื่อตัวละครด้านบนมี คนใต้ดินก็ต้องรักหรือมีความสัมพันธ์เช่นเดียวกับตัวละครด้านบน …ภาพยนตร์พยายามสร้างความหมายของการครองอำนาจนำของรัฐในรูปแบบใหม่ว่ารัฐในปัจจุบันไม่ได้ครองอำนาจนำที่สร้างโดยรัฐเอง แต่อำนาจนำเหล่านั้นถูกประกอบสร้างลงมายังบุคคลทั่วไปในสังคมแล้วครอบครองจิตวิญญาณให้ขับเคลื่อนไปโดยที่รัฐไม่ต้องทำอะไร ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนได้ ….หรือในทางการระหว่างประเทศ แนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยและเรื่องสิทธิมนุษยชนก็ครอบงำและแทรกแซงการเมืองโดยอ้างความเหมาะสมถูกต้องต่อโลกและเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับแนวคิดสังคมโลกเหล่านั้นของมหาอำนาจ
ภาพยนตร์ได้สร้างตัวละครใต้ดินขึ้นจากความต้องการของชนชั้นปกครองหรือคนข้างบน เพื่อควบคุมและรักษาผลประโยชน์ของชั้นปกครองเอง รวมถึงการควบคุมโลกทัศน์ของชั้นปกครอง สร้าง Common Sense เป็นวิธีการควบคุมและกำหนดมาตรฐานความคิดของกลุ่มคนใต้ดิน สิ่งที่ตามมาคือการต้องการอิสระ ตัวละครในเรื่องนี้ที่ต้องการอิสรภาพ อย่าง “Red” ร่างเงาของนางเอกเมื่อตนถูกสลับตัวจึงเกิดความคับแค้น จึงเริ่มสร้างการก่อกบฏและรวมกลุ่มผู้ที่ต้องการอิสระ การครอบอำนาจนำหมายถึงการสร้างพันธมิตรทางการเมือง (Political Alliance) กลุ่มคนใต้ดินรวมตัวกันเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับกลุ่มประชาสังคม และต่อต้านการกดขี่บังคับจากรัฐและชนชั้นสูงในสังคมด้านบน ..เมื่อเปรียบกับการระหว่างประเทศ เมื่อรัฐมหาอำนาจมีความสามารถในการครอบงำโดยอำนาจนำที่เหนือกว่าก็จะควบคุมปรับแนวความคิด พฤติกรรม เศรษฐกิจ ตลอดจนรูปแบบการปกครองทางการเมืองของรัฐที่ด้อยกว่า ซึ่งเป็นปัจจัยส่งผลให้ประเทศที่มีอำนาจน้อยกว่าเริ่มสร้างกลุ่มของตนเองขึ้นมา อาทิ การรวมกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคต่างๆ ให้มีอำนาจมากขึ้นและไม่พึ่งพามหาอำนาจมากจนเกินไปนั่นเอง
……..และเรื่องสุดท้ายที่จะกล่าวถึงในบทความนี้คือภาพยนตร์เรื่อง Nope (ปี 2565) ได้กล่าวถึง โอกาสที่ถูกปิดกั้นหรือถูกบดบังของคนผิวสี โดยยกกรณีภาพถ่ายศิลปินผิวดำควบม้าในภาพชุดประวัติศาสตร์ Animal Locomotion ของ Eadweard Muybridge ที่ทุกคนจดจำยกย่องชายผิวขาวผู้บันทึกภาพ แต่ไม่มีใครยกย่องชายผิวดำที่ควบคุมม้า ทั้งๆที่เขาน่าจะเป็นศิลปินคนแรกของโลกที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์ชุดประวัติศาสตร์นั้น Bedirian กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า พลังขับเคลื่อนสำคัญอย่างหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ แนวคิดเรื่องชนชายขอบของศิลปินผิวดำ (Marginalisation of Black Talent) เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้วิพากษ์ถึงศิลปินผิวสีคนแรกของโลก ที่ใครๆต่างก็ลืมชื่อของเขาไปแล้ว เพราะเขาเป็นคนผิวสีจึงไม่มีใครยกย่องหรือจดจำเขา
