WHO
ระบุเมื่อ 31 ส.ค.64 ติดตามการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ B.1621 (Mu) ที่พบครั้งแรกเมื่อ ม.ค.64 ที่โคลอมเบีย ซึ่งมีความเสี่ยงที่เชื้อจะลดทอนประสิทธิภาพวัคซีนและหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้
ระบุเมื่อ 31 ส.ค.64 ติดตามการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ B.1621 (Mu) ที่พบครั้งแรกเมื่อ ม.ค.64 ที่โคลอมเบีย ซึ่งมีความเสี่ยงที่เชื้อจะลดทอนประสิทธิภาพวัคซีนและหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้
ในซอยเล็ก ๆ กลางไทเป ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าซ่งเจียงหนานจิง เป็นที่ตั้งของรูปปั้นเทพเจ้าฮินดู สิ่งศักดิ์สิทธิ์จากอินเดียที่กำลังมีบทบาทต่อการเสริมสร้างพลังใจให้ชาวใต้หวัน โดยเฉพาะคนรุ่นหนุ่มสาว พื้นที่เล็ก ๆ บริเวณหัวมุมถนนคลุมไว้ด้วยเต๊นท์ผ้าใบสีแดงสด ปิดบังบรรยากาศภายในไว้ด้วยกระถางใส่ดอกไม้สดนับร้อยช่อ และพวงมาลัยเจ็ดสีหลายศอกแขวนยาวเป็นพืด ให้อารมณ์เหมือนเป็นร้านขายดอกไม้ที่ปากคลองตลาดผสมกับศาลใต้ต้นไทรท้ายซอย ต้องเดินผ่านประตูรั้วและมองทะลุควันธูปเข้าไป จึงจะเห็นว่าเป็น “พระพรหม” ที่ประดิษฐานเป็นประธานอยู่ข้างในนั้น ตามที่ชื่อสถานที่บอกไว้ว่าที่แห่งนี้คือ “Changchun Phra Phrom” หรือศาลพระพรหมฉางชุน ผมเจอสถานที่แห่งนี้โดยบังเอิญบน Google Map ขณะเดินเล่นที่ไต้หวัน สิ่งที่เตะตาจนสงสัยและถึงกับต้องตามไปดูของจริงก็ด้วยการสะกดคำว่าพระพรหมตามแบบราชบัณฑิตไทยว่า “Phra Phrom” ซึ่งต่างจากการสะกดว่า “Brahma” ตามแบบสากล ซึ่งทำให้อนุมานได้ว่าน่าจะเป็นพระพรหมที่ไต้หวันได้อิทธิพลมาจากไทยมากกว่าอินเดีย ก็เลยสงสัยขึ้นมาถึงที่มาที่ไปว่าพระพรหมของไทยมาโผล่อะไรเอาตรงนี้ ในซอยเล็กริมถนนใหญ่ที่เป็นย่านธุรกิจสำคัญของไทเป เมื่อเดินหลุดผ่านรั้วเข้าไปในศาลพระพรหมฉางชุน เหมือนกับว่าผ่านประตูทะลุมิติโผล่ที่ไทย บรรยากาศบ้านเมืองแบบไต้หวันที่เคยรายรอบหายไป แทนที่ด้วยสิ่งแวดล้อมคุ้นตา พระพรหมสี่หน้า กระถางธูป ดอกดาวเรือง เครื่องทองเหลือง ฯลฯ ประกอบกันแล้วเหมือนเป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ในมุมหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีเพียงชาวไต้หวันเป็นสิ่งยืนยันว่าตอนนี้ยังอยู่บนแผ่นดินไต้หวัน ตลอดเวลาที่ผมอยู่ที่นั่น ศาลเล็ก ๆ แห่งนี้มีชาวไต้หวันที่ศรัทธาเดินเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ประมาณด้วยสายตาแล้วส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาววัยทำงานหรือกำลังเรียน…
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ รายงานเมื่อ 31 ส.ค.64 อ้าง เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ว่า การโน้มน้าวให้เกาหลีเหนือกลับสู่การเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ควรเป็นนโยบายเร่งด่วน หลังทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency-IAEA) รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า เกาหลีเหนือรื้อฟื้นการทำงานเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ศูนย์นิวเคลียร์ย็องบย็อน (Yongbyon complex) ตั้งแต่ต้น ก.ค.64 หลังปิดการใช้งานตั้งแต่ ธ.ค.61 โดยมีความเป็นไปได้สูงว่า อาจเป็นการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ นอกจากนี้ เกาหลีใต้กับสหรัฐฯ แสดงท่าทีเชิงรุกเพื่อรื้อฟื้นการเจรจากับเกาหลีเหนือบนพื้นฐานของทัศนะร่วมต่อสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีในปัจจุบัน ทั้งนี้ เกาหลีใต้กับสหรัฐฯ ยังคงติดตามการพัฒนาขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิด
