บราซิล
ระบุเมื่อ 12 ธ.ค.64 ศาลฎีกามีคำสั่งให้ชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าบราซิลต้องแสดงเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้แสดงผลตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี PCR ซึ่งแสดงผลไม่พบเชื้อ
ระบุเมื่อ 12 ธ.ค.64 ศาลฎีกามีคำสั่งให้ชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าบราซิลต้องแสดงเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้แสดงผลตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี PCR ซึ่งแสดงผลไม่พบเชื้อ
ระบุเมื่อ 11 ธ.ค.64 ปรับลดอายุเอกสารรับรองการหายจากโรค COVID-19 สำหรับใช้เป็นหลักฐานเดินทางเข้าประเทศเหลือ 90 วัน จากเดิมมีอายุ 180 วัน
ระบุเมื่อ 11 ธ.ค.64 ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนครั้งแรก จำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเอสวาตินี
นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโดของแคนาดาแถลงเมื่อ 8 ธ.ค.64 ว่าแคนาดาจะไม่ส่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้าร่วมพิธีและกิจกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่จีนเป็นเจ้าภาพในปี 2565 เช่นเดียวกับสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย และแสดงความกังวลประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงของจีน ด้านนางเมลานี โจลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแคนาดากล่าวว่าแคนาดาหยิบยกกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียงของจีนขึ้นหารือในการประชุมสุดยอดกลุ่ม G-7 และการประชุมในกรอบสมาชิกเนโต ทั้งนี้ แคนาดาประสานความร่วมมือกับประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องก่อนประกาศมาตรการคว่ำบาตรทางการทูตดังกล่าว
นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของญี่ปุ่นเมื่อ 9 ธ.ค.64 ว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนไต้หวันให้เข้าร่วมการประชุมขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศต่าง ๆ ต้องแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งไต้หวันมีแนวทางและดำเนินมาตรการควบคุมฯ ได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไต้หวันถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ เนื่องจากจีนยืนยันว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของจีน ไม่ใช่ประเทศ ขณะที่สภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นมีมติเมื่อ มิ.ย.64 สนับสนุนให้รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องต่อนานาประเทศให้ตระหนักถึงการมีอยู่ของไต้หวันและสนับสนุนให้ไต้หวันได้เข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญ
นาง Billene Seyoum โฆษก นายกรัฐมนตรีเอธิโอเปีย ระบุเมื่อ 7 ธ.ค.64 กล่าวหาสหรัฐฯ และพันธมิตรชาติตะวันตกที่ออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อ 6 ธ.ค.64 ว่า แสดงความห่วงกังวลอย่างมากต่อกรณีรัฐบาลเอธิโอเปียจับกุมพลเมืองของตนจำนวนมากอย่างผิดกฎหมายด้วยเหตุผลทางชาติพันธุ์ และเรียกร้องให้รัฐบาลเอธิโอเปียยุติการจับกุมพลเมืองของตน ซึ่งนักกฎหมายและกลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่าการจับกุมมุ่งเป้าหมายชาว Tigray โดยนาง Seyoum กล่าวหาแถลงการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการเข้าใจผิด และยังเป็นคำกล่าวที่อันตรายอีกด้วย โดยระบุว่าการจับกุมพลเมืองไม่ได้มุ่งเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และอิงบนหลักฐานและคำให้การที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ เอธิโอเปียประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศตั้งแต่ พ.ย.64 หลังจากกลุ่ม Tigray People’s Liberation Front (TPLF) ระบุว่าสามารถควบคุมถนนสายหลักที่มุ่งสู่กรุงแอดดิสอาบาบา ของเอธิโอเปียได้ โดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนเชื่อว่ามีพลเมืองหลายพันคนถูกจับกุมภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว
