ญี่ปุ่น
ระบุเมื่อ 31 ส.ค.64 ตรวจพบเชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ N501S เป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะคล้ายเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อัลฟาหรือ N501Y โดยฐานข้อมูล GISAID ณ 27 ส.ค.64 ระบุว่า มีผู้ติดเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ N501S สะสม 8 ราย
ระบุเมื่อ 31 ส.ค.64 ตรวจพบเชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ N501S เป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะคล้ายเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อัลฟาหรือ N501Y โดยฐานข้อมูล GISAID ณ 27 ส.ค.64 ระบุว่า มีผู้ติดเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ N501S สะสม 8 ราย
ระบุเมื่อ 31 ส.ค.64 บรรลุข้อตกลงแลกเปลี่ยนวัคซีน COVID-19 กับออสเตรเลีย โดยสิงคโปร์จะส่งมอบวัคซีน Pfizer-BioNTech จำนวน 500,000 โดส ให้ออสเตรเลียภายในสัปดาห์นี้ และออสเตรเลียจะส่งคืนวัคซีนชนิดเดียวกันภายใน ธ.ค.64 ซึ่งสิงคโปร์จะใช้ฉีดเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นในห้วงดังกล่าว
ประกาศเมื่อ 30 ส.ค.64 ควบคุมค่าบริการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี PCR ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ โดยปรับลดเหลือ 50 ดิรฮัม (ประมาณ 440 บาท) จากเดิมที่มีการเรียกเก็บค่าบริการต่างกันในแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ 65-150 ดิรฮัม (ประมาณ 570-1,320 บาท)
ประกาศเมื่อ 30 ส.ค.64 ขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ออกไปจนถึง 30 ก.ย.64 โดยมาตรการดังกล่าวครอบคลุมถึงการห้ามเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศลงจอด และการบังคับใช้มาตรการ Stay-at-Home
สำนักข่าว CNBC ของสหรัฐฯ รายงานเมื่อ 29 ส.ค.64 ว่า เจ้าชายตุรกี อัล ฟัยศ็อล บิน อับดุลอะซีซ อาลซะอูด อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองของซาอุดีอาระเบีย (ปี 2515-2545) ทรงให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC เมื่อ 28 ส.ค.64 เกี่ยวกับความกังวลว่าอาวุธทำลายล้างสูงของสหรัฐฯ อาจตกอยู่ในความครอบครองของกลุ่มก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน เช่น กลุ่มอัลกออิดะฮ์ (AQ) และกลุ่ม Islamic State (IS) หลังจากปรากฏรายงานว่า กลุ่มตอลิบันบุกยึดอาวุธและยุทโธปกรณ์ของกองทัพอัฟกานิสถาน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ โดยเจ้าชาย ทรงระบุว่า การที่สหรัฐฯ ถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน เป็นการจัดการที่ล้มเหลวและไร้การไตร่ตรอง และซาอุดีอาระเบียอาจตกเป็นเป้าหมายแรกที่กลุ่มก่อการร้ายดังกล่าวจะก่อเหตุโจมตี ขณะเดียวกัน ทรงมองว่า คู่ขัดแย้งของซาอุดีอาระเบีย คือ อิหร่านและปากีสถาน และคู่ขัดแย้งของสหรัฐฯ คือ จีนและรัสเซีย รวมถึงกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ จะเข้ามามีบทบาทในอัฟกานิสถานมากขึ้น โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ออกแถลงการณ์ระบุว่าจะให้การสนับสนุนกลุ่มตอลิบัน ทั้งนี้ บทสัมภาษณ์ดังกล่าว เป็นบทสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศรัฐรอบอ่าวอาหรับ…
สำนักงานสื่อสารรัฐอาบูดาบี (Abu Dhabi Media Office-ADMO) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เผยแพร่ข้อความผ่านทวิตเตอร์ทางการของ ADMO เมื่อ 29 ส.ค.64 ย้ำให้ประชาชนและชาวต่างชาติที่พำนักใน UAE ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของบริษัท Sinopharm จากจีน ครบสองเข็ม เกิน 6 เดือน จำเป็นต้องเข้ารับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เพื่อให้ได้รับสถานะสีเขียว (Green Pass) บนแอปพลิเคชัน Alhosn ในโทรศัทพ์เคลื่อนที่ที่แสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และผลการตรวจเชื้อของประชาชนและชาวต่างชาติใน UAE สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าใช้บริการสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่ทางการ UAE กำหนดให้สถานที่สาธารณะทั่วประเทศ อนุญาตเฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีนครบจำนวนเข็มที่ทางการกำหนดและแอปพลิเคชัน Alhosn แสดงสถานะ Green Pass เข้าใช้บริการได้ ทั้งนี้ การผ่อนผันให้ผู้ได้รับวัคซีน Sinopharm ครบสองเข็ม ใน UAE ได้รับสถานะ Green Pass บนแอปพลิเคชัน…
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency-IAEA) เผยแพร่รายงานประจำปีอ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียมและแหล่งข่าวว่า เกาหลีเหนือยังคงดำเนินโครงการเกี่ยวกับการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งน่ากังวลและเป็นการละเมิดข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) โดยเกาหลีเหนือเปิดทำงานเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ศูนย์นิวเคลียร์ย็องบย็อน (Yongbyon complex) ตั้งแต่ต้น ก.ค.64 หลังปิดการใช้งานตั้งแต่ ธ.ค.61 ซึ่งเดิมเป็นสถานที่ผลิตพลูโตเนียม โดยมีข้อบ่งชี้จากการปล่อยน้ำหล่อเย็น นอกจากนี้ ระยะเวลาการเปิดทำงานโรงไฟฟ้าและห้องปฏิบัติการทางเคมีกัมมันตภาพรังสีตั้งแต่ ก.พ.64 สอดคล้องกับระยะเวลาการแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้วจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งใช้เวลานานกว่าการบำบัดน้ำเสียหรือการบำรุงรักษา ส่วนกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ระบุว่า เกาหลีใต้กับสหรัฐฯ ติดตามความเคลื่อนไหวด้านขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิด
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า นาย Yeo Han-koo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เกาหลีใต้ จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนากลยุทธ์ระยะยาวให้เกาหลีใต้เป็นฐานการผลิตวัคซีนโลก โดยเกาหลีใต้จะเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมวัคซีน ซึ่งเกาหลีใต้มีเครือข่ายทางการค้าเสรีกับ 57 ประเทศทั่วโลก ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์เกาหลีใต้มีแผนสนับสนุนภาคเอกชนให้เข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานดังกล่าว พร้อมสร้างแรงจูงใจสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ สอดคล้องกับท่าทีของภาคเอกชนอย่างบริษัท SK Bioscience ซึ่งเป็นฐานการผลิตวัคซีนของบริษัท AstraZeneca ในเกาหลีใต้ ส่วนบริษัท Samsung BioLogics มีแผนจะผลิตวัคซีนของบริษัท Moderna ในเกาหลีใต้ในเร็ว ๆ นี้ ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีมุน แจ-อิน ของเกาหลีใต้ ตั้งเป้าหมายให้เกาหลีใต้เป็นฐานการผลิตวัคซีนใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลกภายในปี 2568 โดยจะจัดสรรงบประมาณจำนวน 2.2 ล้านล้านวอน (1,920 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในห้วงปีดังกล่าว รวมถึงกำหนดให้การพัฒนาวัคซีนเป็น 1 ใน 3 เทคโนโลยีทางยุทธศาสตร์ควบคู่กับเซมิคอนดักเตอร์และแบตเตอรี่
เว็บไซต์สำนักข่าว Laotian Times รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 อ้างถ้อยแถลงของนายรัดตะนะไซ เพ็ดสุวัน หัวหน้ากรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุขลาว ว่า ประชาชนลาวต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ของรัฐบาลมากขึ้น เนื่องจากลาวยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในชุมชนระลอกที่สาม หลังพบประชาชนบางส่วนยังคงชุมนุม จัดงานรื่นเริง และเดินทางเข้าออกพื้นที่สีแดงโดยไม่ได้รับอนุญาต ประกอบกับพนักงานในสำนักงาน แรงงานในโรงงาน รวมถึงร้านอาหารต่าง ๆ เริ่มไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อ COVID-19 ทั้งนี้ ทางการลาวได้เรียกร้องให้ประชาชนอยู่บ้านและงดการรวมตัว อีกทั้งเรียกร้องเจ้าของกิจการให้ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐอย่างเข้มงวด และสอดส่องดูแลพนักงานของตนให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเหมาะสม
สำนักข่าวAKP ของทางการกัมพูชา รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 อ้างถ้อยแถลงของนายกอย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ยืนยันว่า รัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจรับผู้อพยพชาวอัฟกัน เพื่อให้พักอาศัยอยู่ในกัมพูชาเป็นการชั่วคราวก่อนเดินทางไปยังประเทศที่ 3 ตามหลักมนุษยธรรม ท่าทีดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน กล่าวกับสื่อมวลชนเมื่อ 28 ส.ค.64 ว่า นายกรัฐมนตรีกัมพูชา อนุมัติให้ 1) รับผู้อพยพชาวอัฟกันไม่เกิน 300 คน 2) ให้วีซาแบบ Visa on arrival และอนุญาตให้ผู้อพยพใช้บัตรประชาชนยืนยันตัวบุคคลเป็นเอกสารเดินทาง และ 3) ยกเว้นมาตรการทางกระทรวงสาธารณสุขสำหรับการเดินทางเข้ากัมพูชา แต่ยังคงมาตรการกระทรวงสาธารณสุขอื่น ๆ อาทิ ตรวจหาเชื้อ COVID-19 และกักตัวเมื่อเดินทางถึงกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ยังไม่ระบุรายละเอียด และระยะเวลาที่ผู้อพยพจะพำนักในกัมพูชา