คลองปานามาซึ่งขุดเมื่อเร่มใช้งานเมื่อปี 2457 กำลังเป็นประเด็นการเมืองในสหรัฐฯ เนื่องจากว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่า สหรัฐฯ จะควบคุมคลองปานามายาว ซึ่งมีความยาวประมาณ 82 กิโลเมตร อีกครั้ง การสร้างคลองปานามา ทำช่วยย่นระยะเวลาบริเวณคอคอดปานามา ในประเทศปานามา เนื่องจากการเดินเรือระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก ไม่ต้องอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ประเด็นการควบคุมคลองปานามาถูกหยิบยกขึ้นมาโดยว่าที่ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่
ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ บริหารจัดการตั้งแต่เปิดทำการเมื่อปี 2457 จากนั้นอดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ลงนามในข้อตกลงให้ปานามาเป็นผู้บริหารจัดการคลองดังกล่าวเมื่อปี 2520 บรรลุผลสมบูรณ์เมื่อปี 2542 ปัจจุบัน สหรัฐฯ ไม่ได้มีอำนาจบริหารจัดการคลองปานามา ซึ่งปานามายืนยันว่าอำนาจอธิปไตยและผลประโยชน์ทุกอย่างทางเศรษฐกิจบริเวณคลองปานามาเป็นสิทธิของปานามา
การที่ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์เชื่อว่า สหรัฐฯ ต้องสูญเสียผลประโยชน์จำนวนมาก บริเวณคลองปานามา ทั้งการที่เรือสหรัฐฯ จะต้องถูกเก็บค่าธรรมเนียมอย่างไม่เป็นธรรม และยังเชื่อมโยงกับประเด็นด้านการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เห็นว่า จีนกำลังมีอิทธิพลเหนือบริเวณดังกล่าว เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นเขตอิทธิพลสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่จึงเรียกร้องให้ปานามาคืนอำนาจการควบคุมและบริหารจัดการคลองปานามาให้สหรัฐฯ โดยเร็ว เพื่อความยุติธรรม และเพื่อลดบทบาทของจีนในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
ดังนั้น ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จึงได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ ในการประชุมของกลุ่ม Turning Point USA (กลุ่มอนุรักษ์นิยมในสหรัฐฯ และสนับสนุนว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ในการเลือกตั้งอย่างมากเมื่อที่ผ่านมา) ที่เมือง Phoenix เมื่อ 22 ธันวาคม 2567 ว่า จะกลับมาควบคุมคลองปานามาอีกครั้ง เพราะคลองปานามาเป็นสมบัติของชาติที่สำคัญ การมีอำนาจบริหารจัดการคลองปานามาจะทำให้สหรัฐฯ มั่นคงทั้งด้านการทหารและเศรษฐกิจ เพราะคลองปานามาเป็นจุดยุทธศาสตร์การค้าและการเดินเรือที่สำคัญของโลก เชื่อมโยงมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก รวมทั้งว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ยืนยันว่า จะไม่ยอมให้จีน หรือประเทศอื่น ๆ นอกจากปานามามีสิทธิในการจัดการคลองปานามา
ท่าทีดังกล่าวของว่าที่ผู้นำสหรัฐฯ ทำให้ประธานาธิบดีปานามาต้องออกมาตอบโต้ โดยยืนยันผ่านคลิปวิดีโอเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ว่าคลองปานามาอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของปานามา และเรื่องการบริหารจัดการคลองปานามาเป็นประเด็นที่ไม่สามารถต่อรองหรือผ่อนปรนได้ (มีรายงานว่ามีบริษัทฮ่องกงที่บริหารจัดการท่าเรือที่คลองปานามา 2 บริษัท) อย่างไรก็ตาม ปานามาพร้อมจะร่วมมือกันรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาความมั่นคงอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น ผู้อพยพผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ
การที่ว่าที่ผู้นำสหรัฐฯ หยิบยกประเด็นคลองปานามาขึ้นมา ก็ย้ำให้เห็นถึงการดำเนินยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่กลับมาให้ความสำคัญต่อประเทศของตนสูงสุด เพื่อไม่ให้สหรัฐฯ เสียเปรียบ หรือประเทศใด เฉพาะอย่างยิ่งจีนที่เป็นคู่แข่งเชิงยุทธศาสตร์ ที่มีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าของอิทธิพล และครั้งนี้ในกรณีคลองปานามา ก็ใช้เทคนิคการเตือน เพื่อให้ปานามาให้เห็นว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่มีความจริงจังและมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯ พร้อมกับเตือนประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือใกล้ชิดกับจีน ให้ระมัดระวังบทบาทของจีนที่อาจขยายอิทธิพลแข่งขันกับสหรัฐฯ ในพื้นที่มากขึ้น และปานามาต้องร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการจัดการและแก้ไขปัญหาความมั่นคงอื่น ๆ