สิงคโปร์
ระบุเมื่อ 17 ส.ค.64 มีแผนนำร่องให้นักธุรกิจที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ครบโดสเดินทางมาสิงคโปร์ใน ก.ย.64 โดยคาดว่า ประเทศกลุ่มแรกจะประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรเลีย แคนาดา และเกาหลีใต้ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการเจรจา
ระบุเมื่อ 17 ส.ค.64 มีแผนนำร่องให้นักธุรกิจที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ครบโดสเดินทางมาสิงคโปร์ใน ก.ย.64 โดยคาดว่า ประเทศกลุ่มแรกจะประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรเลีย แคนาดา และเกาหลีใต้ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการเจรจา
ระบุเมื่อ 17 ส.ค.64 องค์กรกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (MHRA) อนุมัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของบริษัท Moderna ให้กับเยาวชนอายุระหว่าง 12-17 ปี
ระบุเมื่อ 17 ส.ค.64 ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ 381 คน แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อกรณีนำเข้า 333 คน และผู้ติดเชื้อในชุมชนจำนวน 48 คน ทำให้ลาวมีผู้ติดเชื้อสะสม 11,029 คน และเสียชีวิตสะสม 9 คน โดยผู้ติดเชื้อกรณีนำเข้าของลาวเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาถึงร้อยละ 90
ระบุเมื่อ 17 ส.ค.64 ดัดแปลงเรือเฟอร์รี KM Umsini ซึ่งจอดเทียบท่าอยู่ที่ท่าเรือในเมืองมาคัซซาร์ ทางตอนใต้ของเกาะสุลาเวสี ให้เป็นศูนย์กักตัวผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ขนาด 800 เตียง มีบุคลากรทางการแพทย์ 60 คน
ระบุเมื่อ 17 ส.ค.64 ตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ 25,166 ราย ซึ่งต่ำสุดในรอบ 154 วัน แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอก 3 ซึ่งนักวิจัยประเมินว่า จะเริ่มใน ส.ค.64 และรุนแรงสุดใน ก.ย.-ต.ค.64
หนังสือพิมพ์ ซิดนีย์ มอร์นิ่ง เฮอร์รัลด์ รายงานเมื่อ 17 ส.ค.64 ว่า บริษัท Inventive Health ในนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ ลงนามข้อตกลงควบรวมกิจการกับบริษัท Virusight Diagnostic ในอิสราเอล ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัป เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายชุดทดสอบเชื้อ COVID-19 “SpectraLIT” ซึ่งสามารถใช้ทดสอบได้กับการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูก และอยู่ระหว่างตรวจสอบความแม่นยำสำหรับใช้ในรูปแบบน้ำยาบ้วนปาก ชุดทดสอบ SpectraLIT ใช้เทคนิคซึ่งมีความไวในการตรวจวัดมวลต่อโมเลกุล สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างและระบุการติดเชื้อ COVID-19 ได้ในเวลาไม่กี่วินาที ชุดทดสอบจะเป็นประโยชน์สำหรับใช้ในสถานศึกษาที่ต้องการทดสอบด้วยความรวดเร็ว ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนกับองค์การเกี่ยวกับการบำบัดโรคของออสเตรเลีย (Therapeutic Goods Administration-TGA) และองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (Food and Drug Administration-FDA) ของสหรัฐฯ
นางหัว ชุนหยิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงเมื่อ 16 ส.ค.64 ว่า จีนเคารพความต้องการและการตัดสินใจของประชาชนชาวอัฟกัน ขณะนี้สถานการณ์ในอัฟกานิสถานอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ การยุติสงครามที่ดำเนินมากว่า 40 ปี เป็นความคาดหวังร่วมกันของประชาชนอัฟกันและประชาคมโลก ซึ่งจีนคาดหวังว่ากลุ่มตอลิบันจะปฏิบัติตามคำมั่นที่ระบุว่าสงครามสิ้นสุดแล้วและจะจัดการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลอิสลามที่เปิดกว้างและทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมทั้งปกป้องความปลอดภัยพลเรือนอัฟกานิสถานและนักการทูตต่างประเทศ นอกจากนี้ จีนยังคาดหวังว่ากลุ่มตอลิบันจะปราบปรามการก่อการร้ายและอาชญากรรม ทำให้อัฟกานิสถานปลอดสงคราม และฟื้นฟูประเทศ นอกจากนี้ ยังตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการรับรองสถานะรัฐบาลตอลิบัน ว่า จีนติดต่อกับกลุ่มตอลิบัน และมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ต่อการแก้ไขปัญหาทางการเมืองในอัฟกานิสถาน ภายใต้หลักการเคารพอธิปไตยและความปรารถนาของทุกภาคส่วนในอัฟกานิสถาน ซึ่งจีนคาดหวังว่ากลุ่มตอลิบันจะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับทุกกลุ่มและชนเผ่าในอัฟกานิสถาน