จีน
ระบุเมื่อ 5 ส.ค.64 จะส่งมอบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 รวม 2,000 ล้านโดส ให้นานาประเทศภายในปี2564 และจะบริจาคเงิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,337 ล้านบาท) ผ่านโครงการ COVAX ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับกระจายวัคซีนให้กับประเทศกำลังพัฒนา
ระบุเมื่อ 5 ส.ค.64 จะส่งมอบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 รวม 2,000 ล้านโดส ให้นานาประเทศภายในปี2564 และจะบริจาคเงิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,337 ล้านบาท) ผ่านโครงการ COVAX ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับกระจายวัคซีนให้กับประเทศกำลังพัฒนา
ระบุเมื่อ 5 ส.ค.64 ว่า บริษัท Panacea Biotec ของอินเดีย จะผลิตวัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย สำหรับใช้ในอินเดีย จำนวน 25 ล้านโดส โดยใช้ตัวยาสำคัญ (Drug Substance) ของบริษัท Generium ซึ่งเป็นบริษัทยารัสเซีย และจะส่งมอบให้บริษัท Dr. Reddy’s Laboratories ของอินเดีย เพื่อกระจายวัคซีนต่อไป
ระบุเมื่อ 5 ส.ค.64 จะจัดสรรงบประมาณสนับสนุนบริษัทผลิตวัคซีน COVID-19 ของเกาหลีใต้ 7 แห่งรวมทั้งสิ้น 166,700 ล้านวอน (146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และจะจัดให้การพัฒนาวัคซีนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยี ปัจจุบัน วัคซีนอยู่ระหว่างทดสอบทางคลินิก ซึ่งคาดว่า จะสามารถนำออกใช้ได้ภายใน มิ.ย.65
ระบุเมื่อ 5 ส.ค.64 เตรียมประกาศเปิดประเทศรับแรงงานจากตองกา ซามัว และวานูอาตู ซึ่งไม่พบการระบาดของโรค COVID-19 ในชุมชน เข้ามาทำงานในนิวซีแลนด์ได้โดยไม่ต้องกักตัว ใน ก.ย.64 เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งแรงงานตามฤดูกาล เฉพาะอย่างยิ่งด้านเกษตรกรรม
แถลงเมื่อ 6 ส.ค.64 จะยกเว้นมาตรการกักตัวให้ผู้ที่เดินทางมาจากไต้หวัน หรือมีประวัติเดินทางไปไต้หวันในห้วง 21 วัน ก่อนเดินทางเข้าสิงคโปร์ ตั้งแต่ 7 ส.ค.64 เวลา 23.59 น. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไต้หวันดีขึ้น แต่ยังคงมีการตรวจหาเชื้อ COVID-19 เมื่อเดินทางมาถึงสนามบิน
สำนักข่าว ยอนฮับของเกาหลีใต้ รายงานเมื่อ 5 ส.ค.64 ว่า ประธานาธิบดีมุน แจ-อิน ของเกาหลีใต้ กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ประเด็นกลยุทธ์การเป็นฐานการผลิตวัคซีนของเกาหลีใต้ว่า จะจัดตั้งการพัฒนาวัคซีนเป็น 1 ใน 3 เทคโนโลยีทางยุทธศาสตร์ควบคู่กับเซมิคอนดักเตอร์และแบตเตอรี่ ซึ่งจะจัดสรรงบประมาณจำนวน 2.2 ล้านล้านวอน (1,920 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2569 รวมถึงดึงดูดการลงทุนจากบริษัทระดับโลกและจากต่างประเทศ ปัจจุบัน การพัฒนาวัคซีน COVID-19 ในเกาหลีใต้อยู่ระหว่างเตรียมทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ใน ส.ค.64 และคาดการณ์ว่า วัคซีนดังกล่าวจะเข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะสุดท้ายในสิ้นปี 2564 ก่อนใช้เชิงพาณิชย์ภายในห้วงครึ่งแรกของปี 2565 โดยบริษัทผลิตวัคซีนของเกาหลีใต้จำนวน 7 แห่ง จะได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 166,700 ล้านวอน (146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2564 เพื่อส่งเสริมการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ซึ่งบางบริษัทอยู่ระหว่างพัฒนาวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA โดยรัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาและวิจัยขั้นสูงในเทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากนี้ เกาหลีใต้จะงดจัดเก็บภาษีของบริษัทผลิตยาที่วิจัยเกี่ยวกับวัคซีนหรือลงทุนในโรงงานผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมถึงส่งเสริมบุคลากรในอุตสาหกรรมชีวการแพทย์…