ภาพยนตร์เรื่อง Nope ยังตอกย้ำประเด็นดังกล่าวนี้ผ่านตัวละครสาวผิวสี เอเมอรัลด์ เฮย์วูด ที่ครอบครัวของเธอมีอาชีพเลี้ยงม้า และเธอใฝ่ฝันว่าสักวันจะมีชื่อเสียงในวงการบันเทิง การที่เธอเสี่ยงชีวิตเพื่อจะบันทึกภาพสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว เป็นเพราะเธอต้องการแจ้งเกิดจากการบันทึกภาพประวัติศาสตร์ ได้ปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงซึ่งจะนำเธอไปสู่วงการบันเทิงในอนาคต ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการสื่อสารว่า คนผิวสีคือชนชายขอบที่ถูกกีดกันในสังคมวงการบันเทิง พวกเขามีโอกาสอันน้อยนิดเมื่อเทียบกันคนผิวขาว คนดำอาจต้องแลกโอกาสพิเศษนั้นด้วยการเสี่ยงชีวิตเพื่อบรรลุความสำเร็จ
นัยในสังคมที่แฝงอยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
การสะท้อนถึงเรื่องชนชั้นระหว่าง Americans ที่เป็นอเมริกันแท้ ๆ กับประชากรเชื้อชาติต่างๆ หรือที่เป็น Immigrants ในอเมริกาที่มีชีวิตแตกต่างกันทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน ภาพยนตร์เรื่อง Us สอดแทรก Easter eggs ที่จิกกัดสังคมไว้อยู่เยอะที่เห็นได้ เพราะจะเห็นได้ว่าถึงแม้ครอบครัวตัวละครหลักเป็นครอบครัวคนผิวสีที่ดูมีฐานะความเป็นอยู่ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็จะมีตัวละครอีกครอบครัวหนึ่งซึ่งเป็นบ้านคนขาวผมบลอนด์แบบชาวอเมริกันพิมพ์นิยม ที่มีชีวิตดีขั้นหรูหรา ทำให้ Gabe เกิดความอิจฉาและพยายามแข่งขันความรวยกับบ้านนั้นอยู่ตลอด และฉากหนึ่งในเรื่อง Us ที่ครอบครัวเดินบนชายหาดที่ได้หนังถ่ายจากมุมบน ให้เห็นภาพเงาตกสะท้อนบนพื้นทราย ซึ่งฉากนี้ทำให้เห็นว่า ไม่ว่าคนเราจะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีอะไร เสื้อผ้าแบบใด เป็นคนผิวสีไหน เงาของพวกเขาก็เป็นสีดำเหมือนกัน สื่อถึงความเท่าเทียมในทุกสังคมบนโลก มนุษย์ไม่ว่าจะมีฐานะเชื้อชาติ เพศ สีผิวใดก็มีควรมีสิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่แบ่งแยก แบ่งชนชั้นวรรณะหรือถูกเหยียด….เพราะทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน
การสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนที่อยู่ข้างล่าง/ร่างเงา คือกลุ่มชนชั้นที่ด้อยโอกาส พวกไร้บ้านถูกกดขี่จากสังคมเป็นพวก Lower Class ที่ต้องใช้ชีวิตเอาตัวรอดไปแต่ละวัน ไม่ได้รับโอกาสดีๆ หรือสวัสดิการ เหมือนพวก Upper Class ทั้งๆ ที่ก็เป็นมนุษย์เต็มตัว มีชีวิตจิตใจไม่ต่างกัน แต่กลับไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้หรือเป็นไปได้ยากมาก ความเหลื่อมล้ำนี้เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญในสังคม การที่คนชนชั้นล่างจะเลื่อนขึ้นไปชั้นบนนั้นยากเย็นแสนเข็น