ปัญหาการกัดเซาะหน้าดิน ภัยพิบัติที่เลี่ยงไม่ได้…แต่ชะลอได้
การกัดเซาะหน้าดินเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ ที่เกิดขึ้นจาก “น้ำ” ทั้งน้ำฝนและแม่น้ำลำคลอง เมื่อกระแสน้ำรุนแรง กัดเซาะดินหรือหินทำให้หน้าดินละลายไปกับน้ำไหลไปยังพื้นที่อื่น หน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เสมือนปุ๋ยก็จะถูกกระจายไปสู่พื้นที่ที่กระจายออกไปมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พื้นที่ราบน้ำท่วมขังที่หน้าดินได้ตกตะกอนจากกระแสน้ำที่ไหลเอื่อยลงที่ความเร็วประมาณ 0.11 เมตรต่อวินาที และทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และที่ราบลุ่มกู๋ลองยาง (Cuu Long Giang) บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม แต่เมื่อการทำเกษตรกรรมรุกคืบเข้าสู่ผืนป่า ต้นไม้และพืชคลุมดินที่ป้องกันการกัดเซาะจากน้ำฝนถูกเปลี่ยนเป็นเขาหัวโล้นสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ ถั่ว และฟักทอง เป็นต้น การกัดเซาะหน้าดินจึงสูงมากขึ้น โดยเฉลี่ยประเทศไทยสูญเสียหน้าดินไปราวๆ 20 – 40 ตันต่อไร่ต่อปี จากการกัดเซาะ โดยเฉพาะพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดเอียงสูง นั่นคือปริมาณปุ๋ยตามธรรมชาติที่สูญเสียไปในแต่ละปี ไม่ใช่ว่าหน้าดินที่ถูกกัดเซาะจะกลายเป็นปุ๋ยต่อไปในที่ราบ แต่ด้วยวิธีการทำเกษตรที่มีการใช้สารพิษในการเพาะปลูก ทำให้สารเคมีเหล่านี้เจือปนสู่แม่น้ำต่างๆ ไปสู่แปลงเกษตรหรือแม้แต่การอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปี เกษตรกรจะต้องเติมปุ๋ยไปในพื้นที่เพื่อทำดินให้อุดมสมบูรณ์ เป็นจำนวน 5.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท นั่นเพราะหน้าดินที่ถูกกัดเซาะลงมาขาดคุณสมบัติในการเป็นปุ๋ย เพราะปุ๋ยตามธรรมชาติเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ของป่าบนภูเขาต้นน้ำ เมื่อไม่มีป่า หน้าดินก็ไม่อุดมสมบูรณ์อีกต่อไป จากสถานการณ์ราคาของปุ๋ยที่สูงขึ้น เนื่องจากการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่เป็นแหล่งผลิตและส่งออกปุ๋ยของโลกยืดเยื้อ ราคาปุ๋ยที่แพงขึ้นกลายเป็นภาระของเกษตรกร และยังส่งผลให้ราคาผลผลิตหรืออาหารที่สูงขึ้นกระทบไปยังผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว…