ญี่ปุ่น
ระบุเมื่อ 26 ส.ค.64 จะระงับการใช้วัคซีนของบริษัท Moderna จำนวน 1.63 ล้านโดสชั่วคราว หลังตรวจพบการปนเปื้อนภายในขวดวัคซีนที่ยังไม่เปิดใช้จำนวน 39 ขวด ซึ่งเป็นสารที่ไม่ใช่ส่วนประกอบของวัคซีนในปริมาณเล็กน้อย
ระบุเมื่อ 26 ส.ค.64 จะระงับการใช้วัคซีนของบริษัท Moderna จำนวน 1.63 ล้านโดสชั่วคราว หลังตรวจพบการปนเปื้อนภายในขวดวัคซีนที่ยังไม่เปิดใช้จำนวน 39 ขวด ซึ่งเป็นสารที่ไม่ใช่ส่วนประกอบของวัคซีนในปริมาณเล็กน้อย
ประกาศเมื่อ 25 ส.ค.64 ขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค COVID-19 เข้มงวดในราชธานีพนมเปญ ระหว่าง 27 ส.ค.-9 ก.ย.64 โดยห้ามดำเนินกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาทิ ร้านขายและให้บริการเครื่องดื่ม พิพิธภัณฑ์ สวนสนุก ร้านนวด และโรงภาพยนตร์ รวมทั้งห้ามรวมตัวเกิน 15 คน
ระบุเมื่อ 25 ส.ค.64 จะเปิดรับนักท่องเที่ยวระยะสั้นจากฮ่องกงและมาเก๊าให้เข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว ตั้งแต่ 26 ส.ค.64 โดยมีผู้ยื่นขอใบอนุญาตจากฮ่องกงแล้ว 230 ราย และมาเก๊า 13 ราย ซึ่งผู้เดินทางจะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี PCR เมื่อเดินทางถึงสิงคโปร์
ระบุเมื่อ 25 ส.ค.64 ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ให้ประชาชนเสร็จสิ้นแล้ว 602,425,271 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่รับวัคซีนโดสแรก 465,704,647 คน หรือร้อยละ 50 ของเป้าหมายของรัฐบาลในการฉีดวัคซีนให้ประชากรวัยผู้ใหญ่ทุกคน ภายใน ธ.ค.64 ซึ่งมีประมาณ 940 ล้านคน
ระบุเมื่อ 25 ส.ค.64 เตรียมฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็มกระตุ้นให้กับประชาชนทั่วไปในช่วงต้นปี 2565 หลังจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบทุกคนแล้ว โดยวัคซีนเข็มกระตุ้นผ่านการทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิกแล้วว่า ช่วยป้องกันโรค COVID-19 ได้ดียิ่งขึ้น
ระบุเมื่อ 25 ส.ค.64 เริ่มทดสอบวัคซีน TURKOVAC ทางคลินิกระยะที่ 3 ในมนุษย์ หลังจากผลการทดลองระยะที่ 2 พบว่า วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิในการป้องกันเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อัลฟาร้อยละ 100 และอยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีประสิทธิในการป้องกันเชื้อสายพันธุ์เดลตา
สถานเอกอัครราชทูตจีน ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา แถลงเมื่อ 24 ส.ค.64 ว่า จีนบริจาคเครื่องผลิตอ็อกซิเจนจำนวน 140 เครื่องให้กับกระทรวงสาธารณสุขเมียนมา เพื่อรับมือกับโรค COVID-19 โดยนายเฉิน ไห่ เอกอัครราชทูตจีนประจำเมียนมา ระบุว่า การบริจาคของจีนจะเป็นการช่วยป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ในเมียนมา โดยก่อนหน้านี้สำนักข่าวThe Irradwaddy รายงานอ้างถ้อยแถลง พล.ต.Zaw Min Tun ของเมียนมา เมื่อ 16 ส.ค.64 ว่ากระทรวงกลาโหมจีนจะบริจาควัคซีนโรค COVID-19 ให้เมียนมาอีก 400,000 โดส จากก่อนหน้านี้ที่บริจาคแล้ว 500,000 โดส ทั้งนี้ ทางการจีนบริจาควัคซีนให้เมียนมาแล้วรวม 2,000,000 โดส
หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานเมื่อ 25 ส.ค.64 โดยอ้างดาโต๊ะ ซรี อับดุล ฮาดี อาวัง ประธานพรรคปาส (พรรคร่วมรัฐบาล) ซึ่งโพสต์ข้อความที่มีท่าทีปกป้องกลุ่มตอลีบันในอัฟกานิสถาน ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า กลุ่มตอลีบันเปลี่ยนไปแล้ว เห็นได้จากความพยายามเจรจาทางการทูตกับสหรัฐฯ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเฉลียวฉลาดในการเผชิญหน้ากับศัตรู รวมถึงการประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่เคยทำงานกับสหรัฐฯ ปัจจุบัน กลุ่มตอลีบันยอมรับความแตกต่างในสังคม แม้ว่าที่ผ่านมา จะบังคับให้ทุกคนทำตามค่านิยมของกลุ่มฯ ก็ตาม เช่น การให้ผู้ชายไว้หนวดเคราและไม่ให้ผู้หญิงได้รับการศึกษา
สหราชอาณาจักร ในฐานะประธาน G 7 ปี 2564 เผยแพร่แถลงการณ์ร่วม G 7 ในเว็บไซต์ทางการ www.gov.uk เมื่อ 24 ส.ค.64 หลังการประชุมสุดยอด G 7 สมัยพิเศษ ต่อสถานการณ์ในอัฟกานิสถานผ่านระบบทางไกล โดยมีสาระสำคัญ คือ G 7 ให้คำมั่นจะให้ความสำคัญอันดับแรกกับการสนับสนุนการเดินทางของประชาชน G 7 และชาวอัฟกันออกจากอัฟกานิสถานอย่างปลอดภัย จะช่วยเหลือให้ผู้ลี้ภัยสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย จะสนับสนุนสหประชาชาติ (United Nations-UN) ในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม พร้อมทั้งย้ำว่าจะพิจารณาการกระทำของรัฐบาลอัฟกานิสถานมากกว่าคำพูด โดยกลุ่มตอลิบันจะต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตนเองในการป้องกันการก่อการร้าย การปกป้องสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็กผู้หญิง และกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงเร่งสร้างเสถียรภาพทางการเมือง โดยเร่งจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงสตรีและกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย ทั้งนี้ การยอมรับสถานะของรัฐบาลอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการในอนาคตจะขึ้นอยู่กับแนวทางที่ตอลิบันจะสานต่อพันธกิจของอัฟกานิสถานกับต่างประเทศ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในอัฟกานิสถาน
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ รายงานเมื่อ 25 ส.ค.64 อ้างนาย Choi Jong-moon รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้คนที่ 2 ว่า เครื่องบินทางทหารของเกาหลีใต้จะรับผู้อพยพชาวอัฟกันจำนวน 380 คน เดินทางจากกรุงอิสลามาบัด ปากีสถานไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน เกาหลีใต้ ใน 26 ส.ค.64 โดยผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ครูฝึกวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และล่าม ซึ่งเคยทำงานในสถานเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำกรุงคาบูล โรงพยาบาลของเกาหลีใต้ และศูนย์ฝึกอาชีพที่เปิดในอัฟกานิสถานภายใต้การกำกับดูแลขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ (Korea International Cooperation Agency-KOICA) โดยผู้อพยพจะได้รับวีซ่าระยะสั้นและเปลี่ยนเป็นวีซ่าระยะยาว กับทั้งจะได้รับสถานะบุคคลพิเศษ (Persons of Special Merit) ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย และจะได้เข้าตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในสถานที่กักตัวของรัฐบาลที่เขต Jincheon ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงโซลประมาณ 91 กิโลเมตร ทั้งนี้ เกาหลีใต้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารและการบรรเทาทุกข์ในอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะการทำงานในลักษณะคณะทำงานบูรณะจังหวัด (Provincial Reconstruction Team-PRT) ช่วงปี 2553-2557 ภารกิจส่วนใหญ่คือให้บริการทางการแพทย์ การพัฒนาการเกษตร…