การบริหารจัดการน้ำแบบ WIRM กับการบริหารจัดการน้ำของไทยอย่างมีส่วนร่วม
“น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย แหล่งต้นน้ำถูกทำลาย” การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมีผลต่อวัฏจักรของน้ำทั่วโลกที่กำลังเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อทุกๆ ภาคส่วน เพราะน้ำถือเป็นต้นทุนของทุกๆ สิ่ง ทั้งการเกษตร อุปโภค-บริโภค อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว องค์กรหุ้นส่วนน้ำโลก (Global Water Partnership) จึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม (Integrated Water Resources Management – IWRM ) โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ น้ำจืดเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและมีความเปราะบาง การกระทำใด ๆ อาจส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพน้ำได้ การจัดการน้ำ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของผู้ใช้และผู้วางแผนและผู้กำหนดแนวนโยบายทุกระดับ สตรีมีบทบาทสำคัญในการจัดหา จัดการและดูแลรักษาน้ำ ต้องมีความเท่าเทียมในการบริหารจัดการน้ำ น้ำมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสำหรับภาคการใช้ต่างๆ และจำเป็นต้องถือว่าเป็นสินค้าเชิงเศรษฐกิจ ทั้ง 4 ข้อมีบทสรุปสั้น ๆ ได้ว่า “การบริหารจัดการน้ำจะต้องให้ความสำคัญกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งต้องมีเป้าหมายในการใช้ และดูแลรักษาทรัพยากรน้ำในทิศทางเดียวกัน” สำหรับในความเชื่อดั้งเดิมของการจัดการน้ำของไทย จะมองทรัพยากรน้ำว่าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด เสมือนทรัพยากรที่ไร้ต้นทุน จึงมีการใช้อย่างฟุ่มเฟือย และเมื่อมีผู้ใช้มาก ก็จะส่งผลให้ผู้ใช้อื่นมีโอกาสใช้น้อยลงจนขาดแคลน ไม่ใช่แค่การใช้น้ำ แต่รวมถึงการทิ้งทุกอย่างลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสียมีสารเคมีเจือปน จนส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ใกล้และใช้น้ำเสียเหล่านั้น กลายเป็นความเหลื่อมล้ำจากวงจรการใช้น้ำ…