ข้อมูลติดต่อที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไทยที่เดินทาง/พำนักในอินโดนีเซีย
กรณีคนไทยที่เดินทางไปยังอินโดนีเซีย หรือพำนักอยู่ในอินโดนีเซีย ประสบเหตุฉุกเฉิน สามารถติดต่อหน่วยงานราชการของอินโดนีเซีย ตามหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินดังนี้
สถานีตำรวจนครบาลกรุงจาการ์ตา
หมายเลขโทรศัพท์
+62 2 1523 4000
สถานีตำรวจประจำ Soekarno-Hatta Airport
หมายเลขโทรศัพท์
+62 2 1550 7393
สถานีตำรวจเมืองบันดุง
หมายเลขโทรศัพท์
+62 2 2420 3500
สถานีตำรวจเมืองเด็นปาซาร์ (บาหลี)
หมายเลขโทรศัพท์
+62 3 6122 7174
สถานีตำรวจเมืองเมดาน
หมายเลขโทรศัพท์
+62 6 1452 0971
สนามบิน Soekarno-Hatta
หมายเลขโทรศัพท์
+62 2 1550 7015, +62 21 5501 6823
สนามบิน Polonia เมืองเมดาน
หมายเลขโทรศัพท์
+62 6 1456 5777, +62 6 1456 1800
สนามบิน Juanda เมืองสุราบายา
หมายเลขโทรศัพท์
+62 3 1866 7513
สนามบิน Ngurah Rai เมืองเด็นปาซาร์ (บาหลี)
หมายเลขโทรศัพท์
+62 3 6175 1011, +62 3 6175 1032
สนามบิน Hasanuddin เมืองมากัสซา
หมายเลขโทรศัพท์
+62 4 1151 0123, +62 4 1151 0283
สถานดับเพลิงกรุงจาการ์ตา
หมายเลขโทรศัพท์
+62 2 1643 4215
รถพยาบาลฉุกเฉิน
หมายเลขโทรศัพท์
+62 2 1527 3473, 118
- : Jl. DR. Ide Anak Agung Gde Agung, Kav. E3.3 No.3 (Lot 8.8), Kawasan Mega Kuningan, Jakarta 12950
- :+62 21 2932 8190 – 4, +62 21 2932 8201
- : +62 21 2932 8211, +62 21 2932 8213 (ฝ่ายกงสุล สอท.)
- หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน (Hotline) : +62 8 1118 6253
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา จัดทำคำเเนะนำสำหรับคนไทยในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูต รายละเอียดดังนี้
1.การเตรียมความพร้อมของตนเองและครอบครัวโดยทั่วไป
1.เตรียมเครื่องมือสื่อสารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อาทิ ควรชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือให้เต็มอยู่เสมอ หรือมีแบตเตอรี่สำรองติดตัว
2.เตรียมเอกสารสำคัญที่จำเป็นไว้กับตัว เช่น หนังสือเดินทาง บัญชีธนาคาร บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตรของบุตรธิดา และควรถ่ายสำเนาเอกสารไว้ทั้งหมดติดตัวตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยยืนยันในการแสดงตนและเป็นหลักฐานขอมีเอกสารใหม่ได้ในกรณีที่เอกสารฉบับจริงสูญหาย
3.เตรียมยานพาหนะให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ควรมีเครื่องมือประจำรถและแผนที่ไว้ในรถ ควรติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเสียหายจากการทุบกระจกหรือถูกขว้างปาด้วยสิ่งของ ควรเติมนํ้ามันให้เต็มถังไว้เสมอ และการใช้คนขับรถที่เป็นชาวอินโดนีเซียที่ไว้ใจได้อาจเหมาะสมกว่า ในยามที่เกิดสถานการณ์ พร้อมทั้งควรฝึกขับรถด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความมั่นใจและคุ้นเคยเส้นทาง
4.บ้าน/อพาร์ทเม้นท์ หากเป็นบ้านเช่าและไม่ได้อยู่ใน complex ซึ่งมีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี ควรเสริมรั้วให้แข็งแรงและควรติดแผ่นบังตา เพื่อไม่ให้บุคคลภายนอกเห็นในบ้านได้ ควรมีเครื่องดับไฟแบบผงเคมีแห้งขนาดเล็กที่ผู้หญิงและเด็กโตจะสามารถยกใช้ได้ไว้ประจำบ้าน ควรสำรองอาหารแห้งและอาหารสดไว้จำนวนหนึ่งในกรณีหากไม่สามารถออกจากบ้านได้ประมาณ 1 สัปดาห์ และควรสำรองแก๊สหุงต้มไว้อีก 1ถังเสมอ
5.ทรัพย์สินส่วนตัวที่จำเป็น ควรเตรียมกระเป๋าเสื้อผ้าขนาดเล็กไว้ประจำตัวทุกคน โดยในกระเป๋าควรมีเสื้อผ้า เงินสด สิ่งของจำเป็น และ ยาประจำตัว ให้พร้อมในกรณีต้องเดินทางกะทันหันและค้างคืนที่อื่น หากบ้านพักอาศัยไม่ปลอดภัย ควรเก็บของมีค่าและเอกสารสำคัญไว้กับตัว
6.หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ของบุคคลที่เป็นประโยชน์ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของสถานเอกอัครราชทูตฯ บริษัทการบินไทยกรุงจาการ์ตา บริษัทบริการตั๋วเครื่องบิน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ และสถานีดับเพลิง สนามบิน Soekarno-Hatta เพื่อสอบถามการเข้าออกของสายการบินต่างๆ
2.การปฏิบัติตนเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน/จลาจลวุ่นวาย
1.ควรติดต่อขอทราบข่าวและสถานการณ์จากแหล่งต่างๆ เช่น สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ ในกรุงจาการ์ตา เพื่อนคนไทย เพื่อนต่างชาติที่สนิทสนม (ชาวอเมริกัน ออสเตรเลีย หรือญี่ปุ่น มักจะได้รับการแจ้งเตือนข่าวสารเป็นอย่างดีจากสถานเอกอัครราชทูตของตน) โรงเรียน และข่าวสารจากทางการอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ควรใช้วิจารณญาณในการรับฟังข่าวสารอย่างเหมาะสม
2.ควรอยู่ในบ้านเมื่อเกิดสถานการณ์วุ่นวาย และติดตามข่าวสารจากจากแหล่งต่างๆ และควรติดต่อกับเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิดเพื่อยืนยันว่าตนเองและสมาชิกในครอบครัวยังปลอดภัยและสามารถติดต่อได้ หากอยู่ในที่ต่างๆ แต่ยังสามารถเดินทางกลับบ้านได้โดยปลอดภัย ให้รีบกลับบ้านโดยทันที ทั้งนี้ ควรมีแผนที่กรุงจาการ์ตาที่ทันสมัยติดรถไว้เป็นประจำและโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อแจ้งข่าวสาร ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญติดรถไว้ในช่องเก็บของหน้ารถ ในกรณีฉุกเฉิน หากเห็นว่ายังไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้โดยปลอดภัย ควรเข้าไปหลบภัย/พักพิงชั่วคราวตามโรงแรมชั้นหนึ่งซึ่งมีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี เช่น Kempinski, Mandarin Oriental หรือ Grand Hyatt จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย อนึ่ง หากทิ้งเด็กๆ ไว้ที่บ้าน ควรติดต่อให้เพื่อนบ้านหรือผู้ที่รู้จักคุ้นเคยซึ่งอยู่ใกล้บ้านนำเด็กๆ ไปดูแลชั่วคราว
3.ผู้ที่มีบ้านอยู่ในชุมชนชาวจีนหรือใกล้แหล่งชุมชนแออัดของกรุงจาการ์ตา อาจไม่ปลอดภัยจากการบุกรุก ปล้นชิง หรือการวางเพลิงของกลุ่มม็อบ กรณีที่ไม่อาจอยู่อาศัยที่บ้านได้อย่างปลอดภัยและจะต้องหาที่พำนักที่อื่น ควรติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อนฝูง บุคคลใกล้ชิดคุ้ยเคย เพื่อขอไปพำนักชั่วคราว และควรติดต่อขอทราบสถานการณ์บนเส้นทางที่จะใช้เดินทางไปว่าปลอดภัยหรือไม่ และหากจำเป็นจะต้องออกจากบ้าน ควรเป็นเวลาเช้ามืดหรือรุ่งสาง เพราะในกรุงจาการ์ตา เหตุการณ์จลาจลมักจะเกิดในตอนกลางวัน ช่วงบ่ายถึงกลางดึก และจะสลายตัวไปในช่วงดึกหรือรุ่งสาง
นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา ยังจัดทำแผนปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน สำหรับคนไทยที่อยู่ในอินโดนีเซีย สามารถดาวน์โหลดได้ในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูต
http://www.thaiembassyjakarta.com/wp-content/uploads/2019/05/EVACUATION-2019-website.pdf
การเดินทางเข้าอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ ชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปยังอินโดนีเซีย ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการขอวีซ่าอินโดนีเซีย รวมถึงกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย
ที่อยู่ 600- 602 ถนนเพชรบุรี เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ +66-225-23135,+66-225-23136
โทรสาร +66-225-51267, +66-225-51261
อีเมล [email protected]
URL ของเว็บไซต์
www.kbri-bangkok.com
www.bangkok.deplu.go.id
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเดินทางไปอินโดนีเซีย
1.ปัจจุบัน คนไทยสามารถเดินทางไปอินโดนีเซีย โดยไม่ต้องขอวีซ่า และสามารถอยู่ในอินโดนีเซียได้ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ เฉพาะกรณีของการท่องเที่ยว การเยี่ยมญาติหรือคนรู้จัก การเข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลอินโดนีเซียหรือองค์การระหว่างประเทศ งานสัมมนาวิชาการ การเดินทางผ่าน และการติดต่อธุรกิจของบริษัท ในเครือเดียวกันเท่านั้น
2.นักธุรกิจที่จะเดินทางไปติดต่อบริษัทอื่น ๆ บุคคลที่จะเดินทางไปทำงานที่อินโดนีเซีย นักเรียน/นักศึกษาต่างชาติ และผู้สื่อข่าวต่างชาติ จะต้องติดต่อขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย หรือสถานกงสุลอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลาตามปกติ และเมื่อเดินทางไปถึงอินโดนีเซีย จะต้องติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซียภายใน 30 วัน เพื่อขอรับใบอนุญาตพำนัก/ทำงานในอินโดนีเซียให้ถูกต้อง
3.เมื่อไปถึงอินโดนีเซีย จะต้องพกหนังสือเดินทางและเอกสารสำคัญไว้กับตัวตลอดเวลา เนื่องจากอาจ ถูกขอเรียกดูจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของอินโดนีเซียได้
4.กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย ขอให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ในโอกาสแรก
โดยเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
(1) ใบแจ้งความที่ออกโดยสถานีตำรวจอินโดนีเซีย
(2) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
(3) สำเนาตั๋วเครื่องบินขาเข้าและออกอินโดนีเซีย
(4) สำเนาหนังสือเดินทางเล่มที่สูญหาย
5.รัฐบาลอินโดนีเซียบังคับใช้กฎหมายด้านการตรวจคนเข้าเมืองอย่างเข้มงวด โดยผู้ที่พำนักอยู่ในอินโดนีเซียเกินเวลาที่ได้รับอนุญาต (overstay) จะถูกปรับวันละ 300,000 รูเปียห์ ในกรณีที่อยู่เกินมากกว่า 60 วัน จะถูกปรับสูงสุด 25,000,000 รูเปียห์ และมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี
6.การลักลอบนำยาเสพติดเข้าอินโดนีเซียมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกตํ่าสุด 4 ปี และปรับ 200 ล้านรูเปียห์ และมีโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
7.ผู้เสพยาเสพติดมีโทษจำคุกอย่างน้อย 1 ปี สูงสุดไม่เกิน 4 ปี
8.การค้าประเวณีเป็นความผิดตามกฎหมายมีโทษจำคุกตํ่าสุด 4 เดือน และสูงสุดไม่เกิน 1 ปี
ที่มา : http://www.thaiembassyjakarta.com/
แบบรายงานตัวคนไทยที่มีถิ่นพำนัก ณ อินโดนีเซีย : https://goo.gl/forms/xh7VWMsysCVpPv6y1