กัมพูชา
ระบุเมื่อ 13 ธ.ค.64 รับมอบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จากโครงการ COVAX จำนวน 300,000 โดส (ไม่ระบุชนิดวัคซีน) ณ ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ทำให้ปัจจุบันกัมพูชามีวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สะสมกว่า 40.8 ล้านโดส
ระบุเมื่อ 13 ธ.ค.64 รับมอบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จากโครงการ COVAX จำนวน 300,000 โดส (ไม่ระบุชนิดวัคซีน) ณ ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ทำให้ปัจจุบันกัมพูชามีวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สะสมกว่า 40.8 ล้านโดส
ระบุเมื่อ 13 ธ.ค.64 จะเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้เด็กอายุ 6-11 ปี ใน 14 ธ.ค.64
ประกาศเมื่อ 12 ธ.ค.64 จะเปลี่ยนสถานะการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในบรูไน จากระยะโรคระบาด (Pandemic) เข้าสู่ระยะการเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ตั้งแต่ 15 ธ.ค.64 เป็นต้นไป
ประกาศเมื่อ 12 ธ.ค.64 ยกระดับการแจ้งเตือนการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จากระดับ 3 เป็นระดับ 4 (มีความเสี่ยงสูงจะแพร่ระบาดรุนแรง) จากทั้งหมด 5 ระดับ หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรได้แจ้งเตือนพบการหลอกลวงฟิชชิ่ง (Phishing) รูปแบบใหม่ โดยมิจฉาชีพจะส่งข้อความ อีเมล รวมถึงโทรศัพท์ ไปยังเป้าหมายและได้ปรับแต่งข้อความดังกล่าวให้มีลักษณะคล้ายว่ามาจาก National Health Service (NHS)
Spar Supermaket ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกในสหราชอาณาจักรซึ่งมีสาขากว่า 2,600 แห่ง ถูกโจมตีทางออนไลน์ ทำให้ร้านปลีกในเครือหลายแห่งต้องปิดทำการ รวมถึงร้านค้าปลีกที่อยู่ในสถานีบริการน้ำมันต้องปิดทำการตั้งแต่ 5 ธ.ค.64 เนื่องจากถูกโจมตีทางไซเบอร์
สำนักข่าวอิระวดี รายงานเมื่อ 9 ธ.ค.64 ว่า สหภาพแห่งชนชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union-KNU) เปิดเผยว่ามีการปะทะกับกองทัพเมียนมา 481 ครั้ง ในห้วง ต.ค.-พ.ย.64 บริเวณรัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ และภาคพะโค ส่งผลให้ทหารเมียนมาเสียชีวิต 461 คน และบาดเจ็บ 425 คน ขณะที่กำลังพลของ KNU เสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 30 คน ทั้งนี้ KNU อ้างว่าการปะทะกับกองทัพเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากกองทัพนำกำลังรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของ KNU โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า พร้อมกับปฏิเสธว่า KNU ยังไม่มีนโยบายร่วมมือกับกองกำลังป้องกันประชาชน (People’s Defence Force-PDF) ในการสู้รบกับกองทัพเมียนมา แม้จะปรากฏข่าวสารว่า KNU เป็นพื้นที่ซ่อนตัวและฝึกอาวุธของ PDF ก็ตาม
สำนักข่าวอิระวดี รายงานเมื่อ 10 ธ.ค.64 ว่า องค์กร Myanmar Accountability Project (MAP) ในสหราชอาณาจักร ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICC) ให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.อาวุโส มินอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council-SAC) ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ จากการใช้ความรุนแรงและทารุณกรรมประชาชนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางนับตั้งแต่การยึดอำนาจเมื่อ ก.พ.64 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,323 คน โดย MAP เชื่อว่าการดำเนินการจะเป็นไปด้วยดีและสามารถออกหมายจับ พล.อ.อาวุโส มินอองไลง์ ได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีอาจมีข้อจำกัดจากการที่เมียนมาไม่ได้เป็นรัฐภาคีของ ICC และธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute) ทำให้มีสิทธิ์ปฏิเสธอำนาจศาล อนึ่ง MAP เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ก่อตั้งเมื่อปี 2564 หลังการยึดอำนาจในเมียนมา ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลหลักฐานการก่ออาชญากรรมของ SAC และกองทัพต่อประชาชนเมียนมา
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ VnExpress International รายงานเมื่อ 9 ธ.ค.64 ว่า โครงการก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์และเขตอุตสาหกรรมปลอดอากร Lach Huyen ในนครไฮฟอง (ทางตอนเหนือของเวียดนาม) มูลค่า 11 ล้านล้านด่ง (ประมาณ 479.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะเริ่มดำเนินการในต้นปี 2565 หลังจากรัฐบาลเวียดนามอนุมัติโครงการเมื่อ เม.ย.64 โดยโครงการดังกล่าวดึงดูดนักลงทุนด้วยการเก็บภาษีรายได้นิติบุคคลเพียงร้อยละ 10 (ปกติจัดเก็บที่ร้อยละ 20) เป็นระยะเวลา 15 ปี การยกเว้นอากรสินค้าที่ผลิตในโครงการเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ และไม่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเพื่อการบริโภคในสินค้าที่ค้าขายกับต่างประเทศหรือเขตปลอดอาการอื่น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีพื้นที่ 752 เฮกตาร์ (ประมาณ 4,700 ไร่) ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Dinh Vu – Cat Hai โดยจะเน้นด้านการส่งออก เทคโนโลยี คลังสินค้าและโลจิสติกส์ แบ่งพื้นที่โครงการเป็น 3 ระยะ ระยะแรกจะแล้วเสร็จในปี 2568 ส่วนระยะที่ 2 และระยะที่…
ระบุเมื่อ 12 ธ.ค.64 วิจัยพบวัคซีน Pfizer-BioNTech มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน น้อยกว่าเชื้อสายพันธุ์อื่นอย่างน้อย 32 เท่า