หนังสือพิมพ์ China Daily รายงานเมื่อ 4 ส.ค.64 ว่า บริษัทหัวเว่ย แถลงระหว่างการประชุม Huawei Cloud Spark Founders Summit ครั้งที่ 1 ที่จัดพร้อมกันในสิงคโปร์และฮ่องกง ว่า จะจัดสรรงบประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในห้วงปี 2564-2566 เพื่อสนับสนุนโครงการ “Spark Program” ที่บริษัทต้องการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการพัฒนาบริษัทสตาร์ทอัปในเอเชีย-แปซิฟิก โดยที่ผ่านมาสนับสนุนให้ไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซีย สร้างศูนย์กลางสตาร์ทอัปของตนเอง และจะสนับสนุนการสร้างศูนย์กลางสตาร์ทอัปเพิ่มเติมในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม โดยต้องการให้มีบริษัทสตาร์ทอัป 1,000 บริษัทเข้าร่วม Spark Program และพัฒนาให้มี 100 บริษัทที่เติบโตได้
หนังสือพิมพ์ China Daily รายงานเมื่อ 3 ส.ค.64 ว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนเมื่อปี 2563 มีมูลค่ารวม 5.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 จากเมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มที่เร็วที่สุดในโลก ทั้งนี้ จีนแถลงสถิติดังกล่าวระหว่างงาน Global Digital Economy Conference ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งนายจ้วง หรงเหวิน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการไซเบอร์สเปซของจีน แถลงว่า เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งเป็นตัวกระตุ้นใหม่ต่อการพัฒนาคุณภาพสูง ในห้วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเปราะบาง
สำนักข่าว VNA ของเวียดนาม รายงานเมื่อ 4 ส.ค.64 ว่า การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน-อินเดีย จัดขึ้นในวันเดียวกันผ่านการประชุมทางไกล โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะรักษาและยกระดับความร่วมมือผ่านการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียน-อินเดีย ปี 2564-2568 อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะจัดลำดับความสำคัญในการส่งเสริมการค้า การลงทุน ความเชื่อมโยง (connectivity) ความร่วมมือทางทะเล เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (blue economy) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การป้องกันภัยธรรมชาติ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการลดช่องว่างของการพัฒนา นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเน้นย้ำความช่วยเหลือร่วมกันในการตอบสนองต่อโรค COVID-19 โดยอาเซียนชื่นชนความช่วยเหลือของอินเดียที่ให้เงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโรค COVID-19 (COVID-19 ASEAN Response Fund) และหวังที่จะยกระดับความร่วมมือกับอินเดียเพื่อเพิ่มความพยายามสำหรับการฟื้นฟูอย่างครอบคลุมและยั่งยืนในภูมิภาค ด้านความมั่นคง อินเดียยืนยันสนับสนุนบทบาทของอาเซียนและความพยายามที่จะส่งเสริมการเจรจาและการประนีประนอมในเมียนมา และจะทำงานใกล้ชิดกับอาเซียนเพื่อสนับสนุนความพยายามในการรักษาสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาค รวมถึงความมั่นคงและความปลอดภัยทางทะเลในทะเลจีนใต้ ทั้งนี้ อินเดียเสนอให้ปี 2565 เป็นปีแห่งมิตรภาพของอาเซียน-อินเดียเพื่อเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงการครบรอบความสัมพันธ์ 25 ปีของการเป็นคู่เจรจา และ…
สำนักข่าว JIJI Press รายงานข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขฯ ของญี่ปุ่นเมื่อ 5 ส.ค.64 ว่า พบผู้มีอาการแพ้แบบรุนแรง (anaphylaxis) ต่อวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของ บริษัทPfizer 5 กรณีต่อการฉีด 1 ล้านโดส ในญี่ปุ่น ขณะที่พบผู้มีอาการแพ้แบบรุนแรงต่อวัคซีนของ Moderna 2 กรณีต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านโดส และข้อมูลจนถึง 30 ก.ค.64 มีผู้เสียชีวิต 912 รายหลังจากได้รับวัคซีน Pfizer และเสียชีวิต 7 รายหลังได้รับวัคซีน Moderna อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้เสียชีวิตดังกล่าวได้รวมถึงผู้เสียชีวิตด้วยโรคชรา และยังไม่มีการยืนยันถึงสาเหตุการเสียชีวิตว่ามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการฉีดวัคซีนของทั้งสองบริษัทหรือไม่ ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นรวบรวมจากสถิติการฉีดวัคซีนในประเทศญี่ปุ่นจนถึง 25 ก.ค.64 ที่ฉีดวัคซีนของ Pfizer ไปแล้ว 74.14 ล้านโดส และวัคซีนของ Moderna 3.59 ล้านโดส