ในยุคที่การซื้อขายสินค้าและบริการส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตลาดออนไลน์ มูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าและบริการทั้งหลายจะต้องมีทั้งหน้าร้าน และออนไลน์บนแฟลตฟอร์มต่างๆ หรือบางร้านมีสินค้าและบริการขายในตลาดออนไลน์เท่านั้น ทำให้ธุรกิจ E-commerce เติบโตเป็นอย่างมาก จนคาดว่าจะมีผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ในธุรกิจนี้ไม่ต่ำกว่า 2.5 พันล้านคน รวมทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างการซื้อขายและให้บริการนี้ เช่น บริการขนส่ง แพลตฟอร์มหน้าร้านต่างๆ …..และนั่นคือการทำธุรกิจแบบ B to B (Business to Business)
………..“B to B บนโลกออนไลน์” เปรียบเสมือนพ่อค้าคนกลางที่ช่วยอำนวยความสะดวกการเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้า เป็นผู้รู้ข้อมูลความต้องการของตลาด จึงสามารถชี้นำสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคได้ด้วยการเพิ่มหรือปิดช่องทางการมองเห็นหรือเข้าถึงร้านค้า ….ดังนั้น บทบาทของ “พ่อค้าคนกลาง” ในโลกออนไลน์จึงมีอำนาจในการต่อรองสูงมากขึ้น แต่นั่นก็ทำให้เกิดการแข่งขันของกลุ่มแฟลตฟอร์มหรือบริการที่จะดึงดูดลูกค้าเข้าใช้บริการของตน ตามมาด้วยโปรโมชั่นพิเศษ ลด แลก แจก แถม ฟรี ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อ แต่การแข่งขันเพื่อดึงดูดลูกค้าอย่างบ้าคลั่ง อาจกลายเป็นภาวะที่เรียกว่า “การเผาเงินทุน” ที่จะเป็นสาเหตุให้การคืนทุนของธุรกิจแบบ B to B ช้าลง เนื่องจากไม่สามารถสร้างกำไรและฐานลูกค้าได้ทันจุดคุ้มทุน จนต้องยอมแพ้ หรือปิดกิจการไป
ในอีกแง่มุมหนึ่งการขายออนไลน์แบบ B to C (Business to Customer) ที่ให้ลูกค้าได้ส่งสินค้าและบริการโดยตรงกับลูกค้านั้นจะดูเป็นช่องทางที่ช่วยลดเงินทุนลงได้ และผู้ขายได้รับเงินโดยตรงจากการขายสินค้าหรือบริการโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง …กระบวนการนี้อ่านดูแล้วเป็นเรื่องที่ดี!! แต่เป็นไปได้ยาก….เพราะในความเป็นจริง ร้านค้าจะเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร? หากไม่ดำเนินการผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ หรือโดยไม่มีค่าใช้จ่าย!? โดยเฉพาะการเก็บค่าโฆษณาจากร้านค้าและค่าโฆษณาทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในต้นทุนสินค้าเรียบร้อยแล้ว ส่วนมูลค่าของการโฆษณานั้นจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากแพลตฟอร์มออนไลน์ได้แม่นยำตามค่าโฆษณา แม้ผู้ซื้อจะไม่ได้จ่ายค่าบริการโดยตรงให้กับแพลตฟอร์ม แต่ข้อมูลส่วนตัวและความสนใจต่างๆ จะถูกเก็บไปใช้สร้างมูลค่าให้กับแพลตฟอร์มนั่นเอง ดังนั้น ต่อให้เป็นรูปแบบ B to C ก็ยังมี “มูลค่าแฝง” ของพ่อค้ากลาง (แอบ) แฝงอยู่ด้วย ….แล้วลูกค้าจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ผู้ขายที่ติดต่อด้วยจะเป็นต้นน้ำของจริง หรือเป็นเพียงพ่อค้าคนกลางอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้ราคาสินค้านั้นสูงขึ้น!?
เบื้องหลังของธุรกิจ B to C อาจจะมีโรงงานผลิตสินค้าที่เป็นต้นน้ำอย่างแท้จริง คอยทำหน้าที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน แต่บรรจุไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างหลากหลายหน้าตากันออกไป และส่งต่อให้พ่อค้าคนกลางที่ทำหน้าที่โฆษณาสินค้าให้กับผู้บริโภคเอาไปขาย จึงเป็นธุรกิจแบบ F to B to C (Factory to Business to Customer) ที่เกิดจากการแบ่งความเชี่ยวชาญระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายบน E-commerce ออกจากกัน แต่ลองคิดดูว่า ….จะเกิดอะไรขึ้น!? เมื่อต้นน้ำอย่างโรงงานผลิตต้องการลดต้นทุนสินค้า ด้วยการตัดผู้ขายออกจากห่วงโซ่อุปทาน หวังพึ่งเทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลในการเข้าถึงลูกค้า เป็นรูปแบบของ F to C โดยตรง
…………F to C จึงเป็นขั้นต่อไปของรูปแบบของ E-commerce ที่ต้องอาศัยการพัฒนาของเทคโนโลยีอีกขั้นที่จะทำให้ผู้ซื้อรู้สึกอุ่นใจกับการซื้อขายระหว่างการได้พูดคุยกับผู้ค้าหรือแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence-AI) ที่สามารถตรวจสอบได้ เพราะการตัดสินใจซื้อของลูกค้าขึ้นอยู่กับอารมณ์มากกว่า 50% …สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นการแข่งขันกันในห่วงโซ่อุปทาน การขยายอำนาจเพื่อส่วนแบ่งทางการค้าระหว่างต้นน้ำกับกลางน้ำ โดยมีปลายน้ำหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับประโยชน์ เพราะราคาสินค้าจะลดลงจากการที่พ่อค้าคนกลางต้องแข่งขันกันเอง หรือกลายเป็นฝ่ายต้องรับภาระต้นทุนแฝงที่อยู่ในรูปสินค้า