ญี่ปุ่น
ระบุเมื่อ 2 ก.ย.64 ร่วมกับบริษัท Moderna เรียกคืนวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จำนวน 3 ล็อต หลังได้รับการยืนยันว่ามีสารปนเปื้อนสแตนเลสในบางขวดที่ใช้บรรจุวัคซีน คาดว่าปนเปื้อนระหว่างการผลิตที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างโลหะบริเวณที่ปิดจุกขวดวัคซีน
ระบุเมื่อ 2 ก.ย.64 ร่วมกับบริษัท Moderna เรียกคืนวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จำนวน 3 ล็อต หลังได้รับการยืนยันว่ามีสารปนเปื้อนสแตนเลสในบางขวดที่ใช้บรรจุวัคซีน คาดว่าปนเปื้อนระหว่างการผลิตที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างโลหะบริเวณที่ปิดจุกขวดวัคซีน
ระบุเมื่อ 2 ก.ย.64 ประชากรวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 70.1 และวัยรุ่นอายุ 12-15 ปี ร้อยละ 25 ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 แล้วอย่างน้อย 1 โดส
ระบุเมื่อ 2 ก.ย.64 ไม่พบผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 เป็นครั้งแรกตั้งแต่ 31 ก.ค.64 และในช่วง 14 วันที่ผ่านมาตรวจพบผู้ติดเชื้อเฉพาะผู้เดินทางจากต่างประเทศ 71 ราย
ระบุเมื่อ 2 ก.ย.64 พบนักกีฬาเทนนิสพาราลิมปิก 1 ราย ติดเชื้อโรค COVID-19 ซึ่งเป็นรายแรกของการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกที่โตเกียวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ระบุเมื่อ 1 ก.ย.64 ยังไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มที่ 3 ให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดส เนื่องจากวัคซีนที่อนุมัติใช้ใน EU มีประสิทธิภาพสูงในการลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาการป่วยรุนแรง รวมถึงการเสียชีวิต และควรจัดสรรวัคซีนที่จะใช้เป็นเข็มที่ 3 ให้กับผู้ที่ฉีดวัคซีนไม่ครบโดสก่อน
ระบุเมื่อ 1 ก.ย.64 รัฐดูไบจะเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มที่ 3 โดยจะฉีดวัคซีน Pfizer-BioNTech ให้กับประชาชนและชาวต่างชาติที่พำนักในรัฐดูไบ อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีประวัติรักษาที่โรงพยาบาลใน UAE แต่ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ระบุเมื่อ 1 ก.ย.64 ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของบริษัท Johnson & Johnson ให้กับผู้เข้าบำบัดรักษายาเสพติดมากกว่า 1,000 คน ในศูนย์บำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในนครหลวงเวียงจันทน์
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานเมื่อ 31 ส.ค.64 ว่า ที่ประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union-EU) เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน โดยเน้นการสนับสนุนงบประมาณและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านโครงการต่าง ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านของอัฟกานิสถาน องค์กรระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees-UNHCR) และประเทศทางผ่าน เช่น ตุรกี เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถและศักยภาพในการรับรองผู้ลี้ภัย อย่างปลอดภัยและยั่งยืน แทนการเปิดรับผู้ลี้ภัยเข้ายุโรปเพิ่มเติม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการเกิดวิกฤติผู้ลี้ภัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซ้ำรอยปี 2558 นอกจากนี้ EU จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ลี้ภัยเสี่ยงชีวิตเดินทางข้ามแดนผิดกฎหมายเข้ายุโรป ขณะที่ ลักเซมเบิร์กเรียกร้องให้ EU จัดสรรที่พักพิงให้ผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันจำนวน 40,000-50,000 ราย และวิจารณ์ท่าทีของนายกรัฐมนตรี Sebastian Kurz ของออสเตรีย และนายกรัฐมนตรี Janez Jansa ของสโลวีเนีย ที่ปฏิเสธการรับผู้ลี้ภัยเพิ่มเติม
หนังสือพิมพ์Khmer Times ฉบับ 1 ก.ย.64 รายงานอ้างคำกล่าวของนาง Kristin Parco ผู้อำนวยการองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration-IOM) ประจำกัมพูชา ว่า IOM จะให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยและกัมพูชาในการจัดการแรงงานกัมพูชาในไทยที่ต้องการจะเดินทางกลับกัมพูชา ในพื้นที่ จังหวัดพระตะบอง บันเตียเมียนเจย อุดรมีชัย เสียมราฐ และไปรเวง จำนวนประมาณ 100,000 คน ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งแรงงานดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุข ถูกกดขี่ ขาดสภาพคล่องทางการเงินและเป็นหนี้ ทั้งยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น ปัจจุบัน IOM ประสานความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชน (Non Governmental Organizations-NGOs) ท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการให้บริการด้านสาธารณสุขและส่งเสริมให้แรงงานมีส่วนร่วมในชุมชน รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ประสานงานในกัมพูชาเพื่ออำนวยความสะดวกต่อกิจการที่เกี่ยวข้อง ด้านนาย Pen Kosal ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้ประสานความร่วมมือกับ IOM เพื่อแจกของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อป้องกันโรค COVID-19 แก่แรงงานกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง
สถานีโทรทัศน์ MTV ของเลบานอน รายงานการแถลงของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) เมื่อ 30 ส.ค.64 ว่า UNSC จะขยายระยะเวลาของกองกำลังชั่วคราวของสหประชาชาติในเลบานอน (United Nations Interim Force in Lebanon-UNIFIL) ออกไปจนถึง ส.ค.64 โดยข้อมติ UNSC ที่ 2591 (ปี 2564) ซึ่งได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ประณามการละเมิดเส้นเขตแดน Blue Line ซึ่งกั้นระหว่างอิสราเอล-เลบานอน ทั้งทางบกและทางอากาศ และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพการยุติการสู้รบ หลีกเลี่ยงการละเมิดเส้นเขตแดน Blue Line และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับ United Nations (UN) และ UNIFIL รวมถึงเรียกร้องให้อิสราเอลประสานงานกับ UNIFIL เพื่อเร่งถอนทหารออกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของ Ghajar (หมู่บ้านชายแดนระหว่างอิสราเอล-เลบานอน)