สิงคโปร์
ระบุเมื่อ 26 พ.ย.64 จะไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่มีประวัติเดินทางมาจากบอตสวานา เอสวาตีนี เลโซโท โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว ในห้วง 14 วัน เดินทางเข้าประเทศหรือต่อเครื่องบินตั้งแต่ 27 พ.ย.64 เวลา 23.59 น.
ระบุเมื่อ 26 พ.ย.64 จะไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่มีประวัติเดินทางมาจากบอตสวานา เอสวาตีนี เลโซโท โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว ในห้วง 14 วัน เดินทางเข้าประเทศหรือต่อเครื่องบินตั้งแต่ 27 พ.ย.64 เวลา 23.59 น.
ระบุเมื่อ 26 พ.ย.64 เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวจากไทยที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้เดินทางเข้าสิงคโปร์ด้วยช่องทางพิเศษชนิด Vaccinated Travel Lane (VTL) โดยไม่ต้องกักตัว ตั้งแต่ 14 ธ.ค.64 และจะเพิ่มกัมพูชา ฟิจิ มัลดีฟส์ ศรีลังกา และตุรกี ให้อยู่ในกลุ่ม VTL เช่นเดียวกับไทย ใน 16 ธ.ค.64
ระบุเมื่อ 26 พ.ย.64 จะเริ่มเปิดให้เที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศทำการบินเข้า-ออกอินเดีย ใน 15 ธ.ค.64 หลังจากอินเดียมีคำสั่งห้ามเที่ยวบินระหว่างประเทศของสายการบินพาณิชย์ทำการบินเข้าอินเดีย ตั้งแต่ 23 มี.ค.63 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทั่วโลก
ระบุเมื่อ 26 พ.ย.64 บริษัท Serum Institute of India (SII) เริ่มจัดส่งวัคซีน Covishield ให้โครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) และพันธมิตรอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลอินเดียสั่งระงับการส่งออกวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชั่วคราว ตั้งแต่ มี.ค.64 เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ
ราซิลถูกกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศออสเตรียฟ้องร้องต่อศาลโลกในข้อหา “ก่ออาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม” เนื่องจากเขาเป็นต้นเหตุที่ทำให้พื้นที่ของป่าอเมซอนลดลง จากนโยบายการส่งเสริมการทำเกษตรในประเทศ ทำให้ป่าอเมซอนมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนได้น้อยลงอย่างต่อเนื่องกว่า 278%
เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564 ชาวเมียนมาจำนวน 21 คน ได้สูญหายไปในทะเลระหว่างการเดินทางไปทำบุญที่เจดีย์ไจ๊แน ซึ่งตั้งอยู่กลางเนินหินในทะเล ใกล้เมืองตาน-พยูซะยะ รัฐมอญ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากระหว่างที่ชาวเมียนมาเดินเท้าไปทำบุญ ก็เกิดน้ำทะเลหนุนสูงฉับพลันขึ้น อุบัติเหตครั้งนี้เกิดขึ้นในห้วงเดียวกับที่กรุงเทพมหานครเผชิญน้ำท่วมเฉียบพลันจากน้ำทะเลหนุนสูง โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำทะเลหนุนสูงอย่างรวดเร็วจนทำให้น้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่สามารถไหลระบายลงทะเลได้ ประกอบกับปริมาณน้ำเหนือหรือน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมากอยู่แล้วจากปริมาณฝนที่ตกลงมาเกินความจุของแม่น้ำ น้ำจึงล้นตลิ่งเอ่อท่วมไปยังชุมชนจนได้รับความเดือดร้อนไปตาม ๆ กัน สถานการณ์เหล่านี้เป็นการส่งสัญญาณเตือนเราอีกครั้งว่า การบริหารจัดการน้ำที่ดีต้องมีทั้งการระบายน้ำ และต้องคำนึงถึงระยะเวลาของ “น้ำขึ้น-น้ำลง” ด้วย เนื้อเพลงท่อนหนึ่งที่คุ้นหูจาก เพลงลอยกระทง “…วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองตลิ่ง…” บ่งบอกว่า ในช่วงปลายปี ปริมาณของน้ำในแม่น้ำและคลองจะเอ่อเต็ม เนื่องจากน้ำฝนหลังฤดูฝนไหลลงมาเจอกับน้ำทะเลขึ้น และเป็นผลจากปรากฏการณ์ “น้ำขึ้น-น้ำลง” ที่น้ำถูกแรงดึงดูดของดวงจันทร์ (Tidal force) ดึงให้สูงขึ้นตามลักษณะการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ในรอบเดือน และเมื่อการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ใน 1 ปี ทำให้เกิดการเรียงตัวของ โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ในแนวที่แตกต่างกัน ซึ่งแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ก็จะช่วยเสริมให้เกิด น้ำขึ้น-น้ำลงที่รุนแรงมากขึ้นในแต่ละช่วงปี แม้ปรากฏการณ์ “น้ำขึ้น-น้ำลง” ที่เกิดจากดวงจันทร์จะทำให้ชุมชนริมน้ำต้องคอยระวังน้ำท่วม อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น กรณีอุบัติเหตุเรือบรรทุกสินค้าเอเวอร์…
ทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2564 ว่า ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนของสหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำประชาธิปไตย หรือ Summits for Democracy ระหว่าง 9-10 ธันวาคม 2564 โดยเป็นการประชุมแบบออนไลน์ ที่สหรัฐฯ เชิญผู้นำต่างประเทศ ผู้นำภาคประชาสังคม และภาคเอกชนเข้าร่วม เพื่อร่วมกันฟื้นฟูค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้แข็งแกร่ง ควบคู่ไปกับต่อต้านค่านิยมเผด็จการและอำนาจนิยม และการคอร์รัปชัน การประชุม Summits for Democracy นี้เป็นการประชุมครั้งแรก และจะถือว่าเป็นความคืบหน้าของประธานาธิบดีไบเดนที่จะ “ทำตามสัญญา” เพราะเขาได้หาเสียงไว้ตั้งแต่ก่อนชนะการเลือกตั้งว่าจะจัดการประชุมดังกล่าว เพื่อรวมผู้ที่สนับสนุนประชาธิปไตยและมีค่านิยมสอดคล้องกับสหรัฐฯ ให้มาร่วมแสดงพลังด้วยการแถลงนโยบาย ให้คำมั่น เสนอแผนปฏิรูป รวมทั้งหารือกันเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายที่ประชาธิปไตยกำลังเผชิญ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผูกโยงอยู่กับประเด็น “ประชาธิปไตย” และ “สิทธิมนุษยชน” ตลอดจนกำหนดเป้าหมายใหม่ ๆ ไปด้วยกัน นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังเป็นโอกาสให้สหรัฐฯ ได้สร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลประเทศอื่น ๆ รวมไปถึงภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชนที่สามารถแสดงบทบาทในเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยด้วย นี่คือตัวอย่างของความพยายามแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ อย่างครอบคลุม…
นับตั้งแต่ชาวโลกเริ่มได้ยินเรื่องของเชื้อไวรัสซาร์สสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่ระบาดในจีนตั้งแต่ธันวาคม 2562 ปัจจุบันก็เกือบจะครบรอบ 2 ปีแล้วที่เราอยู่กับโรค COVID-19 หลายชีวิตที่จากไป ธุรกิจมากมายที่ล้มลง และอีกหลายหลายผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยไม่มีพื้นที่และมิติใดของสังคมที่หลบเลี่ยงไปได้ วิกฤตครั้งนี้คือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์อย่างมากมายที่สุดในรอบศตวรรษ และจริงอยู่ที่ว่าผลกระทบก็ยังดำเนินต่อเนื่อง แต่หากมองผ่านกรอบแว่นของผู้ศรัทธาในความเป็นมนุษย์และทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่เชื่อว่าความพิเศษของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์คือการปรับตัวและวิวัฒน์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ตอนนี้ก็คงจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องข้ามให้พ้นโลกยุค COVID-19 คือการมองไปข้างหน้าว่าโลกหลังยุค COVID-19 จะเป็นเช่นใด และเราจะอยู่กับโลกแบบนั้นอย่างไร 1. โลกของ “ปัจเจกที่รวมกลุ่มกันตามความสมัครใจอย่างไร้พรมแดน” การก่อกำเนิดและเติบโตของสื่อสังคมออนไลน์ตั้งแต่เริ่มต้นศตวรรษที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๔๓) จนถึงปัจจุบัน นํามาซึ่งการเสื่อมถอยของการผูกขาดอำนาจรัฐด้านการใช้สื่อเพื่อกำหนดอัตลักษณ์และค่านิยมร่วมกันของสังคม จากการที่สื่อสังคมออนไลน์ทําให้รัฐสูญเสียอํานาจในการผูกขาดสื่อมวลชนที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทางการเล่าเรื่อง (narrative) กลุ่มคนชายขอบที่ไม่เคยมีที่ยืนในสังคมสามารถครอบครองสื่อสังคมออนไลน์และรวมกลุ่มกันได้โดยไม่ต้องมีต้นทุน สังคมโลกยุคใหม่จึงเต็มไปด้วยอัตลักษณ์และค่านิยมหลากหลาย ทั้งที่เคยถูกกดทับไว้ และที่เพิ่งถือกําเนิดขึ้นมา “ปัจเจกที่รวมกลุ่มกันตามสมัครใจอย่างไร้พรมแดน” เป็นตัวแสดงที่เพิ่มบทบาทจนอาจจะเป็นตัวแสดงหลักของสังคมระหว่างประเทศในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อถูกเสริมแรงด้วยวิกฤตโรค COVID-19 ที่ทำให้ปัจเจกบางกลุ่มสูญเสียความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐ 2. การรุกกลับของรัฐ แต่ในอีกทางหนึ่ง วิกฤตโรค COVID-19 ก็เป็นเหตุผลที่ดีที่รัฐใช้อ้างความชอบธรรมในการทวงคืนและเพิ่มพูนอำนาจรัฐที่เริ่มเสื่อมถอยหลังจากที่แนวคิดโลกาภิวัตน์โดดเด่นขึ้นมาเป็นกระแสหลักที่ใช้อธิบายลักษณะของสังคมโลกห้วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา โดยมีสื่อมวลชนและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเร่งสังคมโลกหลอมรวมเป็นสังคมเดียวกันที่ไร้พรมแดน แต่การอุบัติของโรค COVID-19 ทำให้เส้นเขตแดนที่เริ่มเลือนสลายกลับชัดเจนและเข้มข้นยิ่งขึ้น รัฐแต่ละรัฐกลับไปตระหนักถึงสภาพความเป็นอนาธิปไตยของประชาคมระหว่างประเทศ ที่“การต่อสู้เพื่อความอยู่รอด” จะสำเร็จได้ก็ด้วยการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก…
เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา หน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา เสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างจีน-อินเดียต่อสภาคองเกรส โดยเอกสารฉบับดังกล่าวนั้นมีการกล่าวถึงปัญหาข้อพิพาทระหว่างสองประเทศ ไปจนถึงการเจรจาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาทางด้านพรมแดนระหว่างกัน . เอกสารดังกล่าวระบุว่า “ความก้าวหน้าในการเจรจาเรื่องพรมแดนระหว่างจีน-อินเดียนั้น มีอยู่อย่างจำกัด พร้อมระบุว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากฝั่งจีนเป็นสำคัญ” แต่ที่ถือเป็นจุดเน้นสำคัญของเอกสารฉบับนี้คือการระบุว่า จีนมีความพยายามในการกดดันอินเดียอย่างมากและใช้ยุทธวิธีมากมายเพื่อครอบครองดินแดนพิพาท . และที่ปรากฏในเอกสารคือการจัดตั้งหมู่บ้านของพลเรือนตามแนวพรมแดนพิพาทระหว่างจีน-อินเดีย ทั้งนี้เอกสารยังลงรายละเอียดว่าจีนได้มีการตั้งหมู่บ้านในเขตพิพาทระหว่างสอง ประเทศด้วย นั่นคือในดินแดนรัฐอรุณาจัลประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว . เมื่อเอกสารฉบับดังกล่าวได้เผยแพร่ออกมาไม่นานนัก สำนักข่าวและผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคงระหว่างประเทศได้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณรัฐอรุณาจัลประเทศอีกครั้งอย่างละเอียด ซึ่งข้อมูลตามการรายงานของฝั่งอินเดียพบสิ่งผิดปกติมากมาย . กล่าวคือจากการสำรวจจากภาพถ่ายทางดาวเทียม พบว่าในบริเวณพื้นที่พิพาทเหนือรัฐอรุณาจัลประเทศนั้น มีหมู่บ้านของจีนเกิดขึ้นใหม่จำนวนหลายหลังคาเรือน จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่าหมู่บ้านเหล่านี้ถูกจัดตั้งเลยออกมาจาก “เส้นควบคุมตามจริง (Line of Actual Control)” เข้ามาในฝั่งอินเดีย . แม้ว่าจะมีการทำรายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องการสร้างหมู่บ้านของจีนตามแนวพรมแดนของอินเดีย หรือแม้กระทั่งบางส่วนถูกมองว่าล้ำเข้ามาในเขตของอินเดียด้วยซ้ำ สิ่งที่น่าสนใจคือหน่วยงานของอินเดียมักปฏิเสธเรื่องที่เกิดขึ้น . ยกตัวอย่างเช่นสำนักข่าว NDTV ของอินเดียได้สอบถามถึงเรื่องดังกล่าวไปยังกองทัพบกของอินเดีย ซึ่งได้ตอบกลับมาว่า “พื้นที่ดังกล่าวตามพิกัดอ้างอิงนั้นอยู่บริเวณตอนเหนือของเส้นควบคุมตามจริงซึ่งอยู่ในอาณาเขตของจีน” . นอกจากการตอบข้อสงสัยดังกล่าวจากทางกองทัพอินเดียแล้ว ไม่มีหน่วยงานอื่นใดของรัฐบาลอินเดียให้คำตอบต่อเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม จึงยังคงเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่าสุดท้ายแล้วหมู่บ้านจำนวนมากที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในเขตของอินเดียหรือไม่ . แม้ว่าปริศนาดังกล่าวจะยังไม่ถูกไขให้กระจ่างชัด แต่เป็นที่ยอมรับกันว่านับตั้งแต่อินเดียเกิดปัญหาการเผชิญหน้ากันเมื่อปี 2563 รัฐบาลจีนได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงตามแนวพรมแดนทิเบตกับอินเดียอย่างมาก มีการปฏิรูประบบกองทัพใหม่…
หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานเมื่อ 24 พ.ย.64 ว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ตั้งกลุ่มงาน Airborne Object Identification and Management Synchronization Group ภายใต้การกำกับดูแลของปลัดกระทรววงกลาโหมสหรัฐฯ ผ่านกิจการข่าวกรอง เพื่อดำเนินภารกิจสืบสวนปรากฏการณ์ทางอากาศที่ไม่พบหลักฐาน (unidentified aerial phenomena) ในพื้นที่ที่มีความละเอียดอ่อนด้านความมั่นคงในสหรัฐฯ ซึ่งกลุ่มงานดังกล่าวจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ข่าวกรองจากสำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ทำหน้าที่ตรวจจับ ป้องกันและพิสูจน์อัตลักษณ์อากาศยานดังกล่าวที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก่อตั้งหน่วยงานดังกล่าวขึ้นเมื่อ มิ.ย.64 ภายหลังหน่วยความมั่นคงสหรัฐฯ ไม่สามารถอธิบาย หรือระบุที่มาของปรากฏการณ์ทางอากาศที่ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างน้อย 143 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ได้