และจีนยินดีที่กลุ่มตอลิบันแถลงไว้หลายครั้งว่าต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน ส่งเสริมบทบาทจีนในการฟื้นฟูและพัฒนาอัฟกานิสถาน และจะไม่อนุญาตให้กลุ่มใดใช้พื้นที่อัฟกานิสถานเพื่อโจมตีจีน ขณะที่จีนเคารพอธิปไตย เอกราช บูรณภาพแห่งดินแดนของอัฟกานิสถาน และยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดย เอกอัครราชทูตจีน และ สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงคาบูลอัฟกานิสถาน ยังทำการตามปกติ ส่วนประชาชนจีนในอัฟกานิสถานส่วนใหญ่เดินทางกลับประเทศแล้ว อนึ่ง นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน พบหารือผู้นำกลุ่มตอลิบันที่นครเทียนจิน เมื่อ 28 ก.ค.64
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post รายงานอ้างศูนย์ป้องกันด้านสาธารณสุข (Centre for Health Protection-CHP) ของฮ่องกงเมื่อ 16 ส.ค.64 ว่า ทางการฮ่องกงจะกระชับมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 กับกลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศเข้มงวดขึ้นในห้วงที่หลายประเทศเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลตารุนแรง โดยจะเพิ่มระยะเวลาในการกักตัวสำหรับผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดรุนแรงสูงสุด 16 ประเทศ (บังกลาเทศ บราซิล สหราชอาณาจักร กัมพูชา ฝรั่งเศส กรีซ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ไอร์แลนด์ มาเลเซีย เนปาล เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์รัสเซีย แอฟริกาใต้ สเปน ศรีลังกา สวิตเซอร์แลนด์ แทนซาเนีย ไทย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐฯ) จาก 14 วันเป็น 21 วัน ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดระดับกลาง (อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา โคลอมเบีย…
นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร แถลงเมื่อ 16 ส.ค.64 ว่า สหราชอาณาจักรเตรียมดำเนินโครงการช่วยเหลือชาวอัฟกัน เฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็กผู้หญิง ที่ต้องการตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีแนวทางเดียวกับโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย โดยสหราชอาณาจักรจะทำงานร่วมกับนานาประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ในการป้องกันวิกฤติด้านมนุษยธรรมที่อาจเกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน และจะหยิบยกเป็นประเด็นหารือในที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G7 ต่อไป ด้านนายโดมินิก ราบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร เปิดเผยในวันเดียวกันว่า สหราชอาณาจักรจะใช้ทุกวิธีการเพื่อลงโทษกลุ่มตอลิบัน เช่น มาตรการคว่ำบาตร การระงับโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ หากกลุ่มตอลิบันกระทำการใด ๆ ที่เข้าข่ายละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน หรือทำให้อัฟกานิสถานเป็นฐานของกลุ่มก่อการร้าย ขณะที่กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่าได้เพิ่มกำลังทหารในกรุงคาบูลของอัฟกานิสถานเป็น 900 นาย จาก 600 นาย เพื่อช่วยเหลือให้การอพยพออกนอกประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น และจะประจำการกองกำลังทหารในภูมิภาคเอเชียใต้ เพื่อให้สามารถเคลื่อนพลไปยังอัฟกานิสถานได้หากจำเป็น
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี แถลงเมื่อ 16 ส.ค.64 เรียกร้องให้ประเทศตะวันตกให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับอัฟกานิสถาน ในการจัดการปัญหาการลี้ภัยจำนวนมากของชาวอัฟกัน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดวิกฤติผู้อพยพซ้ำรอยปี 2558 เนื่องจากประเทศยุโรปไม่ได้สนับสนุนเงินทุนให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees-UNHCR) เพียงพอ ส่งผลให้ยุโรปเผชิญผู้อพยพจำนวนมากจากจอร์แดนและเลบานอน ทั้งนี้ การที่สหภาพยุโรป (EU) ระงับการส่งตัวกลับผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันชั่วคราว ก่อให้เกิดความกังวลว่าจะยิ่งทำให้ชาวอัฟกันอพยพเข้ายุโรปมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนเบลารุสและตุรกี อย่างไรก็ดี EU ยังไม่มีท่าทีชัดเจนในการป้องกันปัญหาผู้ลี้ภัยชาวอัฟกัน