ความมั่นคงไทยในมิติแรงงาน การศึกษา และสร้างอาชีพ
ความไม่แน่นอนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสถานการณ์ความขัดแย้งในต่างประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยเสี่ยงเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทจำนวนมากต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด หลายบริษัทจำเป็นต้องปรับต้นทุนด้วยการลดจำนวนพนักงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน พนักงานหลายคนถูกยกเลิกการจ้างงาน สถานการณ์เมื่อปี 2567 มีตัวเลขสำนักงานสถติติแห่งชาติ ระบุว่าอัตราการว่างงานของคนไทยอยู่ที่ 300,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ยังต้องดิ้นรนหางานและหารายได้ในสังคม แต่เมื่อพิจารณาดูอีกที…พวกเขาเหล่านี้อาจยังมีโอกาสที่ดีกว่าเหล่านักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาเป็นบัณฑิตจบใหม่ เพราะ HR หรือแผนกพัฒนาบุคคลของแต่ละแหล่งงานส่วนใหญ่ต้องการคุณสมบัติของพนักงงานใหม่ที่มาพร้อมกับ “ประสบการณ์” เมื่อนักศึกษาจบใหม่ เป็นกลุ่มแรงงานใหม่ที่พร้อมเข้าสู่ตลาด แต่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงานจริง จึงทำให้บัณฑิตจบใหม่จำนวนมากไม่สามารกหางานทำได้ มีข้อมูลจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย สำรวจและพบว่า บัณฑิตจำนวน ร้อยละ 65 ที่จบใหม่ หางานทำยังไม่ได้ หรือการหางานประจำนั้นต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี จึงจะได้งาน …ซึ่งปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงมนุษย์ (human security) ในระยะยาวนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่มีกลุ่มคนวัยแรงงานเป็นประชากรจำนวนมากของประเทศ ปรากฏการณ์นี้สร้างความน่าแปลกใจไม่น้อย เพราะในปัจจุบันเราเห็นกันว่า มีอาชีพใหม่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างตัวตนผ่านช่องทางออนไลน์ อาชีพ content creator หรือการทำงานฟรีแลนซ์ ซึ่งเป็นช่องทางที่สร้างรายได้ได้มหาศาล แต่แรงงานอีกร้อยละ 48 ยังคงเป็นแรงงานที่ต้องทำงานประจำ เพราะสายอาชีพอย่าง…