หนังสือพิมพ์Global Times รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า กองทัพจีนจะส่งทหารกว่า 550 นายพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ร่วมซ้อมรบกับประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organisation-SCO) ภายใต้รหัส Peace Mission-2021 ที่ Orenburg ของรัสเซียระหว่าง 11-25 ก.ย.64 ซึ่งครอบคลุมการลาดตระเวนและการเฝ้าติดตาม การโจมตี การปิดล้อม และการปราบปรามผู้ก่อการร้าย รวมทั้งการต่อต้านการโจมตีด้วยโดรน อีกทั้งจะเป็นครั้งแรกที่จีนใช้การขนส่งทางรถไฟข้ามพรมแดนจากเขตปกครองตนเองมองโกเลียในไปยังรัสเซียระยะทางรวม 6,300 กิโลเมตร นอกจากนี้ จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการซ้อมร่วมกองกำลังรักษาสันติภาพระหว่างประเทศกับปากีสถาน มองโกเลีย และไทยภายใต้รหัส Shared Destiny-2021 ที่มณฑลเหอหนาน ระหว่าง 6-15 ก.ย.64
สำนักข่าวAl Jazeera รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติของแอฟริกาใต้ (National Institute for Communicable Diseases-NICD) แถลงว่านักวิทยาศาสตร์ชาวแอฟริกาใต้ให้ความสนใจเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีการกลายพันธุ์หลายครั้ง เรียกว่าสายพันธุ์ C.1.2 เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ที่เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วโลกเกือบ 2 เท่า แต่ยังตรวจพบไม่มาก และยังไม่ทราบว่าจะตอบสนองอย่างไรต่อวัคซีน ขณะนี้ตรวจพบสายพันธุ์ C.1.2 ในแอฟริกาใต้ 9 จังหวัด และในพื้นที่อื่นทั่วโลก เช่น จีน มอริเชียส นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร ทั้งยังมีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับสายพันธุ์ C.1.2 โดย KwaZulu-Natal Research and Innovation and Sequencing Platform เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีการตรวจสอบบทความดังกล่าว ปัจจุบันการติดเชื้อ COVID-19 ในแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลตา แอฟริกาใต้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รุนแรงที่สุดในแอฟริกา โดยแอฟริกาใต้เผชิญการแพร่ระบาดระลอกที่สองเมื่อ ธ.ค.63-ม.ค.64 จากสายพันธุ์เบตา การระบาดระลอกที่สามในปัจจุบันจากสายพันธุ์เดลตา…
สำนักข่าวNaharnet รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า การที่เลบานอนยังไม่จัดตั้งรัฐบาลทำให้ไม่สามารถลงนามข้อตกลงนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากอียิปต์ได้ ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมาย เทคนิค และการเงิน หากเลบานอนจัดตั้งรัฐบาลและมีการลงนามในข้อตกลงนำเข้าก๊าซกับอียิปต์แล้ว อียิปต์สามารถส่งก๊าซไปยังเลบานอนได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่สองแห่งของเลบานอน นอกจากนี้ อียิปต์ยังสามารถจัดส่งก๊าซไปยังจอร์แดนเพื่อให้จอร์แดนผลิตไฟฟ้าแก่เลบานอนโดยส่งไฟฟ้าผ่านซีเรีย
สำนักข่าวNHK รายงานเมื่อ 31 ส.ค.64 ว่า มหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรมแห่งกรุงโตเกียว ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดกลายพันธุ์ใหม่ N501S เป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายกับการกลายพันธุ์ในไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อัลฟาหรือ N501Y ในสหราชอาณาจักร โดยจากฐานข้อมูล GISAID (Global Initiative on Sharing All Influenza Data) ณ 27 ส.ค. 64 มีผู้ติดเชื้อไวรัส N501S ในญี่ปุ่น 8 ราย ทั้งหมดไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อของมหาวิทยาลัยฯ กำลังศึกษา ติดตามการเปลี่ยนแปลง และรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมว่าไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้จะมีความรุนแรงหรือมีอัตราการแพร่กระจายเชื้อที่มากกว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตาซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดในญี่ปุ่นหรือไม่
หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นัลรายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 อ้างรายงานของ สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ (Federal Bureau of Investigation-FBI) ว่า จำนวนอาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเมื่อปี 2563 สูงสุดในรอบ 11 ปี ส่วนมากเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 การเหยียดเชื้อชาติ และเหยียดสีผิว โดยอาชญากรรมและความรุนแรงที่เกิดจากการเหยียดสีผิวเพิ่มร้อยละ 40 จากการเหยียดคนเอเชียเพิ่มร้อยละ 70 และจากการเหยียดคนผิวขาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 อย่างไรก็ดี อาชญากรรมจากความเกลียดชังชาวยิวและชาวมุสลิมลดลงร้อยละ 30 และร้อยละ 42 ตามลำดับ ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมจากความเกลียดชัง โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับการฝึกเจ้าหน้าที่และเพิ่มช่องทางการรายงานเหตุความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่รัฐ
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 อ้าง พลเอกแฟรงค์ แม็คเคนซีย์ ผู้บัญชาการกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ ว่า สหรัฐฯ ถอนทหารและยุทโธปกรณ์ออกจากอัฟกานิสถานเสร็จตามกำหนดการใน 31 ส.ค.64 ซึ่งเป็นการยุติสงครามที่ยาวนาน 20 ปีของสหรัฐฯ พร้อมกันนี้ สหรัฐฯ ยุติปฏิบัติการอพยพพลเมืองและนักการทูตอเมริกัน ชาวต่างชาติ และชาวอัฟกันออกจากพื้นที่ ด้านประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดน กล่าวขอบคุณทหารอเมริกันที่ปฏิบัติการอพยพคนออกจากพื้นที่ในห้วงที่อันตราย โดยสหรัฐฯ สามารถอพยพคนออกจากคาบูล อัฟกานิสถานกว่า 122,000 คน ทั้งนี้ ผู้บัญชาการกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ ยืนยันว่าไม่มีชาวอเมริกันที่ต้องการออกจากคาบูลเหลืออยู่ ส่วนภารกิจด้านการทูตของสหรัฐฯ จะย้ายจากคาบูลไปยังโดฮา กาตาร์
เว็บไซต์ข่าวองค์การสหประชาชาติ (United Nations-UN) รายงานเมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) มีมติเรียกร้องกลุ่มตอลิบันให้ความสำคัญกับการต่อต้านการก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน และสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อาทิ อำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการออกจากอัฟกานิสถาน อนุญาตให้ประชาคมระหว่างประเทศสามารถส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าไปยังอัฟกานิสถาน และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เฉพาะอย่างยิ่งต่อสตรีและเด็ก นอกจากนี้ UNSC ยังประณามการก่อเหตุระเบิดรุนแรง บริเวณสนามบินนานาชาติ Hamid Karzai ในกรุงคาบูล เมื่อ 26 ส.ค.64 โดยกลุ่ม IS สาขาจังหวัดโคราซาน (Islamic State of Iraq and the Levant – Khorasan Province-ISKP) ออกมาอ้างความรับผิดชอบ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 150 คน และผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 ราย ทั้งนี้ มติดังกล่าวเสนอโดยสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ได้รับการลงคะแนนเสียงข้างมาก 13…