สำนักข่าววีโอเอรายงานเมื่อ 7 ธ.ค.64 ว่า กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกมาตรการคว่ำบาตรบุคคลในอิหร่าน ซีเรีย และยูกันดา ซึ่งรวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและข่าวกรองของทั้ง 3 ประเทศ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบุคคลดังกล่าวจะถูกยึดทรัพย์ และห้ามติดต่อกับชาวอเมริกัน ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีขึ้นในห้วงที่ผู้นำสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยทั่วโลกมากขึ้น ซึ่งกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก็แสดงบทบาทเพื่อสนับสนุนนโยบายหลักของรัฐบาล อย่างไรก็ดี มาตรการคว่ำบาตรครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานเมื่อ 8 ธ.ค.64 ว่า ประธานาธิบดีโจเซฟ ไบเดนหารือกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียแบบออนไลน์เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อหารือประเด็นความมั่นคงในยุโรป และเตือนรัสเซียไม่ให้ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน พร้อมกับระบุว่า สหรัฐฯ กับพันธมิตรในยุโรปจะใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย หากดำเนินนโยบายในลักษณะดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่าการหารือดังกล่าวเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทั้ง ๒ ฝ่ายเห็นพ้องที่จะลดระดับความตึงเครียด และรักษาช่องทางการทูตเพื่อหารือกันอย่างใกล้ชิด สำหรับประเด็นอื่น ๆ นอกจากสถานการณ์ในยูเครน ผู้นำสหรัฐฯ ระบุว่าจะเพิ่มกำลังพลและศักยภาพด้านการทหารในภูมิภาคยุโรป และสนับสนุนความมั่นคงให้ยูเครน
สำนักข่าวTass ของรัสเซีย รายงานอ้างแถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย เมื่อ 2 ธ.ค.64 ว่า นายเซียร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย พบหารือนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่กรุงสต็อกโฮม สวีเดน ในประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคี การฟื้นฟูความสัมพันธ์การทูตในระดับปกติ โดยทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจต่อปัญหาความขัดแย้งในยูเครน ที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างไม่มีเงื่อนไขและเต็มรูปแบบตามข้อตกลงมินส์ก (Minsk Agreements) การจัดเจรจาโดยตรงกับฝ่ายบริหารเขตปกครองตนเองโดเนตสค์ (Donetsk People’s Republic-DPR) และเขตปกครองตนเองลูฮานสค์ (Luhansk People’s Republic-LPR) ในภูมิภาคดอนบาส พื้นที่ภาคตะวันออกของยูเครน ตลอดจนแนวคิดปรับปรุงกฎหมายยูเครนที่ขัดต่อข้อตกลงมินส์ก การประชุมดังกล่าวมีขึ้นก่อนที่ผู้นำรัสเซียและสหรัฐฯ จะพบหารือครั้งที่ 2 (ครั้งแรกเมื่อ มิ.ย.64 ที่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์) แต่ยังไม่มีรายละเอียดจากทั้งสองฝ่าย โดยกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียให้ความสำคัญกับการเจรจากับสหรัฐฯ อย่างจริงจัง ตามความตกลงของผู้นำสองประเทศ ตามหลักการความเสมอภาคและเคารพผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ รัสเซียระบุการแผ่อิทธิพลทางทหารของเนโตทางตะวันออกกระทบต่อความปลอดภัยของรัสเซีย ซึ่งทุกประเทศควรเคารพกฎหมายระหว่างประเทศที่กำหนดให้แต่ละประเทศมีสิทธิเลือกวิธีการเพื่อรับประกันผลประโยชน์ด้านความปลอดภัย ขณะเดียวกันรัสเซียตั้งข้อสังเกตว่าการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในประเด็นยูเครน เป็นเพียงเกมภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมการวางกำลังเนโตใกล้พรมแดนรัสเซีย ทำให้รัสเซียจำต้องใช้มาตรการตอบโต้เพื่อแก้ไขสมดุลยุทธศาสตร์ทางทหารและรับประกันความปลอดภัย
หนังสือพิมพ์Jakarta Post รายงานเมื่อ 8 ธ.ค.64 ว่า อินโดนีเซียเตรียมจัดการประชุม Bali Democracy Forum (BDF) ครั้งที่ 14 ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย ใน 9 ธ.ค.64 ร่วมกับผู้แทนอีก 57 ประเทศ/กลุ่มประเทศ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตย ภายใต้ประเด็นคำถามหลัก “ระบอบประชาธิปไตยสามารถแก้ไขปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียม และการกีดกันได้อย่างไร” โดยเฉพาะในช่วงสองปีที่ผ่านมาของการระบาดใหญ่ของโรค COVID-19 โดยในการประชุมครั้งนี้ เมียนมาและซูดานไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุม เนื่องจากวิกฤติทางการเมืองของประเทศทั้งสอง ทั้งนี้ การประชุม BDF ริเริ่มโดยอดีตประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ของอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี 2551 เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคด้านการพัฒนาประชาธิปไตยและการเมือง โดยเน้นการหารืออย่างเปิดกว้าง สร้างสรรค์ และเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งที่ผ่านมา ไทยได้เข้าร่วมเป็นประจำทุกปีและมีบทบาทที่แข็งขันและสร้างสรรค์มาโดยตลอด