การแสดงให้เห็นถึงปัญหาของสังคม คนผิวสี การถูกกดขี่ การเมือง สิทธิมนุษยชน และอีกมากมายที่คนดูจะได้เห็นจากการชมภาพยนตร์หลากหลายเรื่องในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ Pop Culture อีกทั้งเมื่อตีความดีๆ อาจโยงไปถึงเรื่องระบบการปกครองได้อย่างมีนัย ซึ่งระบบชนชั้นและการเหยียดผิวที่แอบแฝงในประเทศแห่งเสรีภาพ แม้ว่าสโลแกนของประเทศจะเป็น “ประเทศแห่งเสรีภาพและความเสมอภาค” แต่สิ่งที่เห็นในหนังจากที่ผู้กำกับต้องการจะสื่อก็ไม่พ้นเรื่องของ “การเหยียด” ที่แอบแฝงอยู่ในประเทศเสรีทั้งนั้น ซึ่งย้อนแย้งกับสโลแกนประเทศอย่างมาก
……..จากทั้งหมดที่กล่าวมาคงสามารถสรุปได้ว่า การวิเคราะห์สังคมการเมืองที่สะท้อนจากภาพยนตร์เราก็สามารถเชื่อมโยงและได้ความรู้เรื่อง Racism ที่เกิดขึ้นแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลกกับกลุ่มคนผิวสีและคนเชื้อชาติอื่น ส่วนหนึ่งก็มาจากผลพวงเหตุการ์ณที่เกิดในอดีต ความกลัวต่อชาติอื่นที่อพยพเข้ามา ความรู้สึกชาตินิยม รวมถึงแนวคิดอำนาจนิยมเชื่อมโยงกับการต่างประเทศ ความเหลื่อมล้ำเลือกปฏิบัติในสังคม และโอกาสที่ถูกปิดกั้นหรือถูกบดบังของคนผิวสี ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนในสังคมสามารถเรียนรู้ทำความเข้าใจโดยคำนึงถึงความแตกต่างและอยู่ร่วมกันได้ อีกทั้งเรื่องอำนาจนำโลกของประเทศมหาอำนาจหรือ Hegemony ก็เป็นประเด็นร้อนในการเมืองโลก
บทความนี้อาศัยการนำเสนอการวิเคราะห์สัญญะทางการเมืองและสังคมความคิดของทางฝั่ง Pop Culture อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเด็นที่ถูกพูดถึงได้แก่ เรื่องความไม่ทัดเทียมของคนผิวสี เรื่อง Racism ที่มีปัจจัยเริ่มต้นจากเรื่องความกลัวหรือการไม่ชอบชาวต่างชาติ ซึ่งความกลัวนี้พัฒนาไปถึงขั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเหยียดสีผิว มีการศึกษาในแง่ของการสะท้อนการมีอำนาจเพื่อนำมาเชื่อมโยงกับการระหว่างประเทศในเรื่องความเป็นมหาอำนาจ อีกทั้งความเป็นไปทางสังคมความเหลื่อมล้ำและโอกาสอันน้อยนิดของผู้ที่ถูกมองว่าแตกต่างทางเชื้อชาติสีผิว โดยสิ่งเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ผ่านภาพยนตร์ในหลากหลายเรื่องได้ เพราะในอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์ของฝั่งอเมริกามักสร้างมาเพื่อสะท้อนเรื่องราวความจริง และแม้การผลิตภาพยนตร์จะไม่ใช่การนำความจริงมาเล่าทั้งหมด แต่ในการเล่าเรื่องหรือผลิตผู้สร้างภาพยนตร์ดังกล่าวย่อมได้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมและสังคมหลากหลายแหล่ง
Reference
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/260929/174958
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/256399/172579
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/253409